fbpx

5 สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับแสงไฟ

แสงไฟสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามแหล่งกำเนิดและการใช้งาน ซึ่งแต่ละประเภทมีบทบาทสำคัญในการสร้างบรรยากาศและการใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้:

  1. แสงจากหน้าต่าง (Window Light): เป็นแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถเข้ามาในบ้านผ่านทางหน้าต่าง, ประตู, หรือช่องแสงต่าง ๆ แสงธรรมชาติช่วยประหยัดพลังงานและสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นธรรมชาติ แสงที่ส่องผ่านมาเกินไปสามารถลดทอนได้ด้วยการใช้ผ้าม่านควบคุมการเข้ามาของแสงได้
  2. แสงจากช่องบนเพดาน (Sky Light): เป็นแสงหลักที่ใช้ให้ความสว่างทั่วไปในห้อง สามารถมาจากโคมไฟเพดาน, โคมไฟแขวน, หรือไฟที่ติดตั้งบนผนัง แสงทั่วไปมีหน้าที่ให้แสงสว่างทั่วถึงทั้งห้อง การปิดผ้าม่านยังช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับห้องด้วย
  3. แสงเฉพาะที่ (Down Light): เป็นแสงที่เน้นส่องสว่างในบริเวณที่ต้องการทำกิจกรรมเฉพาะ เช่น ไฟอ่านหนังสือ, ไฟสำหรับทำงานที่โต๊ะทำงาน, ไฟในครัวสำหรับเตรียมอาหาร แสงเฉพาะที่ช่วยลดความเครียดในการทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้การปิดผ้าม่านยังช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับห้องด้วย
  4. แสงส่องเฉพาะจุด (Spot Light): เป็นแสงที่ใช้เพื่อเน้นสิ่งของหรือบริเวณที่ต้องการความโดดเด่น เช่น การส่องไฟเพื่อเน้นรูปภาพ, ประติมากรรม, หรือวัตถุตกแต่งอื่น ๆ แสงเน้นช่วยสร้างบรรยากาศและความลึกในห้อง การปิดผ้าม่านอาจช่วยลดแสงที่ส่องเข้ามาได้ เพื่อป้องกันการสะท้อนแสงที่อาจเสียหายสิ่งของภายในห้อง
  5. แสงทางอ้อม (Indirect Light): เป็นแแสงที่ซ่อนในหลืบ ใช้วิธีส่องสว่างสะท้านเข้าผนังหรือเพดานแล้วกระจายแสงไปรอบๆให้ผ่อนคลายให้กับห้อง แสงที่ส่องผ่านมาเกินไปสามารถลดทอนด้วยการปิดผ้าม่าน ยังช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับห้อง

การเลือกใช้แสงในบ้านควรพิจารณาจากความต้องการในการใช้งานและบรรยากาศที่ต้องการสร้าง เพื่อให้ใช้ผ้าม่านที่ดีที่สุดในการใช้งานและความสวยงาม

แสงธรรมชาติจากหน้าต่างเป็นแสงบรรยากาศ ให้กับห้อง ช่วยให้ห้องดูโปร่งโล่ง

พื้นที่ใช้งาน: ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น,ห้องทำงาน,คาเฟ่,ออฟฟิศ

แสงธรรมชาติจากเปิดช่องด้านบนเพดานหรือไฟที่ติดตั้งบนผนัง ช่วยให้รู้สึกเป็นธรรมชาติ

พื้นที่ใช้งาน: ห้องนั่งเล่น,โถง,ห้องรับประทานอาหาร

แสงจากดวงโคมที่ส่องในแนวตั้งลงมาจากด้านบนลงสู่พื้นที่ที่ต้องการขับเน้นพื้นที่เฉพาะส่วนได้ดี

พื้นที่ใช้งาน: ห้องทำงาน , ห้องรับประทานอาหาร

แสงจากโคมไฟส่องเฉพาะจุดในพื้นที่ที่ต้องการเน้นบริเวณที่ต้องการความโดดเด่น

พื้นที่ใช้งาน: มุมงานศิลปะ,โถงทางเดิน

แสงที่ซ่อนในหลืบใช้วิธีส่องสว่างสะท้านเข้าผนังหรือเพดานแล้วกระจายแสงไปรอบๆให้ผ่อนคลาย

