FORCE Collection VDO clip
ม่าน VS แอร์
คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้ไหม.. เวลาจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และติดตั้งผ้าม่าน แต่เราวางแผนไม่ดี ช่างแอร์เข้าติดตั้งก่อน โดยลืมไปว่า ต้องมีการติดตั้งผ้าม่าน ในตำแหน่งนั้นร่วมด้วย
วันนี้เรามีดูตำแหน่งที่ถูกต้อง และการวางแผนที่ดีสำหรับการติดม่านและแอร์กันดีกว่า
สำหรับความสูงเพดานห้อง หรือบ้านโดยทั่วไป มักจะสูงอยู่ที่ 240-260 ซม. และความสูงของขอบบนหน้าต่างรวมวงกบจะอยู่ราว 205 ซม. ซึ่งเมื่อเราติดตั้งเครื่องปรับอากาศเหนือวงกบหน้าแล้วนั้น จะไม่เหลือที่พอสำหรับการติดตั้งรางม่าน และตัวผ้าม่าน โดยปกติแล้วเราจะติดตั้งรางม่านเหนือวงกบหน้าต่างขึ้นไปราวๆ 15-20 ซม กรณีนี้จะทำให้ ต้องติดตั้ง อยู่ระดับกับวงกบหน้าต่าง ซึ่งทำมี ผลเสียคือ
- ดูไม่สวยงาม ไม่ลงตัว
- ไม่สามารถควบคุมแสงได้อย่างที่ต้องการ เพราะเมื่อเราปิดม่านแล้วก็ยังมีแสงส่วนหนึ่งรอดผ่านมาทางด้านบนอยู่ดี
- เมื่อเราเปิดเครื่องปรับอากาศ แรงของลมที่ส่งออกมาจะกระทบกับผ้าม่าน ทำให้ผ้าเคลื่อนไหวตลอดเวลา สร้างความน่ารำคาญ
- ความชื้นที่มาจากลมของเครื่องปรับอากาศเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผ้าม่านมีความชื้นสะสม ซึ่งก็ให้เกิดเชื้อราขึ้นได้
เช่นเดียวกับความสูงของหน้าต่าง ความสูงของบานประตูมาตรฐานจะอยู่ที่ 200 ซม. เมื่อรวมวงกบจะอยู่ราว 205 ซม. ซึ่งเมื่อเราติดตั้งเครื่องปรับอากาศเหนือวงกบหน้าแล้วนั้น จะไม่เหลือที่พอสำหรับการติดตั้งรางม่าน และส่งผลเสียก็เหมือนกันกับที่กล่าวมาข้างต้น
โครงการบ้านจัดสรร หรือทาวน์โฮมต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะเป็นประตูกระจกบานสไลด์เต็มผนัง มักเป็นจุดแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่ชอบที่จะติดต้องเครื่องปรับอากาศบนวงกบประตูนี้ แต่ลืมคิดไปว่าเมื่อเราติดเครื่องปรับอากาศตำแหน่งนั้นแล้วจะไม่สามารถติดผ้าม่านได้ ยิ่งตำแหน่งดังกล่าวคือ ประตูหน้าบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ผ้าม่านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เราควรวางแผนให้ดีก่อนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทางที่ดีที่สุดคือย้ายเครื่องปรับอากาศไปติดผนังอีกด้านหนึ่ง และมีเคล็ดลับดีๆ มานำเสนอสำหรับการติดม่านในพื้นที่ใหญ่ๆ อย่างประตูหน้าบ้านแบบนี้ควรมีกล่องบังรางเพื่อความสวยงาม ทำให้มองไม่เป็นรางม่าน หรือแม้กระทั่งที่เราสามารถวางแผนจัดการในด้านโครงสร้างการตกแต่งตั้งแต่แรกๆ สำหรับบ้านที่สร้างเอง คือการลดระดับฝ่าทั้งห้องลงมา โดยเว้นช่องตำแหน่งที่จะติดรางม่านไว้ ก็จะเพิ่มความสวยงามอย่างมาก และสามารถเพิ่มลูกเล่นโดยใส่ไฟตามช่องดังกล่าวได้อีกด้วย ช่วยเสริมบรรยากาศที่ดี ซึ่งเทคนิคนี้นิยมใช้อย่างมากในโรงแรมระดับ 4-5 ดาว และหมู่บ้านราคาสูงๆ ซึ่งรับรองได้ว่าห้องคุณจะดูดีมีระดับขึ้นมากเลยทีเดียว
