fbpx

ABRASION RESISTANCE & SNAGGING RESISTANCE ต่างกันอย่างไร

Snagging Resistance และ Abrasion Resistance เป็นคุณสมบัติสำคัญในการประเมินความทนทานของผ้าหรือวัสดุสิ่งทอ แต่มีจุดประสงค์ วิธีการวัด และความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

Snagging Resistance ความต้านทานต่อการเกิดการเกี่ยว

หมายถึง ความสามารถของผ้าในการต้านทานการเกิด การเกี่ยวดึง (Snags) ซึ่งเกิดจากด้ายหรือเส้นใยถูกเกี่ยวขึ้นมาจากพื้นผิวของผ้า รอยดึงมักเกิดจากการเสียดสีเฉพาะจุด เช่น การขูดกับวัตถุที่มีขอบแหลม หรือการเกี่ยวติดกับเครื่องประดับ มักใช้ในการทดสอบกับผ้าที่มีความเสี่ยงถูกเกี่ยว เช่น เสื้อผ้าที่ใช้ในงานปาร์ตี้ ผ้าม่าน ผ้าที่บุโซฟา หรือผ้าที่ต้องการความเรียบเนียน เป็นต้น

Abrasion Resistance (ความต้านทานต่อการขัดถู)

หมายถึง ความสามารถของผ้าในการทนต่อ การขัดถู (Abrasion) ที่เกิดจากการเสียดสีซ้ำๆ ระหว่างพื้นผิวของผ้ากับวัตถุอื่น เช่น การใช้งานในระยะยาว เช่น ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า มักใช้ในการทดสอบกับผ้าที่ต้องเผชิญแรงเสียดสีต่อเนื่อง เช่น ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่นั่งเสียดสีถูบ่อยครั้ง, เสื้อผ้ากีฬา เป็นต้น

ทั้ง Snagging Resistance และ Abrasion Resistance เป็นการประเมินความทนทานของผ้าต่อการสึกหรอ แต่เกิดจากปัจจัยที่ต่างกัน และใช้เป็นเกณฑ์ในการทดสอบสิ่งทอสำหรับการใช้งานที่ต้องเผชิญกับแรงกระทำภายนอก เช่น ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

ลักษณะSnagging ResistanceAbrasion Resistance
ลักษณะของแรงกระทำการเกี่ยวหรือดึงเฉพาะจุดการเสียดสีซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
ผลที่เกิดขึ้นเส้นด้ายหรือเส้นใยถูกดึงขึ้นจากพื้นผิวพื้นผิวสึกหรอ สูญเสียเนื้อผ้า หรือขาด
ประเภทของความเสียหายการเกี่ยวดึง (Snagging)การสึกหรอหรือรอยขาด
ความสำคัญในการใช้งานผ้าบุที่ใช้ตกแต่งที่ต้องการความเรียบเนียน หรือใช้ร่วมกับสัตว์เลี้ยงผ้าบุที่ใช้งานหนัก เช่น โซฟา

วิธีการทดสอบ

Snagging Resistance

การทดสอบ Snagging Resistance มาตรฐานที่ใช้ BS 8479:2008  Textiles – Method for determination of propensity of fabrics to snagging – Rotating chamber method (BS 8479:2008 หมวดสิ่งทอ – วิธีการทดสอบความโน้มเอียงของผ้าต่อการเกิดขุยและรอยเกี่ยว – ด้วยวิธีการห้องหมุน) หรือมาตรฐานอื่นๆ เช่น ASTM D3939 Standard Test Method for Snagging Resistance of Fabrics (Mace)

วิธีการ: Rotating Chamber Method

  1. ตัวอย่างผ้าถูกตัดตามขนาดที่กำหนด
  2. ใส่ตัวอย่างในเครื่องหมุน (Rotating Chamber) ที่มีวัตถุขรุขระเพื่อสร้างการเกี่ยวหรือขูด
  3. หมุนเครื่องที่รอบกำหนด (เช่น 2000 รอบ)
  4. ประเมินรอยดึงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโดยการให้คะแนน (Grade 1-5)
    • Grade 5: ไม่มีรอยดึง
    • Grade 1: เกิดรอยดึงอย่างรุนแรง
  5. ระบุประเภทของรอยดึง เช่น Snagging (Defect Type A)

อ่านบทความการทดสอบโดยละเอียดไดที่ https://www.nitas-tessile.com/snagging-resistance/

Abrasion Resistance

การทดสอบ Abrasion Resistance มาตรฐานที่ใช้ ISO 12947 Textiles — Determination of the abrasion resistance of fabrics by the Martindale method (ISO 12947 หมวดสิ่งทอ — การทดสอบความต้านทานการขัดถูของผ้าโดยวิธี Martindale)

วิธีการ: Martindale Abrasion Test

  1. ตัดตัวอย่างผ้าตามขนาดที่กำหนด
  2. ติดตั้งตัวอย่างบนเครื่องทดสอบ Martindale
  3. ใช้จานหมุนที่มีน้ำหนักกดลงบนผ้าในลักษณะวงกลมซ้ำๆ
  4. วัดจำนวนรอบที่ทำให้ผ้าสึกจนเสียหาย หรือจนผิวผ้าเริ่มหลุดลอก
  5. ผลลัพธ์มักระบุเป็น จำนวนรอบ (cycles) เช่น 10,000 cycles หมายถึงผ้าทนต่อการขัดถูได้ 10,000 รอบก่อนจะเสียหาย

สรุป

  • Snagging Resistance เน้นวัดความสามารถในการต้านทานการเกี่ยวหรือดึงเส้นด้ายบนพื้นผิว
  • Abrasion Resistance เน้นวัดความสามารถในการต้านทานการขัดถูหรือการสึกของผ้า

ถ้าคุณตามหาผ้าที่มีคุณบัติ Snagging Resistance สำหรับบุโซฟาเพื่อสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก อยู่ร่วมกับเฟอร์นิเจอร์หรือโซฟาตัวโปรดของคุณได้ นิทัสเราแนะนำผ้า 2 ตัวนี้ 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI อ่านเนื้อหาว่าทำไมผ้าสองตัวนี้ถึงมีคุณสมบัติ และแนะนำสำหรับคุณเลี้ยงสัตว์ ได้ที่นี้


Snagging Resistance คืออะไร

ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance)

ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance) ผ้าต้องทนต่อการขีดข่วนจากเล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง อ้างอิงการทดสอบมาตรฐาน BS 8479:2008 Textiles – Method for determination of propensity of fabrics to snagging – Rotating chamber method

BS 8479:2008 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบความต้านทานของผ้าต่อการเกิด “Snagging” (การเกี่ยวหรือการดึงผิวของผ้า) โดยใช้ “Rotating Chamber Method” หรือวิธีการทดสอบในห้องหมุน ซึ่งทดสอบผ้าโดยจำลองสถานการณ์ที่วัสดุมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเกี่ยวหรือการดึงผ้า

BS 8479:2008: มาตรฐานนี้เน้นการทดสอบความทนทานของผ้าต่อการขีดข่วนและการเสียดสี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาผ้าสำหรับสัตว์เลี้ยง หากผ้าผ่านมาตรฐานนี้จะหมายถึงผ้าสามารถทนต่อการเกี่ยวขีดข่วนได้ดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผ้า Pet-Lover ของนิทัส

อ้างอิงการทดสอบกับการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยง

การทดสอบตามมาตรฐาน BS 8479:2008 สามารถอ้างอิงการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยงได้ ในแง่ของการจำลองการเกี่ยวดึงผิวผ้า แต่ไม่ใช่การเลียนแบบการข่วนของเล็บโดยตรง เนื่องจากการทดสอบในห้องหมุนเน้นการสร้างแรงเสียดสีและแรงดึงในระดับทั่วไปเพื่อดูผลการเกี่ยวที่เกิดขึ้น

เล็บของสัตว์เลี้ยง เช่น แมวหรือสุนัข อาจสร้างแรงเฉพาะทางที่ต่างจากการทดสอบนี้ เนื่องจากเล็บสัตว์มีความแหลมคมและการข่วนมักมีความรุนแรงกว่าการเกี่ยวทั่วไปในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดเบื้องต้นของความทนทานต่อการข่วนหรือการเกี่ยวที่เกิดจากเล็บสัตว์ได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผ้าถูกสัมผัสซ้ำๆ กับแรงเสียดสี

หลักการทดสอบ

เครื่องมือที่ใช้: ผ้าจะถูกนำไปใส่ในห้องทดสอบหมุน (Rotating Chamber) ซึ่งมีปุ่มหรือสิ่งกีดขวางที่ทำหน้าที่เลียนแบบการเกี่ยวดึงบนพื้นผิวผ้า