พื้นที่ใช้งาน: ห้องนอน,ตกแต่งทางเดิน,ตกแต่งด้านหลังเฟอร์นิเจอร์

การเลือกใช้แสงและผ้าม่านในบ้านควรพิจารณาจากความต้องการในการใช้งานและบรรยากาศที่ต้องการสร้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในด้านการใช้งานและความสวยงาม แสงในบ้านไม่เพียงแต่สร้างความสว่าง แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างบรรยากาศและอารมณ์ในที่อยู่อาศัยของเราด้วย



Inherent FR เกิดมาก็กันไฟเลย

Flame Retardant Fabrics หรือผ้ากันไฟลาม คือผ้าที่มีการปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติที่สามารถต้านทานการลุกลามของไฟได้ โดยในเชิงเคมีและกระบวนการผลิต ผ้ากันไฟลามสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ

  • Inherent Flame Retardant (Inherent FR) Fibers
  • Treated Flame Retardant (Treated FR) Fabrics

1. Inherent Flame Retardant (Inherent FR) Fibers

เส้นใยที่มีคุณสมบัติกันไฟตั้งแต่ต้น หรือที่เรียกว่า Inherent FR Fiber เป็นเส้นใยที่มีความต้านทานต่อเปลวไฟภายในโครงสร้างของมันเอง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเคลือบสารเพิ่มเติม สารต้านไฟลามจะถูกผสมกับเมล็ดพลาสติกหรือโพลีเมอร์ก่อนจะหลอมละลายและฉีดออกมาเป็นเส้นใย ทำให้เส้นใยเหล่านี้มีคุณสมบัติกันไฟตั้งแต่การผลิต ตัวอย่างเส้นใยที่มีคุณสมบัติ Inherent FR เช่น อะรามิด (Aramid) และโมดาคริลิก (Modacrylic) ซึ่งมีประสิทธิภาพการกันไฟที่ดีกว่าเส้นใย FR ทั่วไป

ผ้าที่มีคุณสมบัติกันไฟลามโดยทั่วไปมักจะมีประสิทธิภาพคงอยู่ไม่เกิน 5 ครั้งในการซัก เมื่อซักมากกว่า 5 ครั้ง ประสิทธิภาพการกันไฟจะลดลงเรื่อย ๆ แต่สำหรับผ้าที่ผลิตจากเส้นใย Inherent FR Fiber จะคงคุณสมบัติกันไฟไม่ลดลงแม้จะผ่านการซักหลายครั้ง เนื่องจากคุณสมบัติการกันไฟฝังอยู่ในตัวเส้นใยเองตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต

ข้อดี: คุณสมบัติการกันไฟคงที่และไม่ลดประสิทธิภาพลง แม้จะผ่านการซักหรือใช้งานหลายครั้ง, ปลอดภัยกว่าเนื่องจากไม่มีสารเคลือบเพิ่มเติมที่อาจหลุดออกมาได้

สามารถสังเกตุว่าผ้าตัวใดของนิทัสมีคุณสมบัติ Inherent Flame Retardant จาก


2. Treated Flame Retardant (Treated FR) Fabrics

ผ้าที่มีคุณสมบัติ FR fiber หรือ “Flame Retardant fiber” เป็นเส้นใยที่มีความต้านทานต่อเปลวไฟ โดยทั่วไปผลิตจากวัสดุต่างๆ เช่น พอลีเอสเตอร์ (Polyester) และอะรามิด (Aramid) ผ้ากันไฟลามหมายถึงเมื่อสัมผัสกับเปลวไฟแล้ว ผ้าจะไม่ลุกลามต่อเนื่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าไฟที่ลุกลามจากแหล่งอื่นจะไม่ทำให้ผ้าติดไฟ เพียงแค่เมื่อมีจุดกำเนิดไฟมาสัมผัส ผ้าจะไม่เป็นต้นเหตุให้ไฟลุกลามต่อไป

