fbpx

THE LONG NIGHT Collection


ทิศทางของลายผ้า ทำไมต้องรู้ ?

ในการตัดเย็บผ้าม่าน สิ่งที่สำคัญมากคือการวางทิศทางของลายผ้าให้ถูกต้อง เพื่อการตัดเย็บที่สวยงาม และลายผ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังสะดวกต่อผู้ใช้งานในการตัดสินใจซื้อ  และสะดวกในการทำงานของช่างในการตัดเย็บผ้าม่าน

ผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์จะมีทิศทางการใช้ผ้าที่แตกต่างกัน เช่น ผ้าหน้า 140 ซม. เวลาต่อผ้าจะต่อในแนวริมผ้า ถ้าทิศทางของผ้าเป็นลายตั้ง (ริมผ้าอยู่ทางซ้าย-ขวา) ม่านจะได้ลายเป็นลายแนวตั้งเช่นกัน หากผ้าเป็นผ้าหน้ากว้าง 280-300 ซม. ลายเป็นแนวตั้ง (ริมผ้าอยู่ทางซ้าย-ขวา) ซึ่งผ้าหน้ากว้างเวลาใช้งานนิยมกลับผ้าใช้โดยไม่ต่อผ้า ให้ริมผ้าอยู่ด้านบนและขอบหน้าต่าง ฉะนั้นลายผ้าที่ได้ออกมาจะเป็นแนวนอน เมื่อม่านติดตั้งสำเร็จ

ในกรณีผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ มักจะมีแต่ผ้าหน้าปกติ โดยปกติแล้วในการบุเฟอร์นิเจอร์มักจะกลับผ้าโดยริมผ้าจะอยู่แนวบนล่าง เพราะเฟอร์นิเจอร์จำพวกโซฟามักมีความยาวเกินกว่าหน้าผ้าที่จะห่อหุ้มได้ ฉะนั้นจึงนิยมกลับผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตลอดตัวโซฟา หรือจะต่อผ้าเป็นตะเข็บตรงกลางเหมือนสไตล์โซฟาหนัง โดยมีการจำกัดของความกว้างวัสดุก็ทำได้เช่นกัน

ฉะนั้นหากจะเลือกซื้อผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ควรดูว่าเป็นผ้าหน้ากว้าง หรือหน้าปกติ และดูทิศทางของลายผ้า เพื่อการตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด โดยในแคตตาล็อกของเรามีสัญลักษณ์กำกับ โดยดูจากรูปไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ


‘Dual Purpose’ บุก็ได้ ม่านก็ดี

การเลือกผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการตกแต่งบ้าน  ทั้งประโยชน์ในการใช้สอย และยังช่วยสร้างอารมณ์ และบรรยากาศของบ้านให้น่าอยู่อบอุ่นมากยิ่งขึ้น สีสันของผ้าและลวดลายสะท้อนรสนิยมของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี ในที่นี้เราจะมาพูดถึงผ้าประเภท Dual Purpose ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในการแต่งบ้านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผ้า Dual Purpose สามารถนำมาใช้เป็นทั้งผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งหากมองดูเผินๆ ก็จะมีลักษณะเหมือนผ้าม่านทั่วไป แต่หากพูดถึงคุณสมบัติของเนื้อผ้าในการใช้งานในรูปแบบของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์แล้ว สามารถนำไปบุเฟอร์นิเจอร์ได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติด้าน RubTest (ความแข็งแรงที่ทนต่อการเสียดสี) เทียบเท่ากับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เช่นกัน โดยลักษณะของผ้า Dual Purpose จะมีความพริ้วบางเหมือนผ้าม่านแต่มีความทนทานต่อการเสียดสีได้มาก เหมาะแก่การนำมาใช้เป็นทั้งผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

สำหรับเราแล้ว คุณสามารถสังเกตสัญลักษณ์ง่ายๆ เมื่อคุณเลือกซื้อผ้าม่านหรือ ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ กับบริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด ตามตัวอย่างข้างล่างนี้

ดูผ้าม่านก็ได้บุก็ดีได้ที่นี้ คลิก!!!


ผ้าที่ใช้ได้ทั้งหน้า และหลังมีด้วยเหรอ ?

