ข้ามไปยังบทความ
- คืบ เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีที่มาจากการเหยียดมือออกลงบนพื้นราบอย่างเต็มที่ หนึ่งคืบวัดจากปลายนิ้วโป้ง ไปถึงนิ้วนางหรือนิ้วก้อย แต่เนื่องจากระยะคืบของแต่ละคนไม่เท่ากัน
- ศอก เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีที่มาจากการวางแขนท่อนล่างลงบนพื้นราบ หนึ่งศอกวัดจากปลายนิ้วกลางไปจนถึงปลายข้อศอก แต่เนื่องจากระยะศอกของแต่ละคนไม่เท่ากัน
- วา เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีที่มาจากการกางแขนทั้งสองออกไปข้างลำตัวในแนวราบ หนึ่งวาวัดจากปลายนิ้วกลางของแขนข้างหนึ่ง (หรือนิ้วอื่นที่ยาวที่สุดสำหรับบางคน) ผ่านอกไปยังปลายนิ้วกลางของแขนอีกข้าง แต่เนื่องจากระยะวาของแต่ละคนไม่เท่ากัน
- *ในบันทึกของลาลูแบร์ระบุว่า 1 วา สั้นกว่าตัวร์ (toise) ประมาณ 1 ปูช (pouce) หรือประมาณ 1.9 เมตร ในบันทึกของบาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว นิยามว่า วา เท่ากับ ฟาทอม (fathom) หรือเท่ากับ 1.829 เมตร ส่วนในสนธิสัญญาเบาว์ริงได้ระบุว่าชาวอังกฤษและคนในบังคับจะเช่าที่ดินและซื้อบ้าน จะต้องตั้งห่างจากกำแพงพระนคร 200 เส้น คือ 4 ไมล์ เมื่อแปลงจากเส้นเป็นวา (100 เส้นเท่ากับ 2,000 วา) 1 วา จะเท่ากับ 1.6 เมตร ในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833 ระบุว่า 1 วา เท่ากับ 78 นิ้ว ในระบบอังกฤษหรืออเมริกัน หรือเท่ากับ 96 นิ้ว (หน่วยความยาวไทย) หรือเท่ากับ 1.981 เมตร
- เส้น เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย กำหนดไว้ว่ามีความยาวเท่ากับ 20 วา แต่เนื่องจากหน่วยเส้นนี้วัดจากหน่วยวา และระยะวาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ระยะเส้นจึงอาจคลาดเคลื่อนไปได้มาก
- โยชน์ เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีระยะเท่ากับ 400 เส้น แต่เนื่องจาก 1 เส้นถูกกำหนดให้เท่ากับ 40 เมตร
การเขียนตัวอักษรย่อ
- คืบ ใช้อักษรย่อว่า ค.
- ศอก ใช้อักษรย่อว่า ศ.
- วา ใช้อักษรย่อว่า ว.
- เส้น ใช้อักษรย่อว่า สน.
- โยชน์ ใช้อักษรย่อว่า สน.
ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ จึงกำหนดโดยเทียบกับระบบหน่วยเมตริก (Metric Unit)
- 1 นิ้ว (องคุลี) เท่ากับ 0.254 เมตร (2.54 เซนติเมตร)
- 1 คืบ เท่ากับ 0.25 เมตร (25 เซนติเมตร)
- 1 ศอก เท่ากับ 0.5 เมตร (50 เซนติเมตร)
- 1 วา เท่ากับ 2 เมตร
- 1 เส้น เท่ากับ 40 เมตร
- 1 โยชน์ เท่ากับ 16,000 เมตร (16 กิโลเมตร)
มาตราวัดความยาวของไทยกำหนดให้
- 12 นิ้ว เท่ากับ 1 คืบ
- 2 คืบ เท่ากับ 1 ศอก
- 4 ศอก เท่ากับ 1 วา
- 20 วา เท่ากับ 1 เส้น
- 400 เส้น เท่ากับ 1 โยชน์