วิธีการทดสอบ

  1. ตัวอย่างผ้าจะถูกใส่ลงในห้องหมุนที่มีอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแรงดึงและการเกี่ยวบนผิวผ้า
  2. ห้องจะหมุนในอัตราความเร็วที่กำหนดและความถี่การหมุนตามมาตรฐาน ซึ่งผ้าจะถูกเสียดสีกับอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
  3. หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น ผ้าจะถูกนำออกมาเพื่อตรวจสอบการเกิดการเกี่ยวและความเสียหายที่เกิดขึ้น
หน้าตาของเครื่องทดสอบ PILLING & SNAGGING TESTER
ภายในกล่องทดสอบทรงปริซึม 8 เหลี่ยม จะประกอบด้วยชิ้นผ้าตัวอย่างที่พับแกนทรงกระบอก และเหล็กแหลมวางเป็นแถวยาว ทั้งหมด 4 ด้านจากกล่องทดสอบ

หลักการทดสอบผ้าจะถูกนำไปใส่ในห้องทดสอบหมุน (Rotating Chamber) ภายในกล่องทดสอบ จะประกอบด้วยชิ้นผ้าตัวอย่างที่พับแกนทรงกระบอก และในกล่องทดสอบจะมีเหล็กแหลมทั้งหมด 20 เล็ม วางเป็นแถวยาว ทั้งหมด 4 ด้านจากกล่องทดสอบ ปริซึม 8 เหลี่ยม ซึ่งสิ่งนี้เป็นการทำหน้าที่เลียนแบบการเกี่ยวดึงบนพื้นผิวผ้า โดยการทดสอบจะหมุนในอัตรา 60 รอบ ต่อ นาที โดยหมุนทั้งหมด 2,000 รอบ หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น ผ้าจะถูกนำออกมาเพื่อตรวจสอบการเกิดการเกี่ยวและความเสียหายที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30054 MACHU PICCHU 

ตัวอย่างผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30055 SERENGETI

เกณฑ์การให้คะแนน (Snagging Scale)

ตารางที่ 1 การจัดเกรด

Grade
เกรด
Description
คำอธิบาย
Appearance
ลักษณะที่ปรากฏ
5None
ไม่มี
No snags or other surface defects
ไม่เกิดการเกี่ยว หรือไม่พบข้อบกพร่องของพื้นผิวเลย
4Slight
เล็กน้อย
Snags or other surface defects in isolated areas
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้าขึ้นเล็กน้อย หรือมีข้อบกพร่องของพื้นผิวขึ้นเล็กน้อย
3Moderate
ปานกลาง
Snags or other surface defects partially covering the surface
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือพบข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วน
2Distinct
เด่นชัด
Snags or other surface defects covering a large proportion of the surface
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่
1Severe
รุนแรง
Snags or other surface defects covering the entire surface
เกิดการเกี่ยวผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมทั้งหมด

ในการทดสอบ ถ้าได้เกรด 5 แปลว่าไม่มีการเกี่ยวของพิ้นผิวเลย แต่ถ้าผลทดสอบได้เกรดต่ำกว่านั้น ต้องมาเปรียบเทียบลักษณะการเกี่ยวตามตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ 2 การจำแนกข้อบกพร่องของพื้นผิว

ประเภทข้อบกพร่องDefect description
คำอธิบายข้อบกพร่อง
ASnagging “สแนก-กิ้ง”
เกิดการเกี่ยว เป็นลักษณะห่วงของเส้นใยบนพื้นผิว
BProtrusions  “โพร-ทรู-ชันส์
เกิดการเกี่ยวโดยมีเส้นด้สยหรือเส้นใยยื่นออกมาบนผิวผ้าอย่างเด่นชัด
CIndentations  “อิน-เดน-เท-ชันส์”
เกิดการเกี่ยวทำให้ลักษณะผิวผ้าเป็นรู และทำให้ผิวมีการบิดเบี้ยว
DShiners, pulled threads or other distortions of the fabric structure, occurring in close proximity to snag loops and/or not associated with any snag loop
เกิดการเกี่ยวที่ทำเส้นด้ายถูกดึง สร้างความบิดเบี้ยวให้เห็นตลอดแนวโครงสร้างผ้า
EVisible defects due to colour contrasts in printed fabrics, colour woven, or colour knitted fabrics.
พบข้อบกพร่องในความแตกต่างของสีผ้า ที่มองเห็นได้ ในผ้าพิมพ์, ผ้าทอและผ้าถักที่มีสีสัน
FFilamentation  “ฟิ-ลา-เมน-เท-ชัน”
เกิดการเกี่ยวเส้นใยอย่างรุนแรงจนทำให้เส้นใยขาด ขึ้นแป็นขนบนพื้นผิวผ้า
GAny other defects specific to the fabric type and which detract from the original surface appearance. A description shall be included in the test report
เกิดข้อบกพร่องอื่นๆ ที่เฉพาะเจาะจง ของแต่ละประเภทของผ้า และที่ทำให้สูญเสียลักษณะผิวเดิม รายละเอียดควรถูกรวมไว้ในรายงานการทดสอบ
Xไม่มีข้อบกพร่องของพื้นผิวที่มองเห็นได้

แปลผลการทดสอบที่ได้ ตามมาตรฐาน BS 8479:2008 

  • ตัวอย่างทดสอบ Warp (ด้ายยืน) และ Weft (ด้ายพุ่ง) หลังจากหมุน 2000 รอบ
    • Warp 1 และ Warp 2: คะแนน 4-5, Defect Type = A (Snagging), จำนวนการเกิด Snags: 1-2
    • Weft 1 และ Weft 2: คะแนน 4-5, Defect Type = A, จำนวน Snags: 4-5
    • ค่าเฉลี่ยรวม: Mean of Four Specimens = 4-5

Defect Type = A แปลว่าเกิดการดึงด้ายหรือการเกิดรอย (Snagging) บนผิวผ้า

แปลผลค่าคะแนน (Grading System)

  • Grade 5: ไม่มีรอยดึง หรือข้อบกพร่องใดๆ
  • Grade 4: รอยดึงหรือข้อบกพร่องเกิดขึ้นเฉพาะจุดเล็กๆ บนพื้นผ้า

ดังนั้น การให้คะแนน 4-5 หมายความว่า ตัวอย่างผ้ามีคุณภาพดีมาก มีเพียง ข้อบกพร่องเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลยในบางส่วน

การวิเคราะห์ผล

  • Warp (แนวยืน): คะแนน 4-5 และจำนวน Snags ต่ำมาก (1-2 จุด) แสดงให้เห็นว่าผ้ามีความต้านทานต่อการเกิด Snagging ได้ดีในทิศทางนี้
  • Weft (แนวนอน): คะแนน 4-5 แต่จำนวน Snags สูงกว่า (4-5 จุด) แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มเกิดการดึงด้ายมากกว่าในแนวนอน
  • Mean Grade: ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 ซึ่งถือว่าผ้าทดสอบผ่านเกณฑ์ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม

สรุปผลการทดสอบ

ผ้าทั้งสองตัว 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI

  • Grade 4-5: สะท้อนว่าผ้าผ่านมาตรฐานและมีคุณภาพดี
  • Defect Type A: ระบุข้อบกพร่องที่เกิดจากการดึงด้าย (Snagging) ซึ่งเป็นลักษณะปกติในการทดสอบชนิดนี้

สามารถดูเล่มตัวอย่างได้ที่ https://www.nitas-tessile.com/meawww-collection/


ตัวอย่างวีดีโอของแล็บการทดสอบของต่างประเทศที่ทดสอบ มาตรฐาน BS 8479:2008


ความแตกต่างของ PILLING & SNAGGING

PILLING

การพิลลิ่ง (Pilling) คือการเกิดก้อนเล็ก ๆ ของเส้นใยที่พันกันบนพื้นผิวของผ้า ซึ่งเป็นผลจากการเสียดสีและการใช้งานที่ทำให้เส้นใยผ้าบนพื้นผิวหลุดออกมาแล้วพันกันจนเกิดเป็นก้อนเล็ก ๆ การพิลลิ่งส่งผลให้ผ้าดูเก่าและไม่สวยงาม ทำให้ผู้บริโภคมองว่าเป็นการเสื่อมสภาพของผ้า

สาเหตุของการพิลลิ่ง

  • ประเภทของเส้นใย: เส้นใยสังเคราะห์ (เช่น โพลีเอสเตอร์และไนลอน) มีแนวโน้มที่จะเกิดพิลลิ่งมากกว่าเส้นใยธรรมชาติ เนื่องจากความแข็งแรงของเส้นใยที่ไม่หลุดออกง่ายเมื่อถูกเสียดสี
  • การเสียดสี: การถูหรือเสียดสี เช่น จากการซักหรือการใช้งานทั่วไป ทำให้เส้นใยบนผิวผ้าหลุดออกมาและพันกันเป็นก้อน
  • การปั่นด้ายและการทอผ้า: ลักษณะของการปั่นด้ายและการทอที่หลวมสามารถทำให้เส้นใยหลุดออกจากผ้าสะดวกขึ้นและเกิดการพิลลิ่งได้ง่าย

