DIM-OUT COLLECTION
กลูมมิง เล่มรวมผ้าม่านกันแสงหน้ากว้างปกติ
- DIM-OUT ผ้าม่านกันแสง: 10811 SUNBLOCK, 10816 MUNOZ, 0048 PALPATINE, 80041 KENOBI, 80040 OBIWAN, 80039 SKYWALKER, 80038 ANAKIN, 80037 JEDI, 80036 LUKE, 80001 SEQUIN
DIM-OUT COLLECTION
กลูมมิง เล่มรวมผ้าม่านกันแสงหน้ากว้างปกติ
CHIC AND CONTEMPORARY DRAPERY COLLECTION
ออลนิว เล่มรวมผ้าม่านมีสไตล์และร่วมสมัยที่ดีสุดของนิทัส
40034 PHILIP
REPEAT SIZE : 23 x 27 cm
40035 ANDREW
REPEAT SIZE : 23 x 29 cm
40036 GEORGE
REPEAT SIZE : 17 x 15 cm
40038 BEATRICE
REPEAT SIZE : 23 x 47 cm
40039 SARAH
REPEAT SIZE : 23 x 30 cm
40040 SALOLA
REPEAT SIZE : 34.5 x 36 cm
40042 CHARLOTTE
REPEAT SIZE : 70 x 58 cm
Cruises: Outdoor Fabrics Collection
SLUMBER Collection
แผ่นพับรวมผ้ากันแสง 100%
แบบไหนที่นิทัสเราแนะนำ ไปดูกันเลย
ว่าด้วยการออกแบบลวดลายนั้น โดยปกติ จะมีการออกแบบลวดลายอยู่ 2 ประเภท คือ
2. ลายแบบต่อเนื่องกัน (Repeat Pattern Design) เป็นลวดลายที่ออกแบบโดยเฉพาะให้มีความต่อเนื่อง เมื่อเรานำลายมาชนต่อกันแล้ว ทั้งซ้าย-ขวา, บน-ล่าง ลวดลายนั้นก็จะต่อเนื้องสม่ำเสมอกันทั้งหมด
การสังเกตุ และวัดระยะของลายผ้า Repeat ทำได้อย่างไร? จริงๆ เป็นสิ่งที่ง่ายมากๆ โดยเราจะหาจุดสังเกตุจุดใดก็ได้ของลายผ้าที่เด่นชัด เช่นตามตัวอย่างรูปด้านล่าง เราจะเอาปลายก้านของช่อดอกนั้นเป็นตำแหน่งหลักในการวัดระยะ
สังเกตุจากจุดหลักตั้งต้น และมองหาจุดที่ลายผ้านั้นซ้ำกัน มองไปทิศทางซ้ายไปขวา คือค่าความกว้าง (Width) และในส่วนของแนวตั้ง (Height) จากจุดที่ลายผ้าซ้ำกัน เราก็จะได้ขนาดของ Repeat ผ้านั่นเอง
ความสำคัณของ Repeat คือ ในการตัดเย็บผ้าม่าน หรือผ้าบุโซฟาตัวใหญ่ ที่ต้องมีการต่อลายให้ลวดลายต่อเนื่องกัน ฉะนั้น การรู้ตัวเลขของระยะซ้ำของลายผ้านั้นก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะต้องใช้ในการคำนวนผ้าเพื่อให้ระยะการต่อลวดลายลงตัว
ในกรณีผ้าม่านที่ไม่มีลวดลายหรือเป็นเพียงเท็กเจอร์เล็กๆ ในลายผ้านั้น ก็จะไม่มีปัญหาในลายผ้าแต่อย่างใด เพราะลายนั้นมันเล็กเกินกว่าจะสังเกตุได้ว่าไม่ต่อเนื่องกัน
หลายคนที่เคยแต่งบ้าน แล้วสังเกตุการติดตั้งม่าน แล้วทำไมรู้สึกว่า บ้านตัวอย่าง หรือบ้านเพื่อนที่เราไปเที่ยวหา ทำไมผ้าม่านนั้นดูสวยลงตัว เป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้ดี สิ่งที่สำคัญคือ การดรอปฝ้า (Drop Ceiling) ซ่อนรางม่านและหัวม่านยังไงละ แต่สำหรับบางบ้านที่ไม่ได้วางแผนกับการดรอปฝ้าไว้ตั้งแต่แรก หรือไม่อยากรื้อให้เป็นเรื่องใหญ่ ก็มีวิธีการแก้ไขโดยการ เสริมกล่องบังราง (Curtain Cornice, Pelmet) แล้วทั้งสองอย่างนี้ เค้าเว้นระยะกันเท่าไหร่ ไปดูกันเลย
สำหรับลูกค้าบ้าน ถ้าต้องการดรอปฝ้า ควรปรึกษาเรื่องแบบบ้าน ตั้งแต่แรกก่อนสร้างบ้าน เพราะต้องกำหนดระยะความสูงจากพื้นถึงฝ้าตั้งแต่แรก เพราะถ้าไม่ได้กำหนดไว้ ในการปรับปรุงตกแต่งที่หลังอาจส่งผลให้ระดับฝ้าจะต่ำกว่าปกติ ทำให้รู้สึกอึดอัด งานส่วนนี้ ต้องปรึกษา และทำด้วยผู้รับเหมาตกแต่งบ้านที่เชี่ยวชาญ ร้านม่านโดยทั่วไปมักทำในส่วนนี้ไม่ได้ นะครับ
สำหรับงานเสริมกล่องบังรางนั้น เป็นงานเสริม เพิ่มความสวยงานโดยไม่ได้ไปยุ่งกับระดับของตัวฝ้าเพดานเดิม สามารถบอกทางร้านม่านเลยตั้งแต่แรกว่าต้องการทำสิ่งนี้ด้วย เพื่อง่ายต่อการคำนวนและเข้าวัดพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง และงานส่วนนี้ร้านม่านทั่วไปสามารถทำได้