เมื่อทุกอย่างลงตัว เจ้าของบ้านอย่างเราก็จะไม่ปวดหัวกับการที่เราวางแผนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และผ้าม่านไม่ดีตั้งแต่แรก และที่สำคัญผ้าม่านเป็นส่วนหนึ่งในการกันแสง และความร้อนเข้ามาในห้องได้ด้วย ซึ่งส่งผลดีกับการช่วยลดพลังงานให้กับเครื่องปรับอากาศโดยที่ไม่ต้องทำงานหนัก เพื่อรักษาระดับอุณภูมิห้องให้ได้ตามระดับที่ตั้งไว้ โดยปกติแล้ว แหล่งความร้อนหลักๆ คือคนที่อาศัยอยู่ในห้อง และแสงความร้อนจากแสงแดด ฉะนั้นการที่เราเลือกใช้ม่านได้อย่างถูกต้อง เช่น ผ้าม่านกันแสง (Dim-out) ซึ่งมีความสามารถในการกันแสงได้ถึง 85% หรือผ้าม่านทึบแสง (Blackout) ซึ่งกันแสงได้ถึง 100% ก็จะช่วยลดพลังงาน แะละส่งผลให้ลดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายอีกด้วย
บทความที่เกี่ยงข้อง
Nitas Showroom at Sukhumvit 89
MI CASA Collection
Mi Casa (มิ คาซ่า): Upholstery Collection
- UPHOLSTERY ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์: 30004 CIRCO, 30016 OLYMPIA, 30026 GOTHIC, 30027 ROMANTIC, 30031 COLISEUM, 30032 TROY, 30038 ALEPPO, 30039 DAMASCUS, 30011 NEO CLASSIC
MA MAISON Collection
Ma Maison (มา เมซอง): Upholstery Collection
- UPHOLSTERY ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์: 10528 CANVAS, 10719 SAMANTHA, 30013 ROMAN, 30024 PERIOD, 30025 TERMS, 30030 NOUVEAU, 40009 STRONG
MON MANOIR Collection
Mon Manoir (มง มานัว) Upholstery Collection
- UPHOLSTERY ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์: 30008 HOME RUN, 30015 NEW ERA, 10750 SUEDE, 10796 SUSA
- PVC หนังเทียม: 30029 VOYAGE, 30033 TRAVEL, 30034 ERRANT
นอนหลับยาก ผ้าม่านช่วยได้
“น้องนอนไม่หลับ หัวใจมันกระสับกระส่าย..” ถ้าให้พูดถึงอาการนอนไม่หลับ คงเป็นปัญหาสำหรับคนยุคใหม่ ที่ต้องต่อสู้กับภาวะความเครียดในชีวิต วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าปัจจัยที่ทำให้เรานอนไม่หลับนั้นมีอะไรบ้าง และการเปลี่ยนผ้าม่านในห้องนอนนั้นจะสามารถช่วยได้มากน้อยเพียงใด
ปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกับการนอนไม่หลับ
- บรรยากาศ เช่น แสงสว่าง และความสงบ
- ภาวะภายในจิตใจ ความตื่นตัว การกระตุ้น ภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น
- ภาวะทางด้านร่างกาย เช่น ความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือแม้กระทั่งการทานอิ่มมากไป หรือหิวมากไปก็ตาม
- การได้รับสารเคมีอื่นๆ ที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ หรือยาบางอย่าง ฯลฯ