วิธีการป้องกันและแก้ไขการพิลลิ่ง

  • การเลือกเส้นใยที่เหมาะสม: การใช้เส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย หรือเส้นใยผสมที่มีความยาวและแข็งแรง จะช่วยลดการเกิดพิลลิ่งได้
  • การออกแบบผ้า: การปั่นเส้นด้ายที่แน่นและการทอที่หนาแน่นขึ้นสามารถลดโอกาสการเกิดพิลลิ่งได้
  • การดูแลรักษาผ้า: การซักผ้าอย่างระมัดระวัง เช่น การใช้ถุงซักผ้า หรือลดความถี่ในการซัก จะช่วยลดการเสียดสีและการพิลลิ่ง
  • การกำจัดพิลลิ่ง: การใช้เครื่องกำจัดพิลลิ่ง (Pilling Remover) สามารถใช้ลบก้อนพิลลิ่งที่เกิดขึ้นบนผ้าได้

การพิลลิ่งเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในผ้าหลายชนิด แต่สามารถลดหรือแก้ไขได้ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมและดูแลรักษาผ้าอย่างถูกวิธี


SNAGGING

การขีดข่วนหรือการเกี่ยวดึง (Snagging) หมายถึงความเสียหายที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของผ้า เช่น การเกิดห่วงหรือการขาดเส้นด้าย ซึ่งทำให้เกิดรอยหรือการพันกันของเส้นใย โดยปกติแล้วมักเกิดจากการที่ผ้าไปติดกับวัตถุมีคมหรือแข็ง เช่น เล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยงอย่างแมว การขีดข่วนจากแมวถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้ผ้าถูกดึงจนเกิดห่วงหรือความเสียหายบนพื้นผิวผ้าได้อย่างชัดเจน

สาเหตุของการขีดข่วน

1. การเสียดสีจากวัตถุแหลมคม: เล็บหรือกรงเล็บของสัตว์ เช่น แมว หรือการไปเกี่ยวกับสิ่งของมีคม สามารถทำให้เส้นด้ายในผ้าขาดหรือหลุดออก ทำให้เกิดห่วงหรือความเสียหายที่พื้นผิว

2. การเลือกวัสดุที่ไม่ทนต่อการขีดข่วน: ผ้าที่มีเส้นใยยาวหรือไม่ทนทาน เช่น ผ้าถักบางชนิด มีแนวโน้มที่จะเกิดการขีดข่วนได้ง่ายกว่าผ้าที่มีการทอแน่นหรือใช้เส้นใยที่แข็งแรง

3. การใช้ผ้าที่สัมผัสกับวัตถุที่แข็งบ่อยๆ: ผ้าที่ถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ผ้าบนโซฟา หรือที่นอนสัตว์เลี้ยง อาจเกิดการขีดข่วนได้ง่ายจากการสัมผัสซ้ำๆ

วิธีการป้องกันและแก้ไขการขีดข่วน

1. การเลือกใช้ผ้าที่ทนทาน: การเลือกผ้าที่มีความทนทาน เช่น ผ้าโพลีเอสเตอร์หรือผ้าหนังสังเคราะห์ ที่มีความทนต่อการขีดข่วนได้มากกว่าผ้าถักหรือผ้าเส้นใยธรรมชาติที่บอบบาง

2. ป้องกันสัตว์เลี้ยงจากการข่วน: การตัดเล็บสัตว์เลี้ยงหรือฝึกให้สัตว์เลี้ยงใช้ที่ลับเล็บสามารถช่วยลดโอกาสการขีดข่วนผ้าได้

3. การซ่อมแซมผ้า: หากเกิดการขีดข่วนแล้ว การใช้เครื่องมือพิเศษหรือมือในการดึงเส้นด้ายกลับเข้าที่ หรือการซ่อมแซมผ้าด้วยการเย็บจะช่วยแก้ไขปัญหาได้

4. การใช้อุปกรณ์เสริม: สามารถใช้ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์หรือตัวป้องกันการขีดข่วน เช่น แผ่นป้องกันที่ทำจากวัสดุแข็งหรือแผ่นยาง เพื่อลดโอกาสที่ผ้าจะถูกขีดข่วน

การขีดข่วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่ทนทานและการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม

ถ้าคุณตามหาผ้าที่มีคุณบัติ Snagging Resistance สำหรับบุโซฟาเพื่อสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก อยู่ร่วมกับเฟอร์นิเจอร์หรือโซฟาตัวโปรดของคุณได้ นิทัสเราแนะนำผ้า 2 ตัวนี้ 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI อ่านเนื้อหาว่าทำไมผ้าสองตัวนี้ถึงมีคุณสมบัติ และแนะนำสำหรับคุณเลี้ยงสัตว์ ได้ที่นี้


PET-LOVER FABRICS ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์สำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง

ผ้า Pet-Friendly ในที่นี้เราจะใช้ความว่า ผ้า Pet-Lover หมายถึงผ้าที่ออกแบบมาเพื่อทนทานต่อการใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัข โดยเน้นความแข็งแรง ทนต่อการขีดข่วน การเสียดสี และทนทานต่อคราบสกปรกหรือขนสัตว์ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง คุณสมบัติสำคัญของผ้า Pet-Lover ได้แก่:

  • ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance): ผ้าต้องทนต่อการขีดข่วนจากเล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง
  • ทนต่อคราบและทำความสะอาดง่าย (Stain Resistance): ผ้าที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เก็บคราบหรือสิ่งสกปรก เช่น ผ้าที่เคลือบสารสะท้อนน้ำ Water Repellent ช่วยให้ผ้าที่สามารถกันน้ำหรือของเหลวได้ดีจะช่วยลดคราบจากการหกหรืออุบัติเหตุของสัตว์เลี้ยง
  • ทนทานต่อการสะสมขนสัตว์ (Low Hair Retention): ผ้าที่ไม่ดึงดูดหรือเก็บขนสัตว์ได้ง่าย ซึ่งช่วยลดปัญหาการสะสมของขนบนเฟอร์นิเจอร์
  • ทนต่อการสึกหรอ (Durability) ผ้าที่แข็งแรงและทนทาน ไม่ฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพง่ายจากการใช้งานหนัก ทดสอบด้วยค่า ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance ผ้าต้องทนทานต่อการใช้งานหนัก ซึ่งการทดสอบ Martindale ที่ได้ผลมากกว่า 35,000 รอบ ก็ถือว่าสามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้ บ่งบอกว่าผ้ามีความทนทานสูง
  • ความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง (Non-Toxic): ผ้าควรปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

แล้วผ้านิทัสมีรหัสใดบ้าง

30054 MACHU PICCHU
30055 SERENGETI

ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance)

ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance) ผ้าต้องทนต่อการขีดข่วนจากเล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง นิทัสเราอ้างอิงการทดสอบมาตรฐาน BS 8479:2008 Textiles – Method for determination of propensity of fabrics to snagging – Rotating chamber method

BS 8479:2008 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบความต้านทานของผ้าต่อการเกิด “Snagging” (การเกี่ยวหรือการดึงผิวของผ้า) โดยใช้ “Rotating Chamber Method” หรือวิธีการทดสอบในห้องหมุน ซึ่งทดสอบผ้าโดยจำลองสถานการณ์ที่วัสดุมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเกี่ยวหรือการดึงผ้า

BS 8479:2008: มาตรฐานนี้เน้นการทดสอบความทนทานของผ้าต่อการขีดข่วนและการเสียดสี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาผ้าสำหรับสัตว์เลี้ยง หากผ้าผ่านมาตรฐานนี้จะหมายถึงผ้าสามารถทนต่อการเกี่ยวขีดข่วนได้ดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผ้า Pet-Lover

อ้างอิงการทดสอบกับการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยง

การทดสอบตามมาตรฐาน BS 8479:2008 สามารถอ้างอิงการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยงได้ ในแง่ของการจำลองการเกี่ยวดึงผิวผ้า แต่ไม่ใช่การเลียนแบบการข่วนของเล็บโดยตรง เนื่องจากการทดสอบในห้องหมุนเน้นการสร้างแรงเสียดสีและแรงดึงในระดับทั่วไปเพื่อดูผลการเกี่ยวที่เกิดขึ้น

เล็บของสัตว์เลี้ยง เช่น แมวหรือสุนัข อาจสร้างแรงเฉพาะทางที่ต่างจากการทดสอบนี้ เนื่องจากเล็บสัตว์มีความแหลมคมและการข่วนมักมีความรุนแรงกว่าการเกี่ยวทั่วไปในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดเบื้องต้นของความทนทานต่อการข่วนหรือการเกี่ยวที่เกิดจากเล็บสัตว์ได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผ้าถูกสัมผัสซ้ำๆ กับแรงเสียดสี

หลักการทดสอบ

เครื่องมือที่ใช้: ผ้าจะถูกนำไปใส่ในห้องทดสอบหมุน (Rotating Chamber) ซึ่งมีปุ่มหรือสิ่งกีดขวางที่ทำหน้าที่เลียนแบบการเกี่ยวดึงบนพื้นผิวผ้า

