fbpx

Inherent FR เกิดมาก็กันไฟเลย

Flame Retardant Fabrics หรือผ้ากันไฟลาม คือผ้าที่มีการปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติที่สามารถต้านทานการลุกลามของไฟได้ โดยในเชิงเคมีและกระบวนการผลิต ผ้ากันไฟลามสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ

  • Inherent Flame Retardant (Inherent FR) Fibers
  • Treated Flame Retardant (Treated FR) Fabrics

1. Inherent Flame Retardant (Inherent FR) Fibers

เส้นใยที่มีคุณสมบัติกันไฟตั้งแต่ต้น หรือที่เรียกว่า Inherent FR Fiber เป็นเส้นใยที่มีความต้านทานต่อเปลวไฟภายในโครงสร้างของมันเอง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเคลือบสารเพิ่มเติม สารต้านไฟลามจะถูกผสมกับเมล็ดพลาสติกหรือโพลีเมอร์ก่อนจะหลอมละลายและฉีดออกมาเป็นเส้นใย ทำให้เส้นใยเหล่านี้มีคุณสมบัติกันไฟตั้งแต่การผลิต ตัวอย่างเส้นใยที่มีคุณสมบัติ Inherent FR เช่น อะรามิด (Aramid) และโมดาคริลิก (Modacrylic) ซึ่งมีประสิทธิภาพการกันไฟที่ดีกว่าเส้นใย FR ทั่วไป

ผ้าที่มีคุณสมบัติกันไฟลามโดยทั่วไปมักจะมีประสิทธิภาพคงอยู่ไม่เกิน 5 ครั้งในการซัก เมื่อซักมากกว่า 5 ครั้ง ประสิทธิภาพการกันไฟจะลดลงเรื่อย ๆ แต่สำหรับผ้าที่ผลิตจากเส้นใย Inherent FR Fiber จะคงคุณสมบัติกันไฟไม่ลดลงแม้จะผ่านการซักหลายครั้ง เนื่องจากคุณสมบัติการกันไฟฝังอยู่ในตัวเส้นใยเองตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต

ข้อดี: คุณสมบัติการกันไฟคงที่และไม่ลดประสิทธิภาพลง แม้จะผ่านการซักหรือใช้งานหลายครั้ง, ปลอดภัยกว่าเนื่องจากไม่มีสารเคลือบเพิ่มเติมที่อาจหลุดออกมาได้

สามารถสังเกตุว่าผ้าตัวใดของนิทัสมีคุณสมบัติ Inherent Flame Retardant จาก


2. Treated Flame Retardant (Treated FR) Fabrics

ผ้าที่มีคุณสมบัติ FR fiber หรือ “Flame Retardant fiber” เป็นเส้นใยที่มีความต้านทานต่อเปลวไฟ โดยทั่วไปผลิตจากวัสดุต่างๆ เช่น พอลีเอสเตอร์ (Polyester) และอะรามิด (Aramid) ผ้ากันไฟลามหมายถึงเมื่อสัมผัสกับเปลวไฟแล้ว ผ้าจะไม่ลุกลามต่อเนื่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าไฟที่ลุกลามจากแหล่งอื่นจะไม่ทำให้ผ้าติดไฟ เพียงแค่เมื่อมีจุดกำเนิดไฟมาสัมผัส ผ้าจะไม่เป็นต้นเหตุให้ไฟลุกลามต่อไป

ผ้าที่ทำจากเส้นใยทั่วไป เช่น โพลีเอสเตอร์ หรือไนลอน สามารถผ่านการเคลือบสารกันไฟ (flame retardant chemicals) ในขั้นตอนการทำสำเร็จผ้า (finishing process) กระบวนการผลิตนี้จะทำโดยการชุบหรือพ่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติการกันไฟ จากนั้นผ้าจะถูกอบหรือทำให้แห้งเพื่อให้สารเคลือบติดกับเส้นใย สารเคมีที่ใช้ เช่น สารฟอสเฟต (Phosphate) หรือสารโบรมีน (Bromine) ซึ่งสามารถลดการลุกลามของไฟได้