- ช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงในการนอน เช่น การเปลี่ยนเวลานอนจากการเดินทางข้ามโซนเวลา การเปลี่ยนเวลานอนจากการทำงานเป็นช่วงๆ ที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้นคือ แสงสว่าง แสงเป็นตัวกระตุ้น อารมณ์ ความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งพื้นฐานอยู่แล้ว ฉะนั้น การเลือกผ้าม่าน ที่มีคุณลักษณะสามารถกันแสง อย่างผ้าม่านกันแสง Dim-Out ที่กันแสงได้ประมาณ 85% หรือจะเป็นผ้าม่านทึบแสง Blackout ที่สามารถกันแสงได้ 100% ก็ตาม จะช่วยให้ห้องมีความมืดสนิท เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนอนยาวๆ เช่น ม่านในโรงแรม หรือคนที่ทำงานไม่เป็นเวลา สลับช่วงเวลานอน เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ เราไม่ควรปิดผ้าม่านทึบมืดสนิทตลอดเวลา มันจะเป็นการรบกวนระบบ กลไก ตามปกติของมนุษย์ที่จะรับรู้การตื่นตามแสงสว่าง เป็นนาฬิกาธรรมชาติของมนุษย์ที่จะตื่นยามพระอาทิตย์ขึ้น และนอนในช่วงพระอาทิตย์ตก และผู้ที่หลับยากในเวลากลางคืนก็ไม่ควรนอนกลางวัน เพราะจะเป็นการรบกวนระบบนาฬิกาชีวิตดังกล่าว
อีกอย่างที่สำคัญเกี่ยวกับการนอน เราไม่ควรเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และยังเป็นการกระตุ้นสมองให้คิด ตลอดเวลาอีกด้วย ลองหากิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทำดู เช่น การอ่านหนังสือ และการที่เราทำอะไรซ้ำๆ ก่อนการนอนเป็นประจำๆ สมองจะเกิดกลไกจดจำ และที่จะเรียนรู้ว่า เมื่อเราทำสิ่งนี้ และขั้นต่อไปคือการนอน สมองจะเริ่มจดจำขั้นตอนดังกล่าวไว้ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าคนจำนวนมาก เมื่ออ่านหนังสือก่อนนอนเป็นประจำ จนเคยชิน และเมื่อเราถึงเวลานอน หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเมื่อใด จะสังเกตุว่า ไม่เคยได้อ่านจบตามที่ตั้งใจไว้เลย จะหลับไปก่อนโดยไม่รู้ตัวเสมอๆ
ขอให้ทุกท่านหลับไม่ฝัน (หลับสนิท) ตลอดคืนนะครับ ^ .^
สามารถเข้าชมผ้าม่านกันแสง (Dim-out) และ ผ้าม่านทึบแสง (Blackout) ได้ที่นี้
Textiles Standards Testing มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอ
มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอ
มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอเป็นชุดของขั้นตอน วิธีการ และเกณฑ์ที่กำหนดไว้ซึ่งใช้ในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสิ่งทอ มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยองค์กรต่างๆ เช่น ASTM, ISO, JIS เป็นต้น
จุดประสงค์ของมาตรฐานเหล่านี้คือเพื่อให้แนวทางที่สอดคล้องและเป็นกลางในการวัดและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และการทำงานของสิ่งทอ ซึ่งครอบคลุมพารามิเตอร์ที่หลากหลาย เช่น ปริมาณเส้นใย ความแข็งแรงของเส้นด้าย น้ำหนักผ้า ความคงทนของสี ความทนทาน และอื่นๆ อีกมากมาย