ผ้าที่ใช้ได้ทั้งหน้า และหลัง Revers-able fabric  ในกระบวนการทอผ้าทั้งในแบบ Dobby และ Jacquard ที่ทำเทคนิคให้เกิดลวดลายที่สวยงามกับผืนผ้า บางครั้งสามารถสร้างสรรค์ลวดลายทั้ง 2 ด้านสลับกัน สามารถเลือกได้ทั้ง 2 ด้านว่าชอบน้ำหนักของด้านใดมากกว่ากัน เช่น ถ้าเราใช้เส้นด้ายสองชนิด ด้านหนึ่งเป็นพื้นผิวด้านตัวลายเป็นมันเงา กลับอีกด้านก็จะเป็นพื้นผิวมันเงาและตัวลายด้าน เป็นต้น โดยความสวยงามทั้งสองด้านขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าชอบด้านใดมากกว่ากัน หรือเป็นผ้าที่มีการทอแบบพิเศษที่หน้าผ้าและหลังผ้าให้บุคคลิกที่แตกต่างกันออกไป เหมือนซื้อผ้า 1 ครั้งได้ผ้าถึง 2 ผืนเลยที่เดียว

สำหรับเราแล้ว คุณสามารถสังเกตสัญลักษณ์ง่ายๆ เมื่อคุณเลือกซื้อผ้าม่าน กับเรา
บริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด ตามตัวอย่างข้างล่างนี้


Dim-Out VS Blackout

ก่อนจะมาเปรียบกัน ว่าใครดีกว่าใคร เรามาดูความแตกต่างกันก่อนว่า ผ้าม่านกันแสง Dim-Out และผ้าม่านทึบแสง Blackout มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

  • ผ้าม่านกันแสง หรือผ้าม่านดิมเอาท์ (Dim Out Curtain) เป็นผ้าม่านที่มีคุณสมบัติกันแสง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ‘ผ้าม่าน UV’ ผ้าดิมเอาท์นี้แสงสามารถรอดผ่านน้อยกว่า 20% ไม่สามารถมองเห็นวิวด้านหลังผ้า ขนาดกว้างโดยขนาดประมาณ 135-320 ซม. เป็นผ้าม่านที่ทอแบบพิเศษ โดยเป็นผ้า 3 ชั้น จะมีเส้นด้ายสีดำทออยู่ระหว่างชั้นผ้าเหมือนแซนวิช ซึ่งด้ายดำนี้ทำให้ผ้าดิมเอาท์มีคุณสมบัติกันแสงได้มากกว่าผ้าม่านปกติ จากลักษณะการทอพิเศษดังกล่าว จึงทำให้ผ้าดิมเอาท์มีคุณสมบัติการกันรังสี UV มากกว่าผ้าม่านปกติทั่วไป เนื่องจากเส้นด้ายสีดำนั้นมีคุณสมบัติการดูดซับรังสี UV มากกว่าสีอื่นๆ จึงทำให้ผ้าดิมเอาท์มีคุณสมบัติป้องการรังสี UV เข้าสู่ห้องของคุณ แม้ว่าสีผ้าจะไม่ใช่สีดำ แต่มีการทอสอดด้ายสีดำไว้ระหว่างขั้นของผ้า ผ้าดิมเอาท์ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นเรียบ หากเป็นลวดลายจะเป็นลวดลายที่ส่วนใหญ่ใช้เทคนิค การปั๊มลาย Embossing, การพิมพ์ลาย Printing, หรือทอลายที่เป็นเทกเจอร์เล็กน้อย หลังผ้าทอด้วยลายทอต่วน (Satin) เพื่อความเรียบเนียบ และลดการขัดกันของด้ายยืน และด้ายพุ่งให้มากที่สุดเพื่อลดช่องว่างที่จะทำให้แสงรอดผ่าน ไม่นิยมทอลายด้วยลายทอแจคการ์ด (Jacquard) เพราะในระหว่างช่วงลายจะทำให้มีช่องว่างให้แสงรอดผ่านได้ 
  • เหมาะสำหรับห้องที่ไม่ต้องการแสง หรือแสงรบกวนในตอนเช้า เช่น ห้องนอน หรือห้องนอนโรงแรม แต่ไม่นิยมกับห้องที่ต้องการการกรองแสงลดส่วนหนึ่ง และปิดบังทัศนียภาพ เมื่อยามจำเป็นที่ต้องการความส่วนตัว เช่น ห้องทานข้าว หรือห้องนั่งเล่น