  • ข้อดี: สามารถผลิตผ้ากันไฟจากเส้นใยสังเคราะห์ได้หลากหลายชนิด, กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนเท่าเส้นใย Inherent FR
  • ข้อเสีย: คุณสมบัติการกันไฟอาจลดลงหลังการซักหลายครั้ง หรือการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากสารเคลือบอาจหลุดลอกออก

สามารถสังเกตุว่าผ้าตัวใดของนิทัสมีคุณสมบัติ Flame Retardant จาก


อย่างไรก็ตามผ้าที่มีคุณสมบัติกันไฟลาม เราก็สามารถเชื่อมั่นในคุณสมบัตินั้นได้ พร้อมผลการทดสอบ อันเป็นที่หน้าเชื่อถือในระดับสากล เช่น NFPA 701, EN 13773 เป็นต้น

NFPA 701

NFPA 701 คือมาตรฐานการทดสอบการลามไฟของสิ่งทอที่ใช้ในอาคารที่ออกโดย National Fire Protection Association (NFPA) หรือสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบและเกณฑ์การยอมรับสำหรับวัสดุสิ่งทอที่ใช้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ผ้าม่าน, ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์, และสิ่งทออื่นๆ ที่อาจมีการติดตั้งหรือใช้งานในอาคาร

NFPA 701 มีสองวิธีการทดสอบหลัก:

  1. Test Method 1 (Method 1): ใช้สำหรับการทดสอบวัสดุสิ่งทอที่มีน้ำหนักเบาและวัสดุที่ใช้ในสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ผ้าบาง ๆ และวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งงานแสดงสินค้าหรืออีเวนท์
  2. Test Method 2 (Method 2): ใช้สำหรับการทดสอบวัสดุสิ่งทอที่มีน้ำหนักมากกว่าและวัสดุที่ใช้ในภายในอาคาร เช่น ผ้าม่านหนา ๆ และวัสดุที่ใช้ในโรงแรมหรือโรงละคร

ผลการทดสอบตามมาตรฐาน NFPA 701 จะระบุว่าวัสดุสิ่งทอนั้นผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์การลามไฟที่กำหนด ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการเลือกใช้งานวัสดุในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความปลอดภัยจากอัคคีภัย


EN 13773

EN 13773 “Textiles and textile products – Curtains and drapes – Flammability classification” มาตรฐานยุโรปกำหนดวิธีการทดสอบและการจัดประเภทความสามารถในการต้านทานการลามไฟของผ้าม่านและผ้าที่ใช้ในงานตกแต่งภายในอาคาร เช่น ผ้าม่านและผ้าคลุมต่าง ๆ

วิธีการทดสอบ: มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบความสามารถในการต้านทานไฟของวัสดุอยู่ในท่าตั้งฉาก หลังจากการสัมผัสกับแหล่งไฟ


NF P92-507

NF P92-507 “Fire classification of construction products and building elements – Part 5: Classification using data from external fire exposure to roofs tests” เป็นมาตรฐานของฝรั่งเศสที่กำหนดวิธีการทดสอบความสามารถในการต้านทานไฟของวัสดุสิ่งทอที่ใช้ในการตกแต่งภายในอาคาร มาตรฐานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดระบบการทดสอบและการจัดประเภทวัสดุต้านทานไฟในฝรั่งเศส โดยมีการจัดระดับจาก M0 – M4 ซึ่ง M0 หมายถึงวัสดุที่ไม่ติดไฟ และ M4 หมายถึงวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายที่สุด

วิธีการทดสอบ: มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบความสามารถในการต้านทานไฟของวัสดุโดยใช้เปลวไฟขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ และวัดการลามไฟ ความสามารถในการติดไฟ และการเกิดควัน

การจัดอันดับ: การทดสอบจะให้คะแนนวัสดุตามระดับการลามไฟ โดยใช้ระบบการจัดระดับ M ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:

  • M0: วัสดุไม่ติดไฟ
  • M1: วัสดุติดไฟได้ยาก
  • M2: วัสดุติดไฟได้ปานกลาง
  • M3: วัสดุติดไฟได้ง่าย
  • M4: วัสดุติดไฟได้ง่ายมาก

มาตรฐาน NF P92-507 เป็นการรับรองว่าวัสดุที่ใช้มีความปลอดภัยต่อการลามไฟ ซึ่งมีความสำคัญในการป้องกันอัคคีภัยในอาคารและพื้นที่สาธารณะ