วิธีการทดสอบ

  1. ตัวอย่างผ้าจะถูกใส่ลงในห้องหมุนที่มีอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแรงดึงและการเกี่ยวบนผิวผ้า
  2. ห้องจะหมุนในอัตราความเร็วที่กำหนดและความถี่การหมุนตามมาตรฐาน ซึ่งผ้าจะถูกเสียดสีกับอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
  3. หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น ผ้าจะถูกนำออกมาเพื่อตรวจสอบการเกิดการเกี่ยวและความเสียหายที่เกิดขึ้น
หน้าตาของเครื่องทดสอบ PILLING & SNAGGING TESTER
ภายในกล่องทดสอบ จะประกอบด้วยชิ้นผ้าตัวอย่างที่พับแกนทรงกระบอก และสังเกตุว่าในกล่องทดสอบจะมีเหล็กแหลมวางเป็นแถวยาว ทั้งหมด 4 ด้านจากกล่องทดสอบ ปริซึม 8 เหลี่ยม โดยการทดสอบจะหมุนในอัตรา 60รอบ ต่อ นาที โดยหมุนทั้งหมด 2000 รอบ

ผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30054 MACHU PICCHU 

ผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30055 SERENGETI

เกณฑ์การให้คะแนน (Snagging Scale)

ตารางที่ 1 การจัดเกรด

Grade
เกรด
Description
คำอธิบาย
Appearance
ลักษณะที่ปรากฏ
5None
ไม่มี
No snags or other surface defects
ไม่เกิดการเกี่ยว หรือไม่พบข้อบกพร่องของพื้นผิวเลย
4Slight
เล็กน้อย
Snags or other surface defects in isolated areas
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้าขึ้นเล็กน้อย หรือมีข้อบกพร่องของพื้นผิวขึ้นเล็กน้อย
3Moderate
ปานกลาง
Snags or other surface defects partially covering the surface
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือพบข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วน
2Distinct
เด่นชัด
Snags or other surface defects covering a large proportion of the surface
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่
1Severe
รุนแรง
Snags or other surface defects covering the entire surface
เกิดการเกี่ยวผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมทั้งหมด

ในการทดสอบ ถ้าได้เกรด 5 แปลว่าไม่มีการเกี่ยวของพิ้นผิวเลย แต่ถ้าผลทดสอบได้เกรดต่ำกว่านั้น ต้องมาเปรียบเทียบลักษณะการเกี่ยวตามตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ 2 การจำแนกข้อบกพร่องของพื้นผิว

ประเภทข้อบกพร่องDefect description
คำอธิบายข้อบกพร่อง
ASnagging “สแนก-กิ้ง”
เกิดการเกี่ยว เป็นลักษณะห่วงของเส้นใยบนพื้นผิว
BProtrusions  “โพร-ทรู-ชันส์
เกิดการเกี่ยวโดยมีเส้นด้สยหรือเส้นใยยื่นออกมาบนผิวผ้าอย่างเด่นชัด
CIndentations  “อิน-เดน-เท-ชันส์”
เกิดการเกี่ยวทำให้ลักษณะผิวผ้าเป็นรู และทำให้ผิวมีการบิดเบี้ยว
DShiners, pulled threads or other distortions of the fabric structure, occurring in close proximity to snag loops and/or not associated with any snag loop
เกิดการเกี่ยวที่ทำเส้นด้ายถูกดึง สร้างความบิดเบี้ยวให้เห็นตลอดแนวโครงสร้างผ้า
EVisible defects due to colour contrasts in printed fabrics, colour woven, or colour knitted fabrics.
พบข้อบกพร่องในความแตกต่างของสีผ้า ที่มองเห็นได้ ในผ้าพิมพ์, ผ้าทอและผ้าถักที่มีสีสัน
FFilamentation  “ฟิ-ลา-เมน-เท-ชัน”
เกิดการเกี่ยวเส้นใยอย่างรุนแรงจนทำให้เส้นใยขาด ขึ้นแป็นขนบนพื้นผิวผ้า
GAny other defects specific to the fabric type and which detract from the original surface appearance. A description shall be included in the test report
เกิดข้อบกพร่องอื่นๆ ที่เฉพาะเจาะจง ของแต่ละประเภทของผ้า และที่ทำให้สูญเสียลักษณะผิวเดิม รายละเอียดควรถูกรวมไว้ในรายงานการทดสอบ
Xไม่มีข้อบกพร่องของพื้นผิวที่มองเห็นได้

ตัวอย่างวีดีโอของแล็บการทดสอบของต่างประเทศที่ทดสอบ มาตรฐาน BS 8479:2008


ความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง (Non-Toxic): ผ้าควรปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

ความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง (Non-Toxic): ผ้าควรปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ด้วยมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100: มาตรฐานนี้รับรองว่าผ้าไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ผ้าที่ผ่านมาตรฐานนี้จะปลอดภัยต่อการสัมผัสและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงเหมาะสำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ซึ่งแน่นอนว่า ผ้า 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI ของนิทัสได้รับมาตารฐาน นี้ด้วยเช่นกัน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง OEKO-TEX Standard 100 คลิ๊ก


ทนต่อคราบและทำความสะอาดง่าย (Stain Resistance): ผ้าที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เก็บคราบหรือสิ่งสกปรก

WATER REPELLENT

ผ้านิทัสทั้งสองตัวนี้ 30054 MACHU PICCHU และ 30055 SERENGETI มีการเคลือบสารสะท้อนน้ำ Water Repellent ช่วยให้ผ้าที่สามารถกันน้ำหรือของเหลวได้ดีจะช่วยลดคราบจากการหกหรืออุบัติเหตุของสัตว์เลี้ยง ซึ่งแน่นอนว่า ผ้า 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI ของนิทัส ผ่านการทดสอบ และมีคุณสมบัติสะท้อนด้วยเช่นกัน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง Water Repellent คลิ๊ก


ทนต่อการสึกหรอ (Durability): ผ้าที่แข็งแรงและทนทาน ไม่ฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพง่ายจากการใช้งานหนัก

ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance) ผ้าต้องทนทานต่อการใช้งานหนัก ซึ่งการทดสอบ Martindale ที่ได้ผลมากกว่า 35,000 รอบ ก็ถือว่าสามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้ บ่งบอกว่าผ้ามีความทนทานสูง ซึ่งแน่นอนว่า ผ้า 30054 MACHU PICCHU มีผลการทดสอบสูงถึง >100,000 รอบ และ 30055 SERENGETI มีผลการทดสอบสูงถึง 80,000 รอบ ทำให้ไว้วาใจได้เลยว่าผ้าที่สองตัวมีความทนทานอย่างแน่นอน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง Abrasion Resistance คลิ๊ก


การที่ผ้าผ่านมาตรฐาน BS 8479:2008 หมายถึงผ้ามีความทนทานต่อการขีดข่วนและการเกี่ยว ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ หากผ้าผ่านการรับรองมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 จะเป็นการรับประกันความปลอดภัยจากสารเคมี ทำให้ผ้าปลอดภัยต่อการสัมผัสทั้งสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง และยังผ่านการทดสอบ ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance) สูงมากกว่า 80,00 รอบ ซึ่งเป็นตัวเลขบงบอกว่าสามารถใช้ผ้านี้บุเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในพื้นที่สาธารณะได้แล้ว พร้อมทั้งคุณสมบัติสะท้อน ที่ช่วยให้เราสามารถ เช็ดทำความสะอาดผ้าได้ทัน ก่อนที่คราบสกปรกจะซึมลงผิวผ้า ช่วยยืดอายุการใช้งาน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ทำผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ให้กับสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักขอคุณ


ผ้าม่านสีอะไร? ส่งเสริมธาตุปีเกิดของคุณ

การหาธาตุของคนตามหลักฮวงจุ้ยหรือศาสตร์จีน โดยใช้ปีเกิดเป็นหลักนั้นสามารถทำได้โดยอิงจากปฏิทินจีนและระบบธาตุทั้งห้า โดยแต่ละปีในปฏิทินจีนจะถูกกำหนดด้วยธาตุ

หาปีเกิดในปฏิทินจีน: ปีเกิดตามปฏิทินจีนมักเริ่มช่วงปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากปีใหม่จีนไม่ได้เริ่มในวันที่ 1 มกราคมเหมือนปฏิทินสากล ถ้าเกิดช่วงก่อนปีใหม่จีน ต้องตรวจสอบว่าตกปีไหนในปฏิทินจีน

  • ปี พุทธศักราช ลงท้ายด้วย 9 หรือ 0: ธาตุ ไฟ
  • ปี พุทธศักราช ลงท้ายด้วย 1 หรือ 2: ธาตุ ดิน
  • ปี พุทธศักราช ลงท้ายด้วย 3 หรือ 4: ธาตุ โลหะ
  • ปี พุทธศักราช ลงท้ายด้วย 5 หรือ 6: ธาตุ น้ำ
  • ปี พุทธศักราช ลงท้ายด้วย 7 หรือ 8: ธาตุ ไม้

ในหลักฮวงจุ้ยและธาตุทั้งห้า มีความสัมพันธ์แบบส่งเสริมกัน ซึ่งเรียกว่า “วัฏจักรการส่งเสริม” (Cycle of Generation) หรือ “วัฏจักรการเจริญเติบโต” การที่ธาตุหนึ่งส่งเสริมธาตุอีกธาตุหนึ่งนั้นสร้างสมดุลและพลังบวกในธรรมชาติ ความสัมพันธ์นี้อธิบายได้ดังนี้:

  • ไฟส่งเสริมดิน เมื่อไฟเผาผลาญสิ่งต่าง ๆ จะทิ้งขี้เถ้าหรือสิ่งตกค้าง ซึ่งกลายเป็นดิน ดังนั้นไฟจึงสร้างดิน
  • ดินส่งเสริมโลหะ โลหะและแร่ธาตุต่าง ๆ เกิดขึ้นจากในดิน ดินเป็นแหล่งกำเนิดโลหะ
  • โลหะส่งเสริมน้ำ โลหะมีคุณสมบัติในการควบแน่นหรือเป็นแหล่งที่มาของน้ำในทางธรรมชาติ เช่น น้ำค้างบนพื้นผิวโลหะ
  • น้ำส่งเสริมไม้ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ต้นไม้เติบโตและงอกงาม
  • ไม้ส่งเสริมไฟ ไม้เป็นเชื้อเพลิงให้ไฟลุกไหม้ได้ เมื่อมีไม้มาก ไฟจะลุกโชนมากขึ้น

วัฏจักรนี้แสดงถึงการหมุนเวียนของพลังงานในลักษณะที่ส่งเสริมกัน ช่วยสร้างสมดุลและความเจริญเติบโตของพลังงานในธรรมชาติ

ในหลักฮวงจุ้ยและธาตุทั้งห้า นอกจากความสัมพันธ์แบบส่งเสริมกันแล้ว ยังมีความสัมพันธ์แบบทำลายกันด้วย ซึ่งเรียกว่า “วัฏจักรการทำลาย” (หรือ “Cycle of Destruction”) ความสัมพันธ์นี้อธิบายถึงการที่ธาตุหนึ่งสามารถข่มหรือทำลายอีกธาตุหนึ่งได้ มีรายละเอียดดังนี้:

  • ไฟทำลายโลหะ ไฟสามารถหลอมโลหะให้ละลายหรือเปลี่ยนรูปได้ จึงถือว่าไฟทำลายโลหะ
  • โลหะทำลายไม้ เครื่องมือโลหะ เช่น ขวานหรือเลื่อย สามารถตัดไม้ได้ จึงถือว่าโลหะทำลายไม้
  • ไม้ทำลายดิน รากของต้นไม้สามารถชอนไชและดูดซับธาตุอาหารจากดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ จึงถือว่าไม้ทำลายดิน
  • ดินทำลายน้ำ ดินสามารถกักเก็บน้ำหรือดูดซับน้ำ ทำให้น้ำไหลไปได้ช้าลงหรือหายไป จึงถือว่าดินทำลายน้ำ
  • น้ำทำลายไฟ น้ำสามารถดับไฟได้ จึงถือว่าเป็นธาตุที่ข่มหรือทำลายไฟ

ความสัมพันธ์เหล่านี้ช่วยสร้างสมดุลในธรรมชาติและในศาสตร์ฮวงจุ้ย โดยแสดงให้เห็นถึงการหมุนเวียนของพลังงานในลักษณะของการข่มกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการวางแผนและปรับสมดุลในสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับพลังงานของธาตุต่าง ๆ

ในหลักฮวงจุ้ย ธาตุทั้งห้ามีสีประจำตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของพลังงานธาตุนั้น ๆ โดยสีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การตกแต่ง หรือการเลือกสีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานธาตุในชีวิตประจำวัน ดังนี้:

  • ธาตุไฟ (火 – Huǒ) สี: สีแดง, สีส้ม, สีม่วง, และ สีชมพู สื่อถึงความอบอุ่น ความกระตือรือร้น ความร้อนแรง และความมีพลัง
  • ธาตุดิน (土 – Tǔ) สี: สีเหลือง, สีครีม, และ สีน้ำตาลอ่อน สื่อถึงความมั่นคง ความหนักแน่น และความอุดมสมบูรณ์
  • ธาตุโลหะ (金 – Jīn) สี: สีขาว, สีเทา, และ สีเงิน สื่อถึงความแข็งแกร่ง ความชัดเจน ความบริสุทธิ์ และความสง่างาม
  • ธาตุน้ำ (水 – Shuǐ) สี: สีน้ำเงิน และ สีดำ สื่อถึงความลึกลับ ความสงบ ความคล่องตัว และการไหลเวียน
  • ธาตุไม้ (木 – Mù) สี: สีเขียว และ สีน้ำตาล สื่อถึงการเจริญเติบโต ความมีชีวิตชีวา และการงอกงาม

ไขความลับซินแส ตลับเมตรฮวงจุ้ย

เราเคยสงสัยกันไหมว่า เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของกิจการใหญ่ รวมถึงซินแส มีตลับเมตรแปลกๆ ที่มีภาษาจีนเยอะๆ อะไรไม่รู้ ตัวสีแดงๆ ดำๆ เอามาวัดโน้นวัดนี้แล้วก็บอกว่า นั้นดี นี้ร้าย และบอกให้เราช่วยแก้หรือปรับขนาด และตัวเลขนั้นก็แปลกๆ ไม่ลงตัวบ้าง เป็นเศษบ้าง

แล้วตลับเมตรนี้ มันคืออะไร?

วันนี้นิทัสเรามีคำตอบมาไขข้อสงสัยให้กับทุกท่าน
เรามาดูกันดีกว่าว่ามันคืออะไร

โดยที่เราคุ้นเคยก็จะมีด้านที่บอกหน่วยในการวัด ด้านบนเป็นหน่วย นิ้ว และทางด้านล่างสุด จะบอกหน่วย เซนติเมตร ซึ่งตลับเมตรแบบนี้ถ้าเราไม่มีความเข้าใจในภาษาจีนตรงกลางนั้น ก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

สำหรับจุดที่พาให้ทุกคนงงงวย ก็คำภาษาจีนตรงกลาง ที่จะแบ่งออกเป็น สองแถวบนล่าง และมีตัวภาษาจีนทั้งสีแดง และสีดำ ก่อนอื่นเราต้องแยก ก่อนว่า

สำหรับวัดขนาด (โลกมนุษย์) ฮะ อะไรนะ วัดโลกมนุษย์คืออะไร คือสิ่งของต่างๆ ที่คนเราใช้นั้นเอง เช่น บ้านพักอาศัย, ออฟฟิศ, โรงแรม, เฟอร์นิเจอร์, โต๊ะ, เตียง, ประตู, หน้าต่าง เป็นต้น

สำหรับวัดขนาด (โลกสวรรค์) ฮะ เอาอีกแล้ว วัดโลกสวรร์คืออะไร คือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับ ความเชื่อ ที่สถิตของสิ่งศักสิทธิ์ รวมไปถึงที่เกี่ยวข้องกับคนตายด้วยเช่นกัน เช่น สร้างศาลเจ้า ศาลเจ้าที่, ฮวงจุ้ยบรรพบุรุษ เป็นต้น

ขอบคุณที่ติดตามเนื้อหาดีๆ จากเรานิทัส เทสซิเล อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่นี้

และเราไม่ได้ขายตลับเมตรน่าาาาา หาซื้อได้ทั่วไปเลยจ้า


ผ้ากัน UV ได้จริงเหรอ

ปัจจัยที่ทำให้ผ้ามีความสามารถกัน UV ได้มีอยู่ 3 อย่าหลัก

  1. ความหนา (Thickness) แน่นอนว่าผ้ายิ่งหนา ยิ่งมีความสามารถในการกัน UV ได้ดี ความหนาของผ้าที่จะสามารถกันแสงได้ 100% คือประมาณ 8-10 มม ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่า ผ้าม่านโดยทั่วไปมีความหนาไม่ถึง 1 มม. ด้วยซ้ำ
  2. เส้นใย (Fibers)ที่นำมาผลิต ซึ่งที่รู้ๆ กันว่าผ้าม่านโดยส่วนใหญ่มีตัวเลือกไม่มากนัก
  3. สีของผ้า (Color) สีผ้ามีผลต่อการกัน UV ได้ เป็นปัจจัย ที่เราสามารถจัดการ และเลือกได้ง่ายที่สุด

เส้นใยผ้ากับความสามารถในการป้องการ UV

ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ กับ เส้นใยธรรมชาติ ผ้าใดกันรังสี UV ได้ดีกว่ากัน เปรียบเทียบผ้าทุกชนิด เป็นตาราง
โดย 5 คือดีที่สุด และ 1 คือ แย่ที่สุด

  • ใยสังเคราะห์: ส่วนใหญ่กกิดจากกระบวนการผลิตจาก โพลิเมอร์ ซึ่งเป็นผลผลิตการผลิตน้ำมัน หรือพูดง่ายๆ คือเป็นเส้นใยจากพลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งในกระบวนการผลิตมักจะใส่สารเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกัน UV ตั้งแต่ต้นบ้างแล้ว จึงทำให้มีผลในการกัน UV
  • ใยธรรมชาติ: ผ้าฝ้ายและผ้าลินินซึ่งเป็นเส้นใยจากเซลลูโลสมีความสามารถในการป้องกัน UV น้อยกว่าผ้าใยสังเคราะห์ แต่