  • ผ้าม่านทึบแสง หรือผ้าม่านแบรคเอาท์ (Black Out Curtain) คือผ้าม่านที่มีความทึบแสง 100% แสงไม่สามารถลอดผ่านเลยแม้กระทั่งผ้าม่านเป็นสีขาวก็ตาม และไม่สามารถมองเห็นวิวด้านหลังผ้า ขนาดกว้างโดยประมาณ 135-150 ซม. ไม่นิยมเป็นผ้าหน้ากว้าง ที่กว้างอยู่ราวๆ 280-320 ซม. เพราะอุปสรรคด้านการขนส่งที่ไม่นิยมพับ เป็นผ้าม่านที่ทอแบบปกติทั่วไปทั้งมีลวดลาย และไม่มีลวดลาย แต่จะมีเคลือบด้านหลังผ้าด้วย ส่วนใหญ่จะเคลือบ 3 ชั้น และ 4 ชั้น ในกรณีของการเคลือบด้วยโฟมสีขาว (Foam Coating) ชั้นบนสุดและโฟมสีดำแทรกในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ของผ้าจะเป็นการเคลือบด้วยโฟมสีขาวดังกล่าว หรือในกรณีของการเคลือบด้วยซิลิโคน จะเป็นการเคลือบชั้นที่ 4 ด้วย Silicone เป็นชั้นสุดท้าย การเคลือบโฟมและซิลิโคน มีคุณสมบัติในการกันแสงสว่างเข้ามาภายในห้องถึง 100%
  • เหมาะสำหรับห้องที่ไม่ต้องการแสง หรือแสงรบกวนในตอนเช้า เช่น ห้องนอนโรงแรม, โฮมเทียเตอร์, ห้องที่โดนแดดช่วงบ่าย เป็นต้น

ส่วนผ้าชนิดไหนจะดีกว่ากันก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การนำไปใช้ ในห้องที่เหมาะสม เช่นผ้าม่านกันแสง Dim-out สามารถกันแสงได้เฉลี่ย 85% แต่เปอร์เซ็นต์การกันแสงนี้จะขึ้นอยู่กับสีของผ้าด้วยเช่นสีอ่อนๆ สีขาวความสามารถก็จะลดลงต่ำกว่า 85% ส่วนถ้าเป็นสีเข้มๆ สีดำ ก็จะกันแสงได้มากกว่า85% เช่นกัน แต่ยังให้ความรู้สึกเป็นผ้านุ่มเข้าลอนได้ดีตามแบบผ้าม่านปกติ ส่วนผ้าทึบแสง Blackout กันแสงได้ 100% ไม่มีผลกับสีของผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าสีขาวก็ตาม เพราะด้วยการเคลือบดังกล่างข้างต้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ผ้ามีความไม่กระด้างเล็กน้อยด้วยเช่นกัน

ผ้าม่านทั้ง 2 ประเภทนี้ ยังสามารถป้องกันความร้อนและดูดซับรังสี UV ที่จะส่องผ่านเข้ามาภายในห้อง ช่วยประหยัดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ผ้าม่าน Dim-out และ Black out เหมาะกับทุกห้องภายในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน และห้องโฮมเธียเตอร์ นอกจากนั้นออฟฟิตสำนักงาน และโรงแรมต่างๆ ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน


คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ จากการสังเกตุสัญลักษณ์ ดังรูปด้านล่างนี้

ดูเล่มตัวอย่างผ้าม่านกันแสง (Dim-out) คลิก

ดูเล่มตัวอย่างผ้าม่านทึบแสง 100% (Blackout) คลิก

ดูแผ่นพับตัวอย่างผ้าม่านกันแสง (Dim-out) คลิก

ดูเนื้อผ้าม่านกันแสง (Dim-out) คลิก

ดูเนื้อผ้าม่านทึบแสง 100% (Blackout) คลิก


รู้หรือไม่ ‘ผ้ากำมะหยี่ (Velvet)’ ผลิตอย่างไร ?

ผ้านุ่มๆ ขนๆ ละเอียดๆ ที่เราเห็น ความจริงแล้วเป็นผ้าที่มีเทคโนโลยีในการทอขั้นสูง  ผ้า Velvet หรือผ้ากำมะหยี่ เป็นผ้าที่ใช้เครื่องชนิดพิเศษที่ทอผ้า ด้วยวิธี Face to Face คือการทอสองชั้นเหมือนแผ่นขนมปัง 2 แผ่น ในแซนวิส คู่ขนาดกันไป โดยมีเส้นการทอยึดโยงขึ้นลงระหว่างชั้นเหมือนใส้ของแซนวิส และที่หน้าอัศจรรย์คือเมื่อทอเสร็จแล้ว จะมีใบมีดตัดกลางระหว่างชั้นของพื้นผ้าด้านบนและด้านล่าง ทำให้แยกออกเป็นสองส่วน และทำให้ได้ หน้าผ้าที่เป็นขนนุ่มๆ พร้อมกัน 2 ผืนในการทอเพียงครั้งเดียว


AT LAST EP2 Collection