ผ้าหน้ากว้าง 320 เซนติเมตร ดีกว่าอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วความสูงของแต่ละห้องมีความสูงไม่เท่ากัน โดยทั่วไป คอนโดมิเนียมความสูงจะประมาณ 240 – 270 เซนติเมตร ส่วนบ้านพักอาศัย ประมาณ 260 – 330 เซนติเมตร ความสูงสำหรับห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องนอน: ประมาณ 250 – 270 เซนติเมตร
  • ห้องน้ำ: ประมาณ 230 – 240 เซนติเมตร
  • ห้องครัว: ประมาณ 250 – 270 เซนติเมตร
  • ห้องรับแขก: ประมาณ 260 – 330 เซนติเมตร
  • ห้องรับประทานอาหาร: ประมาณ 260 – 300 เซนติเมตร
  • ห้องทำงาน: ประมาณ 260 – 300 เซนติเมตร

ซึ่งความสูงดังกล่าวก็มีผลกับความสูงของหน้าต่างและประตูด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนในการจัดการเรื่องผ้าม่านเช่นเดียวกัน

ความสูงห้องโดยปกติ ที่ไม่ให้ให้รู้สึกอึดอัด อยู่ที่ 240 ซม เป็นอย่างน้อย

การเย็บม่านในแบบผ้าหน้ากว้างปกติ

ผ้าม่านหน้ากว้างปกติ จะมีขนาดวัดจากริมผ้าด้านหนึ่งถึงอีกด้านอยู่ที่ 135-150 เซนติเมตร จะเย็บโดย ให้ริมผ้าอยู่ทางซ้ายและขวา โดยความสูงของม่านไม่กำจัด แต่จะมีการต่อผ้าในแนวตั้ง เป็นช่วงๆ ไปตลอดทั้งผืน

การเย็บม่านในแบบผ้าหน้ากว้าง

ผ้าม่านหน้ากว้าง จะมีขนาดวัดจากริมผ้าด้านหนึ่งถึงอีกด้านอยู่ที่ 280-350 เซนติเมตร จะเย็บโดย ให้ริมผ้าอยู่ทางบนและล่าง โดยความยาวของม่านไม่จำกัด แต่จะมีการต่อผ้า ถ้าห้องมีความสูงเป็นพิเศษ


ห้องที่เพดานสูง

เป็นที่รู้กันดีว่าผ้าหน้ากว้างประหยัดกว่า ผ้าม่านหน้าปกติถึง 30% โดยการหมุนให้ริมผ้าอยู่ในทิศบน-ล่างทำให้เราสามารถเย็บม่านได้ยาวต่อเนื่องโดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งปกติห้องทั่วไป จะสูงจากพื้นถึงฝ้า 2.5 เมตร ดังนั้นการที่เราเลือกใช้ผ้าหน้ากว้าง 320 ซม. จึงทำให้สามารถเย็บม่านได้ตลอดความสูงห้อง เพดานสูง 240-285 เซนติเมตร ได้สบายๆ ไร้รอยต่อ สวยงามเต็มผืน

ในทางกลับกัน ถ้าห้องของคุณมีความสูงมากกว่า 285 เซนติเมตร ก็ต้องมีการพิจารณากันว่า จะให้ผ้าม่านมีรอยต่อในแนวตั้ง เป็นช่วงๆ หรือจะต่อในแนวนอน เป็นแนวยาวตลอดทั้งผืน ซึ่งในบางครั้ง จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ก็อาจจะแก้ให้เป็นข้อดีโดยใช้การแบ่งเป็นลูกเล่นในการให้สีผ้าม่านมีน้ำหนักอ่อนเข้ม หรือสลับสีให้เกิดบรรยากาศที่สนุกสนานขึ้นอีกด้วย