ผ้าที่ทำจากเส้นใยทั่วไป เช่น โพลีเอสเตอร์ หรือไนลอน สามารถผ่านการเคลือบสารกันไฟ (flame retardant chemicals) ในขั้นตอนการทำสำเร็จผ้า (finishing process) กระบวนการผลิตนี้จะทำโดยการชุบหรือพ่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติการกันไฟ จากนั้นผ้าจะถูกอบหรือทำให้แห้งเพื่อให้สารเคลือบติดกับเส้นใย สารเคมีที่ใช้ เช่น สารฟอสเฟต (Phosphate) หรือสารโบรมีน (Bromine) ซึ่งสามารถลดการลุกลามของไฟได้

  • ข้อดี: สามารถผลิตผ้ากันไฟจากเส้นใยสังเคราะห์ได้หลากหลายชนิด, กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนเท่าเส้นใย Inherent FR
  • ข้อเสีย: คุณสมบัติการกันไฟอาจลดลงหลังการซักหลายครั้ง หรือการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากสารเคลือบอาจหลุดลอกออก

สามารถสังเกตุว่าผ้าตัวใดของนิทัสมีคุณสมบัติ Flame Retardant จาก


อย่างไรก็ตามผ้าที่มีคุณสมบัติกันไฟลาม เราก็สามารถเชื่อมั่นในคุณสมบัตินั้นได้ พร้อมผลการทดสอบ อันเป็นที่หน้าเชื่อถือในระดับสากล เช่น NFPA 701, EN 13773 เป็นต้น

NFPA 701

NFPA 701 คือมาตรฐานการทดสอบการลามไฟของสิ่งทอที่ใช้ในอาคารที่ออกโดย National Fire Protection Association (NFPA) หรือสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบและเกณฑ์การยอมรับสำหรับวัสดุสิ่งทอที่ใช้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ผ้าม่าน, ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์, และสิ่งทออื่นๆ ที่อาจมีการติดตั้งหรือใช้งานในอาคาร

NFPA 701 มีสองวิธีการทดสอบหลัก:

  1. Test Method 1 (Method 1): ใช้สำหรับการทดสอบวัสดุสิ่งทอที่มีน้ำหนักเบาและวัสดุที่ใช้ในสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ผ้าบาง ๆ และวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งงานแสดงสินค้าหรืออีเวนท์
  2. Test Method 2 (Method 2): ใช้สำหรับการทดสอบวัสดุสิ่งทอที่มีน้ำหนักมากกว่าและวัสดุที่ใช้ในภายในอาคาร เช่น ผ้าม่านหนา ๆ และวัสดุที่ใช้ในโรงแรมหรือโรงละคร

ผลการทดสอบตามมาตรฐาน NFPA 701 จะระบุว่าวัสดุสิ่งทอนั้นผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์การลามไฟที่กำหนด ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการเลือกใช้งานวัสดุในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความปลอดภัยจากอัคคีภัย


EN 13773

EN 13773 “Textiles and textile products – Curtains and drapes – Flammability classification” มาตรฐานยุโรปกำหนดวิธีการทดสอบและการจัดประเภทความสามารถในการต้านทานการลามไฟของผ้าม่านและผ้าที่ใช้ในงานตกแต่งภายในอาคาร เช่น ผ้าม่านและผ้าคลุมต่าง ๆ

วิธีการทดสอบ: มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบความสามารถในการต้านทานไฟของวัสดุอยู่ในท่าตั้งฉาก หลังจากการสัมผัสกับแหล่งไฟ


NF P92-507

NF P92-507 “Fire classification of construction products and building elements – Part 5: Classification using data from external fire exposure to roofs tests” เป็นมาตรฐานของฝรั่งเศสที่กำหนดวิธีการทดสอบความสามารถในการต้านทานไฟของวัสดุสิ่งทอที่ใช้ในการตกแต่งภายในอาคาร มาตรฐานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดระบบการทดสอบและการจัดประเภทวัสดุต้านทานไฟในฝรั่งเศส โดยมีการจัดระดับจาก M0 – M4 ซึ่ง M0 หมายถึงวัสดุที่ไม่ติดไฟ และ M4 หมายถึงวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายที่สุด