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเราเป็นสิ่งสำคัญ การทดสอบมาตรฐานเป็นการรับรองเพื่อแสดงคุณสมบัติด้านต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ให้ออกมาอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นที่ไว้วางใจ และสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับสากล มีหลากหลายมาตรฐาน เช่น
มาตรฐานสากล
- AATCC: American Association of Textile Chemists and Colourists
- ASTM: American Society for Testing and Materials
- AS/NZS: Australian / New Zealand Standard
- BS: British Standards
- CA TB / CAL: California Technical Bulletin
- DIN: German Institute for Standardisation
- EN: European Standard
- GB: Guobiao Standards/The China National Standards
- ISO: International Organization for Standardization
- JIS: Japanese Industrial Standard
- NFPA: National Fire Protection Association
- UNE: The Spanish Association for Standardisation
- UNI: Italian National Unification
สำหรับในประเทศไทย ก็มีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ THTI ซึ่งให้บริการการทดสอบสิ่งทอในหลายอย่างเช่น ความคงทนของสี, การทดสอบการติดไฟ, ความสะท้อนน้ำ เป็นต้น
สำหรับเราบริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด บริษัทชั้นนำของประเทศที่นำเข้าผ้าเพื่อการตกแต่งที่อยู่อาศัย เพื่อการจัดจำหน่ายในประเทศ ใส่ใจในการเลือกหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานต่างๆ ในเบื่องต้นเรามาทำความรู้จักกับมาตรฐานต่างๆ ที่เราใช้อ้างอิง และปรากฎอยู่ในตัวอย่างผ้าของบริษัทกันดีกว่า
- 1. Abrasion Resistant การทดสอบมาตรฐานการขัดถู
- 2. Flame Retardant Fabrics ผ้ากันไฟลาม
- 3. Water-Repellent Fabrics ผ้าสะท้อนน้ำ
- 4. Colorfastness ความคงทนของสี
และการทดสอบมาตรฐานอื่นๆ เช่น
- การทดสอบทางด้านจุลชีววิทยา (Microbiology Tests) – Antibacterial, Antifungal, Photocatalytic Tests, Other (Biodegradable Test (for Chemical (OECD 301D), for Plastic)
- การทดสอบสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Textile Tests) – สีเอโซ, ความเป็นกรด-ด่าง, ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์, โลหะหนัก, PCP, TeCP, AP, APEO,…
- การวัดค่าสี (Colour Measurement)
- การทดสอบความแข็งแรง (Strength Tests) – แรงดึงขาด, ความต้านแรงฉีกขาด, ความต้านแรงดันทะลุ, …
- การทดสอบสมรรถนะของผ้า (Performance Tests) – การขึ้นเม็ดหรือขน, ความคงทนต่อการขัดถู, การซึมผ่านของอากาศ,…
- การเปลี่ยนแปลงขนาด (Dimensional Stability Tests)
- การทดสอบเส้นใย (Fiber Tests)
- การทดสอบโครงสร้างผ้า (Fabric Construction)
- การทดสอบเส้นด้าย (Yarn Tests)
สีไฟต่าง สีผ้าก็ต่างนะจ๊ะ