เข้าใจเรื่องสไตล์การตกแต่ง

Understanding the style of home decoration

สไตล์การตกแต่งบ้านยอดนิยมในปัจจุบันมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความชอบและรสนิยมของผู้อยู่อาศัย โดยแต่ละสไตล์จะมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. แบ่งตามลักษณะทาง วัฒนธรรมธรรม (Culture) และลักษณะทางภูมิประเทศ (Topography)
    • โลกฝั่งตะวันตก (ยุโรป อเมริกา แอฟริกา)
    • โลกฝั่งตะวันอกก (เอเชีย)
  2. แบ่งตามลักษณะแนวความคิดทางอุดมคติ (Ideal) ปรัชญา (Philosophy) บางอย่าง
  3. แบ่งตามยุคสมัย ตามกาลเวลา

เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสไตล์การออกแบบตกแต่งที่ได้รับอิทธิผลจาก วัฒนะธรรมพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ รูปแบบที่แตกต่างกันออกไป และลักษณะทางภูมิประเทศที่หลากหลาย เช่น เขตอบอุ่น, ร้อนชื้น เหล่านี้ก็จะส่งผลต่อแนวคิด การเลือกใช้วัสดุ ฟังชั่นต่างๆ ที่ตอบโจทย์ตามลักษณะภูมิประเทศนั้นๆ

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
สแกนดิเนเวียน Scandinavian
หรือ นอร์ดิก
Nordic
อบอุ่น เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติผสมผสานสีขาว เฟอร์นิเจอร์ไม้ แสงธรรมชาติขาว ครีม เทา น้ำตาล อ่อน ไม้ ผ้าขนสัตว์สแกนดิเนเวีย
โมร็อกกัน Moroccanสีสันสดใส ลวดลายซับซ้อนโมเสก กระเบื้องลายดอกไม้ โคมไฟระย้าแดง ส้ม เขียว ชมพู น้ำเงิน โมเสก กระเบื้อง ผ้าขนสัตว์โมร็อกโก
ยุโรป
European
หรูหรา คลาสสิก ประณีตเฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก โคมไฟระย้า สีทอง ครีมทอง ครีม ขาว เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก โคมไฟระย้ายุโรป
โบฮีเมียน
Bohemian
อิสระ เต็มไปด้วยสีสัน ลวดลายผสมผสานหลายสไตล์ เน้นของตกแต่งหลากหลาย ขึ้นอยู่กับดีไซน์ยุโรปตะวันออกกลาง
ชนบทของฝรั่งเศส
French Countries
อบอุ่น อ่อนหวาน เรียบง่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าลินิน ตะกร้าหวายครีม น้ำตาล เขียว โทนธรรมชาติ ชนบทใน
ฝรั่งเศส
Scandinavian สแกนดิเนเวียน หรือ Nordic นอร์ดิก
Moroccan โมร็อกกัน
European สไตล์ยุโรป
Bohemian โบฮีเมียน
French Countries ชนบทของฝรั่งเศส

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
บาหลี
Balinese
เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติผสมผสานไม้ หิน สวน โทนสีอบอุ่นน้ำตาล เขียว เฟอร์นิเจอร์ไม้ หิน ไม้ไผ่อินโดนีเซีย
จีน
Chinese
แดง โบราณ เรียบหรูสีแดง เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก มังกรโทนสีแดง ทอง ดำ เน้นวัสดุไม้ ผ้าไหม หยกจีน
ญี่ปุ่น
Japanese
เรียบง่าย อบอุ่น ธรรมชาติบ้านไม้ เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น ประตูบานเลื่อน
เสื่อทาตามิ
ไม้ธรรมชาติ โทนสีอบอุ่น มินิมอลญี่ปุ่น
ไทย
Thai
เรือนไทย โบราณ วัฒนธรรมบ้านไม้หลังคาจั่ว หน้าจั่ว ประตูไม้แกะสลักโทนสีน้ำตาล ครีม ส้ม เน้นวัสดุไม้ ผ้าปูพื้นไทย
Balinese Style บาหลีสไตล์
Chinese Style จีนสไตล์
Japanese Style ญี่ปุ่นสไตล์
Thai Sty ไทยสไตล์

สไตล์การตกแต่งบ้านสามารถแบ่งตามแนวความคิดทางอุดมคติและปรัชญาได้หลายรูปแบบ โดยแต่ละสไตล์จะมีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและความเชื่อที่แตกต่างกันไป นี่คือตัวอย่างของสไตล์การตกแต่งบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมคติและปรัชญาต่างๆ