วิธีการทดสอบ: มาตรฐานนี้กำหนดวิธีการทดสอบความสามารถในการต้านทานไฟของวัสดุโดยใช้เปลวไฟขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ และวัดการลามไฟ ความสามารถในการติดไฟ และการเกิดควัน

การจัดอันดับ: การทดสอบจะให้คะแนนวัสดุตามระดับการลามไฟ โดยใช้ระบบการจัดระดับ M ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:

  • M0: วัสดุไม่ติดไฟ
  • M1: วัสดุติดไฟได้ยาก
  • M2: วัสดุติดไฟได้ปานกลาง
  • M3: วัสดุติดไฟได้ง่าย
  • M4: วัสดุติดไฟได้ง่ายมาก

มาตรฐาน NF P92-507 เป็นการรับรองว่าวัสดุที่ใช้มีความปลอดภัยต่อการลามไฟ ซึ่งมีความสำคัญในการป้องกันอัคคีภัยในอาคารและพื้นที่สาธารณะ


ผ้าหน้ากว้าง 320 เซนติเมตร ดีกว่าอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วความสูงของแต่ละห้องมีความสูงไม่เท่ากัน โดยทั่วไป คอนโดมิเนียมความสูงจะประมาณ 240 – 270 เซนติเมตร ส่วนบ้านพักอาศัย ประมาณ 260 – 330 เซนติเมตร ความสูงสำหรับห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องนอน: ประมาณ 250 – 270 เซนติเมตร
  • ห้องน้ำ: ประมาณ 230 – 240 เซนติเมตร
  • ห้องครัว: ประมาณ 250 – 270 เซนติเมตร
  • ห้องรับแขก: ประมาณ 260 – 330 เซนติเมตร
  • ห้องรับประทานอาหาร: ประมาณ 260 – 300 เซนติเมตร
  • ห้องทำงาน: ประมาณ 260 – 300 เซนติเมตร

ซึ่งความสูงดังกล่าวก็มีผลกับความสูงของหน้าต่างและประตูด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนในการจัดการเรื่องผ้าม่านเช่นเดียวกัน

ความสูงห้องโดยปกติ ที่ไม่ให้ให้รู้สึกอึดอัด อยู่ที่ 240 ซม เป็นอย่างน้อย

การเย็บม่านในแบบผ้าหน้ากว้างปกติ

ผ้าม่านหน้ากว้างปกติ จะมีขนาดวัดจากริมผ้าด้านหนึ่งถึงอีกด้านอยู่ที่ 135-150 เซนติเมตร จะเย็บโดย ให้ริมผ้าอยู่ทางซ้ายและขวา โดยความสูงของม่านไม่กำจัด แต่จะมีการต่อผ้าในแนวตั้ง เป็นช่วงๆ ไปตลอดทั้งผืน

การเย็บม่านในแบบผ้าหน้ากว้าง

ผ้าม่านหน้ากว้าง จะมีขนาดวัดจากริมผ้าด้านหนึ่งถึงอีกด้านอยู่ที่ 280-350 เซนติเมตร จะเย็บโดย ให้ริมผ้าอยู่ทางบนและล่าง โดยความยาวของม่านไม่จำกัด แต่จะมีการต่อผ้า ถ้าห้องมีความสูงเป็นพิเศษ


ห้องที่เพดานสูง

เป็นที่รู้กันดีว่าผ้าหน้ากว้างประหยัดกว่า ผ้าม่านหน้าปกติถึง 30% โดยการหมุนให้ริมผ้าอยู่ในทิศบน-ล่างทำให้เราสามารถเย็บม่านได้ยาวต่อเนื่องโดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งปกติห้องทั่วไป จะสูงจากพื้นถึงฝ้า 2.5 เมตร ดังนั้นการที่เราเลือกใช้ผ้าหน้ากว้าง 320 ซม. จึงทำให้สามารถเย็บม่านได้ตลอดความสูงห้อง เพดานสูง 240-285 เซนติเมตร ได้สบายๆ ไร้รอยต่อ สวยงามเต็มผืน