โดยทั่วไปแล้วการตัดเย็บผ้าม่านสำหรับรางสไลด์ มักตัดเย็บกันในสองรูปแบบ 1. แบบคลาสสิกคือ ม่านสามจีบ 2. แบบโมเดิร์น คือแบบลอน S ซึ่งรูปแบบการตัดเย็บทั้งสองแบบมีผลกับการเว้นระยะห่างอย่างยิ่ง เพราะม่านสามจีบมีการเก็บช่วงลอนของม่านเป็นในรูปแบบจีบแล้ว ซึ่งจะทำให้กินระยะน้อยว่าม่านลอน S ที่มีช่วงลอนโค้งกินไปทางหน้าและหลังที่เท่าๆ กัน
แล้วการเว้นระยะห่างจากผนังถึงขอบของฝ้าเป็นระยะเท่าไหร่ หรือการเสริมกล่องม่านต้องเว้นเท่าไหร่ ก็ไปดูกันเลย
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ช่วยให้หลายท่านวางแผนในการออกแบบตกแต่งภายใน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผ้าม่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
งานคราฟต์ Craft โดยปกติแล้ว งานคราฟต์คือเป็นงานที่ใช้ฝีมือ มือมนุษย์ในการทำการผลิตชิ้นงานนั้นๆ ขึ้นมาโดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยากที่จะเรียนแบบด้วยระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม สำหรับเรื่องเกี่ยวกับผ้าแล้วงานคราฟต์ในวงการผ้า ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าโดยการใช้เทคนิคพิเศษ (Hand Weave) ในแต่ละท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการ มัดหมี่ ขิด จก ล้วง และก็ยังมีการคราฟต์อีกรูปแบบหนึ่งที่รูปแบบการทออาจไม่พิเศษมากนัก แต่จะเน้นที่เส้นด้ายที่มีความพิเศษ แสดงถึงความเป็นฝีมือคนทำ คือการไม่สมบูรณ์แบบ เส้นด้ายที่ออกมาจะมีความเป็นสลาฟ มีความไม่เท่ากัน เล็กใหญ่ ความไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นมนต์เสน่ห์สำคัญ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า ผ้าที่ผลิตด้วยการทอมือ ผ้าทอพื้นบ้าน นั้นจะมีความแข็งแรงน้อย (Tensile Strength) ความแน่นในการทอ (Density) ต่ำและไม่สม่ำเสมอ แม้ในวงการแฟชั่นเอง ยังมีการเสริมความแข็งแรงด้วยผ้ากาว ยิ่งถ้าในอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ การเอาผ้าเหล่านี้มาใช้เป็นผ้าเฟอร์นิเจอร์ หรือบุโซฟาตัวโปรดของคุณนั้น ยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ผ้าจะสั้นมาก เพราะผ้านั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรับสภาวะของการใช้งานอย่างหนัก อย่างผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไป ซึ่งปกติผ้าบุเฟอร์นอเจอร์ต้องมีการทดสอบการขัดถู (Abrasion Resistance) ตามมาตรฐานสากล
สำหรับคนที่โหยหามนต์เสน่ห์ของผ้าคราฟต์ มาเป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ วันนี้นิทัสเรามีผ้าบุเฟอร์เจอร์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สามารถผลิตเส้นด้ายให้มีความเหมือนกับเส้นด้ายปั่นด้วยมือ (Hand Spun) มีความเป็นสลาฟ เส้นเล็กใหญ่ แต่มีความแข็งแรง และเทคโนโลยีการทอที่ทันสมัยที่สามารถป้อนด้ายที่มีความไม่สม่ำเสมอเข้าในกระบวนการทอได้ ให้อารมณ์ของงานคราฟต์ได้อย่างเต็มเปี่ยม พร้อมด้วยความแข็งแรงของตัวเนื้อผ้า ที่ทุกตัวมีการทดสอบการขัดถู (Abrasion Resistance) ในมาตรฐานเดียวกับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไป
อีกทั้งคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ (Water Repellrnt) ที่เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผ้าของคุณไม่เปื้อนและเก่าง่าย ช่วยเพิ่มอายุการใช้งาน แต่ด้วยลักษณะของเนื้อผ้าที่มีเท็กเจอร์ของผ้าที่ไม่เรียบเนียน ตามสไตล์งานคราฟต์ ประสิทธิภาพของการสะท้อนน้ำนี้ก็จะมากน้อยแตกต่างกันไป
ผ้าของนิทัส ที่ให้อารมณ์แบบงานคราฟต์
ซึ่งในรูปถ่ายอยู่ในขนาด 15×15 เซนติเมตร