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
มินิมอล Minimalistเรียบง่าย เน้นพื้นที่ โล่ง โปร่งเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น เน้นเส้นตรง เรียบง่ายโทนสีขาว เทา ครีม เน้นวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หินญี่ปุ่น
ลอฟต์
Loft
ดิบเท่ โปร่ง โล่งโครงสร้างเปลือย เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นสีเข้ม อิฐ ปูนเปลือย โลหะอเมริกา
อินดัสเทรียล Industrialดิบ เท่ เน้นโลหะ โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์โลหะ อิฐ ปูนเปลือยดำ เทา น้ำตาล อิฐ โลหะอเมริกา
รัสติก
Rustic
เน้นวัสดุไม้, หิน และความเป็นธรรมชาติไม้เก่า, อิฐเปลือย ,ตกแต่งด้วยของโบราณ สีเอิร์ธโทน, ไม้, หิน, ผ้าลินิน, หนังยุโรป
ทรอปิคัล
Tropical
ใช้สีสันสดใสและลวดลายที่สะท้อนถึงธรรมชาติในเขตร้อนระบายอากาศดี
ต้นไม้ในบ้าน
หน้าต่างใหญ่
ไม้, หญ้าคา,
สีเขียว, น้ำเงิน,
สีเกี่ยวกับธรรมชาติ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เซน
Zen
เน้นความสงบและสมดุล, ใช้วัสดุธรรมชาติความสงบและสมดุล, พื้นที่เปิด,
มีระเบียบ
ไม้, หิน, กระเบื้อง
สีขาว, เทา,
สีธรรมชาติ
ญี่ปุ่น
ฮอลลีวูดรีเจนซี่
Hollywood Regency
หรูหราและอลังการ เน้นความเป็นทางการสีสันสดใส, เฟอร์นิเจอร์โค้ง,
ใช้ของตกแต่งชื้นใหญ่
สีทอง, ดำ, ขาว, ชมพูสด, กำมะหยี่,
วัสดุมันวาว
อเมริกา
นอทิคัล
Nautical
โทนสีน้ำเงินและขาว, ลวดลายที่สะท้อนถึงทะเลสมอเรือ, พังงา, ลวดลายทางเรือสีขาว, น้ำเงิน. แดง, ไม้สัก, เชือกป่าน, ผ้าลินินอเมริกา, ยุโรป
บีชคอทเทจ
Beach Cottage
ผ่อนคลาย, กลิ่นอายชายหาด, เรียบง่ายสีโทนอ่อน, เฟอร์นิเจอร์เก่า,
งานหัตถกรรม
สีฟ้า, ขาว, ทราย, ผ้าลินิน, ไม้หวายอเมริกา, ออสเตรเลีย
ฟาร์มเฮ้าส์
Farmhouse
เรียบง่าย,
อบอุ่น,
อิงธรรมชาติ
เฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณ,การใช้ลายตารางสีขาว, เทา, เขียวอ่อน, ไม้อิฐ, ผ้าฝ้าย, ผ้าลินินอเมริกา, ยุโรป
ชิโนโปรตุเกส
Sino-Portuguese
ผสมผสานศิลปะจีนและโปรตุเกสประตูโค้ง, ลวดลายปูนปั้น , กระเบื้องสีสันสดใสสีขาว, ฟ้า, แดง, ไม้, กระเบื้อง, หินไทย, มาเลเซีย
โคโลเนียล
Colonial
หรุหรา, เรียบง่าย, คลาสสิคเฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณ, การใช้ลายเส้นชัดเจน, ผ้าม่านลายดอกไม้สีครีม, ทอง, ไม้ หวาย, ผ้าฝ้าย, ผ้าลินินยุโรป อเมริกา เอเชีย
Minimalist Style มินิมอลสไตล์
Tropical Style สไตล์ทรอปิคอล
Zen Style สไตล์เซน
Hollywood Regency Style
Nautical Style
Beach Cottage Style
Farmhouse Style
Sino Portuguese Style
Colonial Style
Rustic Style สไตล์รัสติก
Loft Style ลอฟสไตล์
Industrial Style สไตล์อินดัสเทรียล