ในทางกลับกัน ถ้าห้องของคุณมีความสูงมากกว่า 285 เซนติเมตร ก็ต้องมีการพิจารณากันว่า จะให้ผ้าม่านมีรอยต่อในแนวตั้ง เป็นช่วงๆ หรือจะต่อในแนวนอน เป็นแนวยาวตลอดทั้งผืน ซึ่งในบางครั้ง จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ก็อาจจะแก้ให้เป็นข้อดีโดยใช้การแบ่งเป็นลูกเล่นในการให้สีผ้าม่านมีน้ำหนักอ่อนเข้ม หรือสลับสีให้เกิดบรรยากาศที่สนุกสนานขึ้นอีกด้วย


เข้าใจเรื่องสไตล์การตกแต่ง

Understanding the style of home decoration

สไตล์การตกแต่งบ้านยอดนิยมในปัจจุบันมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความชอบและรสนิยมของผู้อยู่อาศัย โดยแต่ละสไตล์จะมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. แบ่งตามลักษณะทาง วัฒนธรรมธรรม (Culture) และลักษณะทางภูมิประเทศ (Topography)
    • โลกฝั่งตะวันตก (ยุโรป อเมริกา แอฟริกา)
    • โลกฝั่งตะวันอกก (เอเชีย)
  2. แบ่งตามลักษณะแนวความคิดทางอุดมคติ (Ideal) ปรัชญา (Philosophy) บางอย่าง
  3. แบ่งตามยุคสมัย ตามกาลเวลา

เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสไตล์การออกแบบตกแต่งที่ได้รับอิทธิผลจาก วัฒนะธรรมพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ รูปแบบที่แตกต่างกันออกไป และลักษณะทางภูมิประเทศที่หลากหลาย เช่น เขตอบอุ่น, ร้อนชื้น เหล่านี้ก็จะส่งผลต่อแนวคิด การเลือกใช้วัสดุ ฟังชั่นต่างๆ ที่ตอบโจทย์ตามลักษณะภูมิประเทศนั้นๆ

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
สแกนดิเนเวียน Scandinavian
หรือ นอร์ดิก
Nordic
อบอุ่น เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติผสมผสานสีขาว เฟอร์นิเจอร์ไม้ แสงธรรมชาติขาว ครีม เทา น้ำตาล อ่อน ไม้ ผ้าขนสัตว์สแกนดิเนเวีย
โมร็อกกัน Moroccanสีสันสดใส ลวดลายซับซ้อนโมเสก กระเบื้องลายดอกไม้ โคมไฟระย้าแดง ส้ม เขียว ชมพู น้ำเงิน โมเสก กระเบื้อง ผ้าขนสัตว์โมร็อกโก
ยุโรป
European
หรูหรา คลาสสิก ประณีตเฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก โคมไฟระย้า สีทอง ครีมทอง ครีม ขาว เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก โคมไฟระย้ายุโรป
โบฮีเมียน
Bohemian
อิสระ เต็มไปด้วยสีสัน ลวดลายผสมผสานหลายสไตล์ เน้นของตกแต่งหลากหลาย ขึ้นอยู่กับดีไซน์ยุโรปตะวันออกกลาง
ชนบทของฝรั่งเศส
French Countries
อบอุ่น อ่อนหวาน เรียบง่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าลินิน ตะกร้าหวายครีม น้ำตาล เขียว โทนธรรมชาติ ชนบทใน
ฝรั่งเศส
Scandinavian สแกนดิเนเวียน หรือ Nordic นอร์ดิก
Moroccan โมร็อกกัน
European สไตล์ยุโรป
Bohemian โบฮีเมียน
French Countries ชนบทของฝรั่งเศส