สีผ้ากับความสามารถในการป้องการ UV

มีคำถามขึ้นในใจ แล้วสีอะไร “กัน UV” ได้มากที่สุด มาถึงจุดนี้ ความสามารถในการกันรังสี UV ไม่ให้มาถึงเรานั้น จริงแล้วมีอยู่สองปัจจัยด้วยกันคือ UV Reflection และ UV Absorption

UV Reflection (การสะท้อน UV) – หมายถึงการสะท้อนรังสี UV ออกไปจากพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งช่วยลดการดูดซึมของรังสี UV เข้าสู่ร่างกายหรือวัตถุอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้าที่มีสีขาวหรือสีอ่อนมักจะสะท้อนแสง UV ได้ดีกว่าสีเข้ม

UV Absorption (การดูดซึม UV) – หมายถึงการดูดซึมรังสี UV โดยวัสดุหรือพื้นผิว ซึ่งหมายความว่ารังสี UV ถูกดูดซึมเข้าไปและไม่สามารถทะลุผ่านได้ ตัวอย่างเช่น สารเคมีในครีมกันแดดที่ดูดซึมรังสี UV เพื่อป้องกันไม่ให้แสงเหล่านี้เข้าสู่ผิว

ตัวอย่างสีของผ้าม่านทั้งหมด 22 สี เรามาดูกันว่า สีไหน สะท้อน และดูดซับ UV ได้ดีกว่ากัน

จากภาพ 22 สีด้านบนเมื่อเราปรับค่าให้เหลือแค่ความสว่างของสี (Color value) จะเห็นว่าในแต่ละสีมีความสว่าง และความมืดของสีไม่เท่ากัน

นำสีทั้งหมดมาเรียงใหม่ โดยจะเห็นว่า ค่าการสะท้อนแสง กันค่าดูดซับแสงมีค่าแปลผกผันกันคือ ผ้าสีอ่อนมีค่าการสะท้อนแสงสูง และสะท้อน UV สูงด้วย แต่จะมีค่าการดูดซับ UV ต่ำ กลับกัน ผ้าที่สีสีเข้ม ค่ากันสะท้อนแสงจะต่ำ แต่ค่าการดูดซับ UV สูง

เรียงใหม่โดยเรียงจากสีที่มีค่าการส้อน UV จากมากไปน้อย

จากรูปที่แสดงด้านบน จะแบ่งผ้าออกเป็นผ้าที่อ่อน สีกลาง สีเข้ม โดยจะเป็นคุณลักษณะดังนี้

ผ้าม่านสีอ่อนผ้าม่านสีกลางผ้าม่านสีเข้ม
การสะท้อนแสงและ UV
UV Reflection
มากปานกลางน้อย
การสะสมอุณภูมิบนผิวผ้า
Thermal Absorption
ร้อนน้อยปานกลางร้อนมาก
การดูดซับ UV
UV Absorption
น้อยปานกลางมาก

อีกเรื่องที่สีของผ้ามีผล นอกจากการสะท้อนแสง การดูดซับแสงแล้ว สีของผ้าส่งผลต่อการสะสมอุณหภูมิบนพื้นผิว ซึ่งเรียกกันว่า “Thermal absorption” ซึ่งหมายถึงการดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนในปัจจุบันบ้านเราที่มีแดดร้อนมาก ที่รถสีดำดูดซับความร้อนมากกว่าสีขาว เพราะว่าสีดำมีการดูดซับแสง (และพลังงานความร้อน) มากกว่า ในขณะที่สีขาวสะท้อนแสงมากกว่าทำให้อุณหภูมิที่สะสมบนผิวน้อยกว่า นั่นเอง

  • ผ้าสีขาว: สะท้อนแสง UV ได้มากที่สุดและดูดซับ UV ได้น้อยที่สุด และมีอุณภูมิสะสมบนผิวผ้าต่ำ
  • ผ้าสีเทา: มีการสะท้อนและการดูดซับ UV ในระดับปานกลาง และมีอุณภูมิสะสมบนผิวผ้าปานกลาง
  • ผ้าสีดำ: ดูดซับแสง UV ได้มากที่สุดและสะท้อน UV ได้น้อยที่สุด และมีอุณภูมิสะสมบนผิวผ้าสูง

รูปตัวอย่างการทดลอง การสะสมอุณหภูมิบนพื้นผิว (Thermal absorption) โดยคนญี่ปุ่น โดยการนำเสื้อหลากสีไปทิ้งไว้กลางแดดในระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจึงใช้ กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ Thermal Camera หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Infrared Camera ทำงานโดยตรวจจับรังสีอินฟราเรดที่ปล่อยออกมาจากวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ และแปลงรังสีนั้นเป็นภาพที่แสดงระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยปกติจะมีการใช้สีเพื่อแสดงความแตกต่างของอุณหภูมิ

  • สีแดงหรือสีส้มมักแสดงถึงอุณหภูมิที่สูงกว่า
  • สีน้ำเงินหรือสีม่วงมักแสดงถึงอุณหภูมิที่ต่ำกว่า

จากรูปตัวอย่างการทดลอง ก็จะเห็นว่า ค่าการสะท้อนแสง ผ้าสีขาวหรือสีอ่อนมีการสะท้อนแสงสูง และ สะสมอุหภูมิบนผิวผ้าต่ำ ฉนั้นเราก็ควรเลือกใช้ผ้าม่านสีอ่อน เพื่อการสะท้อน UV ได้ดี และผ้าสะสมความร้อนได้น้อย ส่งผลให้เครื่องรับอากาศทำงานน้อยลง ส่งผลให้ประหยัดค่าไฟไปด้วยเช่นกัน

แต่อย่างที่รู้กันเมืองไทยเป็นเมืองร้อน แสงแดดมีความสว่างสูงมาก ผ้าม่านสีอ่อนมีค่าการสะท้อนแสงสูงก็จริง แต่ผ้านั้นก็ไม่ได้มีความหนาพอจะสะท้อนแสงได้ทั้งหมด แสงแดดก็จะรอดผ่านทำให้ห้องไม่มืดเพียงพอสำหรับคนที่ต้องการความมืดในการนอนหลับ ยิ่งในบางอาชีพ ที่นอนไม่ตรงกับเวลาปกติ เช่น ศิลปิน ลูกเรือที่บริการในธุรกิจสายการบิน คนที่ทำงานเป็นกะ เป็นต้น

ปัญหาห้องที่มืดไม่มากพอ ถูกแก้ไขด้วยนวัตกรรมผ้าม่าชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าผ้าม่านกันแสง หรือผ้าม่าน UV หรือในภาษาอังกฤษเรียก Dim-out curtain เป็นผ้าม่านที่มีคุณสมบัติที่ออกแบบมาเพื่อการกันแสงโดยเฉพาะ และมันทำได้อย่างไรนั้น ไปดูต่อกันเลย

ปจากรูปจะเห็นว่าด้านหน้าผ้า คือผ้าเป็นสีอ่อน หลังผ้าที่เห็นเป็นสีน้ำตาล จะเห็นว่าทั้งสองด้านของผ้าไม่มีส่วนใดเลยเป็นสีดำ แต่ภาพที่เราตั้งใจโชว์ให้เห็นเส้นด้ายสีดำ (Dope Dyed) ที่ทอแทรกลงไปในระหว่างชั้นผ้า เส้นด้ายสีดำที่ทอแทรกระหว่างชั้นนี้เอง จึงทำให้ม่านมีคุณสมบัติสามารถกันแสงได้ถึง 80-100% ขึ้นอยู่กับความหนาผ้า, ความหนาแน่นของเส้นด้ายสีดำที่ทอแทรกลงไป และสุดท้ายคือสีของตัวผ้าเอง

ดังนั้นจากทั้งหมดที่กล่าวมา ควรเลือกผ้าม่านกันแสง หรือ Dim-out ที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ที่มีสีอ่อนเพื่อการสะท้อน UV ได้ดี และเป็นผ้าที่มีความหนามากกว่าผ้าปกติ ทั้งยังมีเส้นด้ายสีดำที่ทอแทรกอยู่ระว่างชั้นผ้าช่วยดูดซับ UV ได้อีกชั้นนึง


กันน้ำของแทร่ Water Resistant & Water Repellent & Waterproof

บางทีเราก็งงๆ กับคำภาษาอังกฤษ หลายคำที่เป็นความหมายว่า กันน้ำ Water Resistant & Water Repellent & Waterproof แล้วมันมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้นิทัส จะมาเล่าให้ฟังเอง

คำแปลภาษาไทย ทนน้ำ หรือ กันน้ำ

กล่าวคือ สามารถทนต่อการเปียกน้ำในระดับหนึ่ง แต่ไม่ป้องกันการซึมของน้ำทั้งหมด เหมาะกับการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น นาฬิกา เสื้อกันลม แต่ไม่สามารถจุ่มน้ำหรืออยู่ในสภาพเปียกนานๆ ได้