สไตล์การตกแต่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียด ดังนี้

Loft style

  • เน้นความดิบเท่ โปร่งโล่ง ผสมผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
  • มักใช้พื้นที่แบบ Open Plan โชว์โครงสร้างดั้งเดิม เช่น โครงสร้างเหล็ก เพดานสูง
  • นิยมใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น อิฐเปลือย ไม้ปูน เหล็ก
  • เฟอร์นิเจอร์เน้นดีไซน์เรียบง่าย ฟังก์ชันการใช้งาน
  • สีสันส่วนใหญ่เป็นโทนสีธรรมชาติ เช่น น้ำตาล เทา ดำ ขาว

Industrial style

  • เน้นความดิบ เท่ สมบุกสมบัน ได้รับแรงบันดาลใจจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • มักมีองค์ประกอบที่บ่งบอกถึงความเป็นอุตสาหกรรม เช่น ท่อเหล็ก เกียร์ โซ่
  • นิยมใช้วัสดุที่ทนทาน เช่น เหล็ก โลหะ ไม้เก่า
  • เฟอร์นิเจอร์เน้นดีไซน์ดิบๆ เท่ๆ
  • สีสันส่วนใหญ่เป็นโทนสีเข้ม เช่น ดำ น้ำตาล เทา

กล่าวคือ ถ้าเรานับว่าการตกแต่งที่เข้ากับยุคสมัยดูเหมาะสมกับปัจจุบันคือ สไตล์ร่วมสมัย (ContemporaryStyle) เป็นจุดตรงกลางที่เราอยู่ ณ ขณะนี้ มองทางทางซ้ายคืออดีต คือสไตล์วิเทจ (Vintage Style) อดีตที่มีช่วงเวลาที่แน่นอนของยุโรปราว ค.ศ. 1950-1970 ก็คือ สไตล์เรโทร (Retro Style) ในฝั่งที่อเมริการาว ค.ศ. 1950-1960 ก็จะมีสไตล์ที่เรีนกว่า สไตล์มิดเซนจูรีโมเดิร์น (Mid-century Modern Style) ส่วนสไตล์การตกแต่งที่ดูย้อนยุคที่ดูหรูหรา ประณีตอย่างลงตัวก็จะเรียกว่า สไตล์คลาสสิก (Classic) ในทางกลับกันสไตล์ที่มองไปข้างหน้า ล่ำสมัย ที่เน้นรูปทรงที่แปลกใหม่พร้อมไปกับฟังชั่นการใช้งาน ก็จะถูกเรียกว่า สไตล์โมเดิร์น (Modern Style)

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
สไตล์ล้ำยุค
Futuristic
ดูล้ำสมัย ไม่เคยเห็น เหมือนอยู่ในหนังไซไฟ อนาตครูปทรงแปลกตา เหมือนมาจากอนาตคขาว โลหะ เรืองแสง มันวาวนิยายวิทยาศาสตร์ ไซไฟ
โมเดิร์น
Modern
เรียบง่าย เน้นฟังก์ชั่น โปร่ง โล่งเส้นตรง รูปทรงเรขาคณิต หน้าต่างบานใหญ่ขาว ครีม เทา ดำ ไม้ โลหะ กระจกยุโรป
คอนเทมโพรารี่ Contemporaryทันสมัย ผสมผสานหลายสไตล์เน้นฟังก์ชั่น ผสมผสานวัสดุ ลวดลายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับดีไซน์อเมริกา
คลาสสิก
Classic
หรูหรา อลังการ เน้นความประณีตรายละเอียดปูนปั้น เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก โคมระย้าสีทอง ครีม น้ำตาล ไม้แกะสลัก หินอ่อน ผ้ากำมะหยี่ยุโรป ยุคเรเนซองส์
ศตวรรษที่ 14-17
วินเทจ
Vintage
ย้อนยุค โบราณ คลาสสิกเฟอร์นิเจอร์เก่า ของตกแต่งโบราณโทนสีอบอุ่น ครีม น้ำตาล เน้นวัสดุไม้ ผ้า หนังยุโรป
เรโทร
Retro
ย้อนยุค เน้นความสนุกสนานสีสันสดใส ลวดลายกราฟิกโทนสีส้ม เหลือง เขียว เน้นวัสดุพลาสติก โลหะ ผ้าลายกราฟิกอเมริกา
ยุค 50s – 70s
มิดเซนจูรีโมเดิร์น
Mid-century Modern
เรียบง่าย อบอุ่น เน้นธรรมชาติเฟอร์นิเจอร์ไม้ ขาเรียว โซฟาหนัง โคมไฟตั้งพื้นสีเอิร์ธโทน น้ำตาล เขียว ส้ม ไม้ หนัง ผ้าขนสัตว์อเมริกา
ยุค 50s-60s
Futuristic Style
Modern Style
Contemporary Style
Classic Style
Vintage Style
Retro Style
Mid-Century Style