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
บาหลี
Balinese
เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติผสมผสานไม้ หิน สวน โทนสีอบอุ่นน้ำตาล เขียว เฟอร์นิเจอร์ไม้ หิน ไม้ไผ่อินโดนีเซีย
จีน
Chinese
แดง โบราณ เรียบหรูสีแดง เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก มังกรโทนสีแดง ทอง ดำ เน้นวัสดุไม้ ผ้าไหม หยกจีน
ญี่ปุ่น
Japanese
เรียบง่าย อบอุ่น ธรรมชาติบ้านไม้ เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น ประตูบานเลื่อน
เสื่อทาตามิ
ไม้ธรรมชาติ โทนสีอบอุ่น มินิมอลญี่ปุ่น
ไทย
Thai
เรือนไทย โบราณ วัฒนธรรมบ้านไม้หลังคาจั่ว หน้าจั่ว ประตูไม้แกะสลักโทนสีน้ำตาล ครีม ส้ม เน้นวัสดุไม้ ผ้าปูพื้นไทย
Balinese Style บาหลีสไตล์
Chinese Style จีนสไตล์
Japanese Style ญี่ปุ่นสไตล์
Thai Sty ไทยสไตล์

สไตล์การตกแต่งบ้านสามารถแบ่งตามแนวความคิดทางอุดมคติและปรัชญาได้หลายรูปแบบ โดยแต่ละสไตล์จะมีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและความเชื่อที่แตกต่างกันไป นี่คือตัวอย่างของสไตล์การตกแต่งบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมคติและปรัชญาต่างๆ

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
มินิมอล Minimalistเรียบง่าย เน้นพื้นที่ โล่ง โปร่งเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น เน้นเส้นตรง เรียบง่ายโทนสีขาว เทา ครีม เน้นวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หินญี่ปุ่น
ลอฟต์
Loft
ดิบเท่ โปร่ง โล่งโครงสร้างเปลือย เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นสีเข้ม อิฐ ปูนเปลือย โลหะอเมริกา
อินดัสเทรียล Industrialดิบ เท่ เน้นโลหะ โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์โลหะ อิฐ ปูนเปลือยดำ เทา น้ำตาล อิฐ โลหะอเมริกา
รัสติก
Rustic
เน้นวัสดุไม้, หิน และความเป็นธรรมชาติไม้เก่า, อิฐเปลือย ,ตกแต่งด้วยของโบราณ สีเอิร์ธโทน, ไม้, หิน, ผ้าลินิน, หนังยุโรป
ทรอปิคัล
Tropical
ใช้สีสันสดใสและลวดลายที่สะท้อนถึงธรรมชาติในเขตร้อนระบายอากาศดี
ต้นไม้ในบ้าน
หน้าต่างใหญ่
ไม้, หญ้าคา,
สีเขียว, น้ำเงิน,
สีเกี่ยวกับธรรมชาติ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เซน
Zen
เน้นความสงบและสมดุล, ใช้วัสดุธรรมชาติความสงบและสมดุล, พื้นที่เปิด,
มีระเบียบ
ไม้, หิน, กระเบื้อง
สีขาว, เทา,
สีธรรมชาติ
ญี่ปุ่น
ฮอลลีวูดรีเจนซี่
Hollywood Regency
หรูหราและอลังการ เน้นความเป็นทางการสีสันสดใส, เฟอร์นิเจอร์โค้ง,
ใช้ของตกแต่งชื้นใหญ่
สีทอง, ดำ, ขาว, ชมพูสด, กำมะหยี่,
วัสดุมันวาว
อเมริกา
นอทิคัล
Nautical
โทนสีน้ำเงินและขาว, ลวดลายที่สะท้อนถึงทะเลสมอเรือ, พังงา, ลวดลายทางเรือสีขาว, น้ำเงิน. แดง, ไม้สัก, เชือกป่าน, ผ้าลินินอเมริกา, ยุโรป
บีชคอทเทจ
Beach Cottage
ผ่อนคลาย, กลิ่นอายชายหาด, เรียบง่ายสีโทนอ่อน, เฟอร์นิเจอร์เก่า,
งานหัตถกรรม
สีฟ้า, ขาว, ทราย, ผ้าลินิน, ไม้หวายอเมริกา, ออสเตรเลีย
ฟาร์มเฮ้าส์
Farmhouse
เรียบง่าย,
อบอุ่น,
อิงธรรมชาติ
เฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณ,การใช้ลายตารางสีขาว, เทา, เขียวอ่อน, ไม้อิฐ, ผ้าฝ้าย, ผ้าลินินอเมริกา, ยุโรป
ชิโนโปรตุเกส
Sino-Portuguese
ผสมผสานศิลปะจีนและโปรตุเกสประตูโค้ง, ลวดลายปูนปั้น , กระเบื้องสีสันสดใสสีขาว, ฟ้า, แดง, ไม้, กระเบื้อง, หินไทย, มาเลเซีย
โคโลเนียล
Colonial
หรุหรา, เรียบง่าย, คลาสสิคเฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณ, การใช้ลายเส้นชัดเจน, ผ้าม่านลายดอกไม้สีครีม, ทอง, ไม้ หวาย, ผ้าฝ้าย, ผ้าลินินยุโรป อเมริกา เอเชีย
Minimalist Style มินิมอลสไตล์
Tropical Style สไตล์ทรอปิคอล
Zen Style สไตล์เซน
Hollywood Regency Style
Nautical Style
Beach Cottage Style
Farmhouse Style
Sino Portuguese Style
Colonial Style
Rustic Style สไตล์รัสติก
Loft Style ลอฟสไตล์
Industrial Style สไตล์อินดัสเทรียล