เคยไหมที่เวลาเราซื้อเสื้อผ้าสี เทา, กากี, น้ำตาล, สีเขียวขี้ม้า ในห้างสรรพสินค้า แล้วเรากลับถึงบ้านไปลองใส่แล้ว ทำไมเป็นอีกสีหนึ่ง หรือเมื่อเราใส่เดินออกนอกบ้านก็เห็นเป็นอีกสีหนึ่ง คำตอบคือ อุณหภูมิสีนั้นเอง เพราะหลอดไฟที่เราใช้ในบ้าน มีค่าอุณหภูมิสีที่ไม่เท่ากับห้างสรรพสินค้านั้น หรือไม่ตรงกับแสงธรรมชาติอย่างดวงอาทิตย์ก็เป็นได้
แล้วเจ้าอุณหภูมิสีคืออะไร อธิบายง่ายๆ คือ เป็นค่าที่วัดจากแสงที่ปล่อยออกมานั้นเองโดยมีหน่วยวัดเป็น เคลวิน หรือตัวย่อ K เช่น หลอดไฟ Warm White จะมีค่าอยู่ประมาณ 3,000k, หลอดไฟแสง Cool White 4,000k และ Daylight 6,000k ส่วนแสงแดด ก็จะอยู่ราวๆ 5,000-5,500k ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเกิดการสับสนเรื่องสีเวลาเราซื้อของ
รูปทั้งสามอันจะเห็นว่า ผ้าโซฟาสีเทาอมน้ำตาลรูปซ้ายอยู่ในไฟ Warm White รูปกลางไฟ Cool White และรูปทางขวามือเป็นห้องที่อยู่ในไฟ Daylight จะเห็นได้ว่าสีของทั้งผ้า โต๊ะไม้ สีของใบไม้ รวมถึงผนังห้อง ก็จะเปลี่ยนไปตามแสงของหลอดไฟชนิดนั้นๆ
แต่สังเกตุได้ว่า เมื่อเราอยู่ห้องที่มักนิยมติดไฟแบบ Warm White (ไฟที่สีขาวอมเหลืองส้ม) เช่น ห้องนอน ซึ่งแสงโดยรวมๆ จะเป็นสีขาวอมเหลืองๆ ส้มๆ ผนังห้องสีขาวเราก็จะเห็นเป็นสีครีมๆ แต่ในสมองของเราก็จะปรับการรับรู้อัตโนมัติ White Balance บอกว่าผนังนั้นคือสีขาว ทั้งๆ ที่สีจากแสงผนังนั้นเป็นสีเหลืองๆ อมส้มก็ตาม
จากรูปเป็นลักษณะ องศาเคลวิน กับแหล่งกำเนินแสงชนิดต่างๆ ทั้งในธรรมชาติ และไฟที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จนถึงแสงเทียน
รูปตัวอย่างจำลองให้เห็นระดับไฟ ที่มีอุณหภูมิสี ที่ต่างกัน จะเห็นเปรียบเทียมได้ว่า แม้กระทั่งผนังของห้องดังรูปเป็นสีขาว แสงที่อออกมาก็ส่งผลทำให้บรรยากาศของห้องเปลี่ยนไปตามอุณหภูสี ของแห่งกำเนินแสงที่ปล่อยออกมา ตั้งแต่องศาเคลวินน้อยๆ 1,000 จนไปถึง 10,000 เลยที่เดียว
ฉะนั้น เมื่อเราจะเลือกผ้าม่าน หรือจะเลือกสีทาห้องก็ตาม เราควรเลือกสีนั้นๆ โดยสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกับแสงที่เราใช้ในห้องนั้นๆ เช่นถ้าจะเลือกสีผ้าห้องนอนที่ติดตั้งไฟ Warm White ก็ควรดูสีผ้าในบรรยากาศที่เป็นไฟ Warm White แต่แรก หรือ เราสามารถเลือกจากค่ากลาง เช่นแสงธรรมชาติ คือแสงอาทิตย์ เดินหยิบเล่มตัวอย่างไปเลือกริมหน้าต่างเพื่อรับแสงธรรมชาติ ก็จะง่ายที่สุด หรือเมื่อเรารู้เท่าทันแล้วว่า แสงที่ต่างกันก็จะส่งผลให้เรามองเห็นสีผ้าที่ต่าง เราจะจินตนาการเผื่อไว้ว่า ถ้าเลือกผ้าจากร้านที่เป็นหลอดไฟสีขาวๆ แต่บ้านเราเป็นไฟเหลือง เราก็อย่าเลือกผ้าที่อมไปทางเหลืองมากนัก เพราะเมื่อโดนไฟเหลืองแล้ว มันจะเหลืองไปกันใหญ่ แต่นี้เราก็สามารถเลือกสีผ้าได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวลว่าสีผ้านั้นเพี๊ยน “เอ๊ะ ตอนเลือกสีมันไม่ได้เป็นแบบนี้นี้นะ” คำพูดนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นกันคุณอีกต่อไป