บทความโดย อ.ทายาท เตชะสุวรรณ์, บริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด

ภาพประกอบโดย Leonardo.ai

แบบประตู หน้าต่าง สัญลักษณ์แบบนี้มันคืออะไรนะ


ในการเขียนแบบเชิงสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อแสดงหน้าต่างและประตูในแบบแปลน และรายละเอียดอื่นๆ มีความสำคัญในการสื่อสารกับผู้รับเหมาและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการก่อสร้าง นี่คือสัญลักษณ์และหลักการทั่วไปที่ใช้ในการแสดงหน้าต่างและประตู

หน้าต่างบานฟิกซ์ Fixed Window: ใน แบบผังพื้น (Plan) สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ สี่เหลี่ยม ซ้ายขวาแทนเฟรม และเส้นขีดยาวหนึ่งเส้นแทนกระจก ในภาพด้าน Ellevation จะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม และถ้าวัสดุนั้นเป็นกระจกใส ก็จะมีการเขียนเส้นเป็นขีดๆ แนวทะแยงมุมสั้นๆ สองสามขีด

หน้าต่างบานเปิด, หน้าต่างบานกระทุ้ง และหน้าต่างบานทิวแอนด์เทิร์น: ในแบบผังพื้น สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ สี่เหลี่ยม ซ้ายขวาแทนเฟรมวงกบ และมีการเขียนเหมือนลักษณะการเปิด และมีเส้นโค้งรัศมี นการเปิด ในภาพด้าน Ellevation จะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม แต่จะมีเส้นเป็นลักษณะเหมือน < หรือ > โดยให้สังเกตุมุมหันไปทางใด แปลว่าเป็นจุดหมุนของตัวบานเปิด

หน้าต่างบานสไลด์ และบานยก ในแบบผังพื้น สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ สี่เหลี่ยม ซ้ายขวาแทนเฟรมวงกบ และมีสี่เหลี่ยม ซ้ายขวาเฟรมบานกระจกและเส้นขีดยาวหนึ่งเส้นแทนกระจก โดยจพสังเกตว่าตัวบานเฟรมกระจก ในภาพด้าน Ellevation จะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม แต่จะมีเส้นเป็นลักษณะเป็นลูกศรบอกทิศทางการเปิด

หน้าต่างบานเฟี้ยม ในแบบผังพื้น สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ แสดงให้เห็นการพับของบานที่ชัดเจน โดยจะเป็นสี่เหลี่ยมวางในแนวเอียง 45 องศา สลับกันไปมาในภาพด้าน Ellevation จะแสดงทั้งมุมในการเปิดแบบหน้าต่างบานเปิด และลูกศรแบบหน้าต่างบานสไลด์ และจะมีวิธรการนับชุดบานตัวชุดตัวเลข เช่น 6:3:3 แปลว่ามีทั้งหมด 6 บาน โดยเปิดแยกกลางไปทางซ้าย 3 ขวา 3 อีกตัวอย่างคือ 4:1:3 แปลว่ามีทั้งหมด 4 บาน โดยเปิดแยกกลางไปทางซ้าย 1 ขวา 3 อีกตัวอย่างคือ 5:0:5 แปลว่ามีทั้งหมด 5 บาน โดยเปิดแยกกลางไปทางขวาทั้งหมดเป็นต้น