สไตล์การตกแต่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียด ดังนี้

Loft style

  • เน้นความดิบเท่ โปร่งโล่ง ผสมผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
  • มักใช้พื้นที่แบบ Open Plan โชว์โครงสร้างดั้งเดิม เช่น โครงสร้างเหล็ก เพดานสูง
  • นิยมใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น อิฐเปลือย ไม้ปูน เหล็ก
  • เฟอร์นิเจอร์เน้นดีไซน์เรียบง่าย ฟังก์ชันการใช้งาน
  • สีสันส่วนใหญ่เป็นโทนสีธรรมชาติ เช่น น้ำตาล เทา ดำ ขาว

Industrial style

  • เน้นความดิบ เท่ สมบุกสมบัน ได้รับแรงบันดาลใจจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • มักมีองค์ประกอบที่บ่งบอกถึงความเป็นอุตสาหกรรม เช่น ท่อเหล็ก เกียร์ โซ่
  • นิยมใช้วัสดุที่ทนทาน เช่น เหล็ก โลหะ ไม้เก่า
  • เฟอร์นิเจอร์เน้นดีไซน์ดิบๆ เท่ๆ
  • สีสันส่วนใหญ่เป็นโทนสีเข้ม เช่น ดำ น้ำตาล เทา

กล่าวคือ ถ้าเรานับว่าการตกแต่งที่เข้ากับยุคสมัยดูเหมาะสมกับปัจจุบันคือ สไตล์ร่วมสมัย (ContemporaryStyle) เป็นจุดตรงกลางที่เราอยู่ ณ ขณะนี้ มองทางทางซ้ายคืออดีต คือสไตล์วิเทจ (Vintage Style) อดีตที่มีช่วงเวลาที่แน่นอนของยุโรปราว ค.ศ. 1950-1970 ก็คือ สไตล์เรโทร (Retro Style) ในฝั่งที่อเมริการาว ค.ศ. 1950-1960 ก็จะมีสไตล์ที่เรีนกว่า สไตล์มิดเซนจูรีโมเดิร์น (Mid-century Modern Style) ส่วนสไตล์การตกแต่งที่ดูย้อนยุคที่ดูหรูหรา ประณีตอย่างลงตัวก็จะเรียกว่า สไตล์คลาสสิก (Classic) ในทางกลับกันสไตล์ที่มองไปข้างหน้า ล่ำสมัย ที่เน้นรูปทรงที่แปลกใหม่พร้อมไปกับฟังชั่นการใช้งาน ก็จะถูกเรียกว่า สไตล์โมเดิร์น (Modern Style)