แล้วกันน้ำที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า การกันน้ำโอเค เราจึงควรมารู้จักกับระดับการกันน้ำตามมาตรฐาน IPXX (Ingress Protection) จะแบ่งออกเป็นสองตัวเลข โดยตัวเลขแรกบ่งบอกถึงการป้องกันของแข็ง (เช่น ฝุ่น) และตัวเลขที่สองบ่งบอกถึงการป้องกันของเหลว (เช่น น้ำ) สำหรับระดับการกันน้ำ (ตัวเลขที่สอง) มีรายละเอียดดังนี้:

ระดับ IPการป้องกันน้ำ (Water Resistant)
IPX0ไม่มีการป้องกันน้ำ
IPX1ป้องกันน้ำหยดในแนวดิ่ง
IPX2ป้องกันน้ำหยดในแนวดิ่งเมื่อเครื่องเอียงไม่เกิน 15°
IPX3ป้องกันน้ำพ่นเป็นละอองมุมไม่เกิน 60° จากแนวดิ่ง
IPX4ป้องกันน้ำกระเซ็นจากทุกทิศทาง
IPX5ป้องกันน้ำฉีดพ่นแรงต่ำจากทุกทิศทาง
IPX6ป้องกันน้ำฉีดพ่นแรงสูงจากทุกทิศทาง
IPX7ป้องกันการแช่น้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร ได้นานไม่เกิน 30 นาที
IPX8ป้องกันการแช่น้ำลึกมากกว่า 1 เมตรตามที่กำหนดโดยผู้ผลิต

อ่านบทความเรื่อง มาตรฐาน IPXX เพิ่มเติม


คำแปลภาษาไทย สะท้อนน้ำ

กล่าวคือ มีสารเคลือบ Hydrophobic coatings ที่ทำให้น้ำกลิ้งหลุดออกไป แต่ไม่ได้ป้องกันน้ำอย่างสมบูรณ์ น้ำจะเป็นหยดและกลิ้งออกจากผิววัสดุ ไม่ซึมเข้าไปในวัสดุ แต่ถ้าอยู่ในน้ำหรือความชื้นสูงนานๆ น้ำก็อาจซึมเข้าไปได้

คุณสมบัติและประโยชน์ของการเคลือบแบบไฮโดรโฟบิกมีดังนี้:

  • สะท้อนน้ำ: ทำให้น้ำไม่สามารถซึมเข้าสู่พื้นผิวได้ ทำให้พื้นผิวแห้งเร็ว
  • การป้องกันสิ่งสกปรก: ช่วยลดการสะสมของสิ่งสกปรกและคราบน้ำ
  • การเพิ่มความทนทาน: ช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุที่ถูกเคลือบ

การเคลือบไฮโดรโฟบิกสามารถใช้กับวัสดุต่าง ๆ เช่น กระจก, โลหะ, พลาสติก, และผ้า มักถูกใช้ในผลิตภัณฑ์เช่น เสื้อผ้ากันน้ำ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, และวัสดุก่อสร้าง

ผ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำแล้ว จะรู้ได้อย่างไงว่ามันดีระดับไหน โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการทดสอบ ISO 4920:2022 Textiles — Determination of resistance to surface wetting (spray test) มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถของพื้นผิวผ้าในการต้านทานการซึมของน้ำเมื่อถูกฉีดพ่นเป็นละอองน้ำ (Spray Test)

เกรดระดับการกันน้ำ
0ผิวผ้าเปียกน้ำเต็มที่
1ผิวผ้าเปียกน้ำ 50%
2ผิวผ้าเปียกน้ำ 30%
3ผิวผ้าเปียกน้ำเล็กน้อย 10%
4ผิวผ้ามีการเปียกน้ำเล็กน้อยมาก (เกือบแห้ง)
5ผิวผ้าไม่เปียกน้ำ (แห้งสนิท)

อ่านบทความเรื่อง WATER REPELLENT ผ้าสะท้อนน้ำเพิ่มเติม


คำแปลภาษาไทย กันน้ำ

ป้องกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในวัสดุได้เลย สามารถใช้ในสภาพที่มีน้ำหรือเปียกได้เต็มที่ เช่น ดำน้ำ เสื้อกันฝนที่สามารถกันน้ำได้ 100%

ซึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว ส่วนใหญ่จะมีการกระบวนการทำให้ผ้าสะท้อนน้ำ Water Repellent เพื่อช่วยลดสิ่งสกปรกที่จะมาติดที่ผ้า และช่วยให้สามารถเช็ดทำความสะอาดผ้าได้ทันเวลาเมื่อมีเหตุการ์ณเกิดขึ้น โดยการเคลือบนี้ จะเป็นผลดีกับของเหลวประเภทน้ำ เช่น น้ำดื่ม น้ำอัดลม ไวน์ แต่จะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเจอสิ่งสกรกประเภทน้ำมัน เช่น ซอส เศษอาหาร เป็นต้น



เรียงลำดับเล่มรวมผ้าตัวอย่าง

SHEER CURTAINS

ผ้าม่านโปร่ง หรือที่เรียกว่าผ้าม่านบาง (Sheer Curtains) ทำจากผ้าฝ้าย และโพลีเอสเตอร์ มีความบางและโปร่งแสง ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวโดยไม่บังแสงแดด ทำให้ห้องสว่างและเปิดกว้างยิ่งขึ้น มีคุณสมบัติเด่นในการให้แสงธรรมชาติเข้ามา เพิ่มความหรูหราและเรียบง่าย ระบายอากาศได้ดี และปกป้องความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่ง มักใช้คู่กับผ้าม่านหนาหรือม่านทึบเพื่อปรับระดับความสว่างและความเป็นส่วนตัวตามต้องการได้ง่ายขึ้น

Sheer Curtains Collection E-Catalog


BLACKOUT CURTAINS

ผ้าม่านทึบแสง (Blackout Curtains) คือผ้าม่านที่ทำจากผ้าที่หนาและมีการเคลือบหรือซับในเพื่อป้องกันแสงแดดและแสงอื่น ๆ ไม่ให้เข้ามาในห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว ควบคุมอุณหภูมิ ลดเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับห้องนอนที่ต้องการความมืดสนิทเพื่อการนอนหลับที่สบายยิ่งขึ้น

Blackout Collection E-Catalog


DIM-OUT CURTAINS

ผ้าม่านกันแสง (Dim-out Curtains) คือผ้าม่านที่ออกแบบมาเพื่อบังแสงส่วนใหญ่ประมาณ 70-85% โดยไม่ทำให้ห้องมืดสนิท ช่วยลดความสว่างจากแสงแดดภายนอกและให้ความเป็นส่วนตัวดีพอสมควร เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน หรือห้องรับประทานอาหาร ที่ต้องการการควบคุมแสงและความสว่างในระดับปานกลาง พร้อมทั้งสามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในห้องได้บ้าง

Dim-out หน้าแคบ

Dim-out หน้ากว้าง

แผ่นพับรวม Dim-out


UPHOLSTERY

ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ (upholstery) คือวัสดุที่ใช้สำหรับหุ้มเฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา เก้าอี้ หรือเบาะนั่ง เพื่อเพิ่มความสวยงามและความสะดวกสบาย ป้องกันการสึกหรอ โดยมีหลายประเภท เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าไหม ผ้ากำมะหยี่ และหนัง ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น ความทนทาน การดูแลรักษา ความสวยงาม และความสบายในการใช้งาน

UPHOLSTERY COLLECTION E-CATALOG

เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

เล่มรวมผ้าบุสะท้อนน้ำ
Water Repellent Upholstery collection books

เล่มรวมผ้าบุเนื้อชานิวส์ และเวลเวด
CHENILLE, VELVET Upholstery

เล่มรวมผ้าบุแบ่งตามสี
Upholstery collection books divided by color

เล่มรวมผ้าบุแบ่งตามช่วงราคาโปร
Upholstery collection books divided by promotional price range

แผ่นผับรวม ผ้าบุ แบ่งช่วงราคาโปร
Upholstery Brochure divided by promotional price range

แผ่นผับผ้าบุเดี่ยวๆ
Upholstery Brochure


OUTDOOR FABRICS

ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งเป็นวัสดุที่ทนทานต่อสภาพอากาศและการใช้งานหนัก โดยมีคุณสมบัติกันน้ำ ป้องกันรังสียูวี ทนทานต่อการขัดถู และทำความสะอาดง่าย เหมาะสำหรับการใช้ในสวน ริมสระว่ายน้ำ ระเบียง หรือพื้นที่กลางแจ้งอื่น ๆ ทำจากวัสดุเช่น อะคริลิก โพลีเอสเตอร์ โพลีโพรพิลีน และผ้าเคลือบสารกันน้ำ ซึ่งใช้ในการหุ้มชุดเฟอร์นิเจอร์สนาม เตียงนอนริมสระว่ายน้ำ ร่มกันแดด และผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์ พร้อมด้วยการดูแลรักษาเช่น การทำความสะอาดประจำ การเก็บรักษาในฤดูฝนหรือฤดูหนาว และการป้องกันแสงแดด