ท้ายนี้บทความรู้จะช่วยให้ ร้านคู่ค้าของเรา ร้านขายผ้าม่านต่างๆ ดูแบบบ้านลูกค้าได้ง่าย และมีความเข้าใจมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการคิดแบบคำนวนราคา นิทัสเราเป็นผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ นะจ๊ะ ไม่ต้องทักมาถามหาซื้อประตู วงกบ หน้าต่าง งานเฟรมอลูมิเนียม น่าาาาาา 55555


การวัดหน้าต่างบ้าน NORDIC Style

สไตล์นอร์ดิก (Nordic Style) หรือสไตล์สแกนดิเนเวียน (Scandinavian Style) เป็นสไตล์การตกแต่งภายในและการออกแบบบ้านที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์

องค์ประกอบหลักๆ ของบ้านสไตล์นอร์ดิกประกอบด้วย

  • สีสันที่เรียบง่าย: มักจะใช้สีขาว เทา และสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เช่น สีไม้หรือสีเบจ เพื่อสร้างบรรยากาศที่สว่างและอบอุ่น
  • การใช้แสงธรรมชาติ: บ้านสไตล์นอร์ดิกมักจะมีหน้าต่างใหญ่เพื่อให้แสงธรรมชาติเข้ามามากที่สุด
  • การใช้ไม้และวัสดุธรรมชาติ: ไม้เป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการตกแต่งและสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
  • การออกแบบที่เรียบง่าย: ใช้เส้นสายที่เรียบง่าย ไม่มีการตกแต่งที่ซับซ้อน เพื่อให้ดูสะอาดและโปร่งสบาย
  • เฟอร์นิเจอร์ที่มีฟังก์ชั่น: มักจะเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้หลายรูปแบบและมีการออกแบบที่เรียบง่าย
  • การใช้สิ่งทอที่นุ่มนวล: ผ้าคลุม หมอน และพรมที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและความสบาย
  • การใช้ต้นไม้และพืชในบ้าน: ต้นไม้และพืชช่วยเพิ่มความสดชื่นและสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น

บ้านสไตล์นอร์ดิกกำลังเป็นที่นิยมมากในเมืองไทย เนื่องจากความเรียบง่ายและความอบอุ่นที่สไตล์นี้นำมา นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งและเพิ่มสไตล์ส่วนตัวของเจ้าของบ้าน ทำให้สามารถสร้างบ้านที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ได้ตามความต้องการของผู้พักอาศัย

แต่หลายคนคงสังเกตว่า สไตล์แบบนอร์ดิก เป็นสไตล์ที่มีจากแถบทวีปเขตอบอุ่น ที่เขาต้องการแสงแดดจากธรรมชาติ แต่สำหรับเมืองไทย เป็นที่รู้กันอยู่ว่า เมืองไทยมีแค่สามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก และร้อนสุดๆ ฉะนั้นการที่บ้านเรามีหน้าต่างบ้านใหญ่ที่เป็นทรงจั่วสามเหลี่ยมที่รับแสงขนาดนั้น เราคงต้องมีการติดผ้าม่านช่วยในการกันแสงแดด และลดความร้อนภายในบ้าน แต่ด้วยทรงของบ้านที่ทรงหน้าต่าง ไม่ได้เป็นในรูปแบบสี่เหลี่ยมปกติ เป็นรูปทรงที่เป็นจั่วสามเหลี่ยมขึ้นไปเลยแบบนั้น เราจะมีวิธีในการคำนวณได้อย่างไรกันนะ

ลองมาดูวิธีง่ายๆ ในการคำนวณตามข้อมูลด้านล่างนี้กันเลย


30060 CADIZ H Collection

30060 CADIZ
Dual Purpose COLLECTION

เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ ผ้าม่านก็ดี


30011 NEO CLASSIC H Collection

30011 NEOCLASSIC
Dual Purpose COLLECTION

เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ ผ้าม่านก็ดี กันไฟลาม


30030 NOUVEAU H Collection

30030 NOUVEAU
Dual Purpose COLLECTION

เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ ผ้าม่านก็ดี พร้อมคุณสมบัติกันไฟลาม


10529 NEAT H Collection

10529 NEAT
CURTAIN COLLECTION

เล่มรวมผ้าม่าน


10528 CANVAS H Collection

10528 CANVAS
UPHOLSTERY COLLECTION

เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ ผ้าม่านก็ดี สะท้อนน้ำ