Outdoor Fabrics Collection E-Catalog


CURTAIN

ผ้าม่านหรือวัสดุที่ใช้ปิดหน้าต่างหรือประตูเพื่อความเป็นส่วนตัวหรือป้องกันแสงแดดจากเข้ามาในห้อง มันมักจะถูกใช้ในบ้านหรือสถานที่ที่ต้องการควบคุมแสงและการเข้าถึงจากภายนอก เช่น ในห้องนอนหรือห้องพักอื่นๆ มันมีลักษณะเป็นแผ่นผ้ายาวติดอยู่ด้านบนของหน้าต่างหรือประตูและสามารถถูกเปิดหรือปิดได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน

Curtain Collection E-Catalog

เล่มรวมผ้าม่านเรียบหรูดูดี

เล่มรวมผ้าลุดเหมือนผ้าไหม

เล่มรวมตัวอย่างผ้าม่านมีลวดลาย


DUAL PURPOSE FABRICS

ผ้าบุฟอร์นิเจอร์ก็ได้ ผ้าม่านก็ดี เป็นผ้าที่มีความแข็งแรง ทนทานมากกว่าผ้าม่านปกติ ซึ่งสามารถนำไปบุ ฟอร์นิเจอร์ได้โดยผ่านตามมาตรฐานการทดสอบความทดทานต่อการเสียดสีและยังสามรถนำมาตัดเย็บเป็นผ้าม่าน ทิ้งตัวสวยเข้าลอนได้ดี และมีน้ำหนักไม่มากเกินไปที่จะทำเป็นผ้าม่าน

Dual Purpose Fabrics Collection E-Catalog

เล่มรวม OEKO-TEX ผ้้าม่าน,ผ้าบุ

เล่มรวมพิเศษรวมเรื่องสี

เล่มรวม Best Seller ผ้าม่าน,ผ้าบุ

เล่มรวมผ้าเนเชอร์รัลลุค

เล่มรวมผ้ากันฝุ่น และไรฝุ่น


Synthetic Leather Fabric

หนังสังเคราะห์หรือที่เรียกกันว่า หนังเทียมวัสดุทนแทนหนังสัตว์แท้ มีความทนทานสูงอายุการใช้งานยืนยาว ผิวสัมผัสดีที่ดี ทนต่อรอยขีดข่วน ทำความสะอาดง่าย มีคุณสมบัติกันไฟในตัวอีกด้วย ทำมาจากคุณภาพสูงเกรดพรีเมี่ยมที่โรงแรม 5 ดาว เลือกใช้เพราะ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสารระเหยเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เหมือน pvc เกรดท้องตลาดทั่วไป

Synthetic Leather Fabric Collection E-Catalog


SPECIAL Collection E-Catalog

เล่มรวมตัวอย่างผ้ากันไฟลาม

เล่มรวมหน้ากว้างพิเศษ


Showroom Nitas Sukhumvit 89

โชว์ผ้าม่านเรียบ
Plain Curtain Display
Curtain: 10529 NEAT -124/1 LINEN
Curtain: 10759 SILKLOOK -104 SAND
Dual Purpose: 30065 CABRERA -101 CREAM
Dual Purpose: 30066 PARADISO -101 CREAM
Dual Purpose: 30067 ORDESA -101 CREAM
Dual Purpose: 30068 BASILICA -101 CREAM
Dual Purpose: 30069 PERITO -101 CREAM
Curtain: 40003 DOMACE -104 OXFORD TAN
Curtain: 40008 LHASA -102 LINEN
Curtain: 40021 TIMELESS -103 BROWN
Curtain: 40022 SUPER RICH -103 BEIGE
Curtain: 40023 COCOON -101 CREAM
Curtain: 40030 CREEK -101 LINEN
Dual Purpose: 40042 CHARLOTTE -102 YELLOW
Curtain: 40043 TIMOTHY -102 BROWN
Curtain: 40044 LILIBET -102 BEIGE
โชว์ผ้าม่านมีลวดลาย
Design Curtain Display
Curtain: 10485 KENSINGTON -104 BROWN
Curtain: 10487 KNIGHTSBRIDGE -102 BEIGE
Curtain: 10489 KNIGHTSBRIDGE -101 WHITE
Curtain: 40010 CHARM -101 WHITE
Curtain: 40012 PEONE -101 CREAM
Curtain: 40020 BAROQUE -104 GREY
Curtain: 40024 CATHERINE -102 CREAM
Curtain: 40032 ANTOINE -101 CREAM
Curtain: 40033 CHRISTIAN -101 CREAM
Curtain: 40034 PHILIP -101 LIGHT GREY
Curtain: 40035 ANDREW -101 WHITE
Curtain: 40038 BEATRICE -101 BROWN
Curtain: 40039 SARAH -101 BROWN
Curtain: 40040 SALOLA -101 LIGHT GREY
โชว์ผ้าม่านกันแสง
Dim-out Display
Dim-out: 10816 MUNOZ -103 BEIGE
Dim-out: 80036 LUKE -101 LIGHT BROWN
Dim-out: 80037 JEDI -101 LIGHT BROWN
Dim-out: 80038 ANAKIN -101 BROWN
Dim-out: 80039 SKYWALKER -106 BROWN
Dim-out: 80040 OBIWAN -101 LIGHT BROWN
Dim-out: 80041 KENOBI -103 GREY
Dim-out: 80048 PALPATINE -101 TAN
Dim-out: 80051 THE MOON FALL -103 BEIGE
โชว์ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง
Wide width Dim-out Display
Wide width Dim-out: 80008 BUIO -101/1 BEIGE
Wide width Dim-out: 80010 RAPHAEL -105 GREY
Wide width Dim-out: 80018 ANGELO -106 LIGHT GREY
Wide width Dim-out: 80019 LEONARDO -106/1 LIGHT GREY
Wide width Dim-out: 80020 DONATELLO -104 SILVER
Wide width Dim-out: 80021 PICASSO -103/1 BROWN
Wide width Dim-out: 80025 ROBERTO -101 LIGHT GREY
Wide width Dim-out: 80026 BERNADI -101 BEIGE
Wide width Dim-out: 80043 ORDER -106 DARK GREY
Wide width Dim-out: 80044 AMIDALA -102 LIGHT GREY
Wide width Dim-out: 80045 KYLOREN -104 GREY
Wide width Dim-out: 80050 PLEASURE -108 GREY
โชว์ผ้าม่านโปร่ง
Sheer Display
Sheer: 90007 CASTLE -101 CREAM
Sheer: 90015 WINERY -101 CREAM
Sheer: 90024 CABERNET -101 WHITE
Sheer: 90025 SPARKLING WINE -101 WHITE
Sheer: 90026 CHAMPAGNE -101 WHITE
Sheer: 90029 PORT WINE -101 WHITE
Sheer: 90030 GRANMONTE -101 WHITE
Sheer: 90031 GRAPES HOUSE -101 WHITE
Sheer: 90032 SILVERLAKE -101 WHITE
Sheer: 90033 BRANDY -101 LIGHT BEIGE
Sheer: 90034 BRUNELLO -101 WHITE
Sheer: 90038 RAINA -102 OFF-WHITE
Sheer: 90042 MARTINI -101 LIGHT GREY
Sheer: 90043 MAITAI -101 CREAM
Sheer: 90044 MOCKTAILS -101 WHITE
Sheer: 90045 MOJITO -101 OFF-WHITE
โชว์ผ้าเอาท์ดอร์
Outdoor Fabrics Display
Outdoor: 30070 ISTANBUL -101 WHITE
Outdoor: 30070 ISTANBUL -109 DARK BLUE
Outdoor: 30071 GALATA -101 LIGHT GREY
Outdoor: 30071 GALATA -106 DARK BLUE
Outdoor: 30072 TOPKAPI -101 LIGHT GREY
Outdoor: 30072 TOPKAPI -106 DARK BLUE
Outdoor: 30073 BOSPHORUS -103 DARK BLUE
โชว์ผ้าม่านระบายอากาศ
Air flow Curtain Display
Curtain: 10529 NEAT -125/1 WHITE
Sheer: 90019 BRICKWORK -101 WHITE
Sheer: 90039 HOSPITAL SPA -101 CREAM
ดิสเพย์ 1
Display 1
Sheer: 90027 SHIRAZ -103 LINEN
Dual Purpose: 40048 LIVE STREAM -101
Dual Purpose: 40047 WONDER FRUIT -101
ดิสเพย์ 2
Display 2
Wide Width Dim-out: 80042 FORCE -102 LIGHT BROWN
Sheer: 90023 CHARDONNAY -102 CREAM
ดิสเพย์ 3
Display 3
Sheer: 90028 VIN SANTO -102 BEIGE
Sheer: 90006 CHATEAU -101 WHITE
Blackout: 80049 DARTH VADER -103
Blackout: 80031 STARLESS -101
ดิสเพย์ 4
Display 4
Dual Purpose: 40042 CHARLOTTE -102 YELLOW
ดิสเพย์ 5
Display 5
Dual Purpose: 30030 NOUVEAU -110 BLACK