สไตล์ลักษณะเด่นจุดสังเกตุสีและวัสดุที่มา
สไตล์ล้ำยุค
Futuristic
ดูล้ำสมัย ไม่เคยเห็น เหมือนอยู่ในหนังไซไฟ อนาตครูปทรงแปลกตา เหมือนมาจากอนาตคขาว โลหะ เรืองแสง มันวาวนิยายวิทยาศาสตร์ ไซไฟ
โมเดิร์น
Modern
เรียบง่าย เน้นฟังก์ชั่น โปร่ง โล่งเส้นตรง รูปทรงเรขาคณิต หน้าต่างบานใหญ่ขาว ครีม เทา ดำ ไม้ โลหะ กระจกยุโรป
คอนเทมโพรารี่ Contemporaryทันสมัย ผสมผสานหลายสไตล์เน้นฟังก์ชั่น ผสมผสานวัสดุ ลวดลายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับดีไซน์อเมริกา
คลาสสิก
Classic
หรูหรา อลังการ เน้นความประณีตรายละเอียดปูนปั้น เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก โคมระย้าสีทอง ครีม น้ำตาล ไม้แกะสลัก หินอ่อน ผ้ากำมะหยี่ยุโรป ยุคเรเนซองส์
ศตวรรษที่ 14-17
วินเทจ
Vintage
ย้อนยุค โบราณ คลาสสิกเฟอร์นิเจอร์เก่า ของตกแต่งโบราณโทนสีอบอุ่น ครีม น้ำตาล เน้นวัสดุไม้ ผ้า หนังยุโรป
เรโทร
Retro
ย้อนยุค เน้นความสนุกสนานสีสันสดใส ลวดลายกราฟิกโทนสีส้ม เหลือง เขียว เน้นวัสดุพลาสติก โลหะ ผ้าลายกราฟิกอเมริกา
ยุค 50s – 70s
มิดเซนจูรีโมเดิร์น
Mid-century Modern
เรียบง่าย อบอุ่น เน้นธรรมชาติเฟอร์นิเจอร์ไม้ ขาเรียว โซฟาหนัง โคมไฟตั้งพื้นสีเอิร์ธโทน น้ำตาล เขียว ส้ม ไม้ หนัง ผ้าขนสัตว์อเมริกา
ยุค 50s-60s
Futuristic Style
Modern Style
Contemporary Style
Classic Style
Vintage Style
Retro Style
Mid-Century Style


บทความโดย อ.ทายาท เตชะสุวรรณ์, บริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด

ภาพประกอบโดย Leonardo.ai

แบบประตู หน้าต่าง สัญลักษณ์แบบนี้มันคืออะไรนะ


ในการเขียนแบบเชิงสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อแสดงหน้าต่างและประตูในแบบแปลน และรายละเอียดอื่นๆ มีความสำคัญในการสื่อสารกับผู้รับเหมาและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการก่อสร้าง นี่คือสัญลักษณ์และหลักการทั่วไปที่ใช้ในการแสดงหน้าต่างและประตู

หน้าต่างบานฟิกซ์ Fixed Window: ใน แบบผังพื้น (Plan) สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ สี่เหลี่ยม ซ้ายขวาแทนเฟรม และเส้นขีดยาวหนึ่งเส้นแทนกระจก ในภาพด้าน Ellevation จะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม และถ้าวัสดุนั้นเป็นกระจกใส ก็จะมีการเขียนเส้นเป็นขีดๆ แนวทะแยงมุมสั้นๆ สองสามขีด

หน้าต่างบานเปิด, หน้าต่างบานกระทุ้ง และหน้าต่างบานทิวแอนด์เทิร์น: ในแบบผังพื้น สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ สี่เหลี่ยม ซ้ายขวาแทนเฟรมวงกบ และมีการเขียนเหมือนลักษณะการเปิด และมีเส้นโค้งรัศมี นการเปิด ในภาพด้าน Ellevation จะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม แต่จะมีเส้นเป็นลักษณะเหมือน < หรือ > โดยให้สังเกตุมุมหันไปทางใด แปลว่าเป็นจุดหมุนของตัวบานเปิด

หน้าต่างบานสไลด์ และบานยก ในแบบผังพื้น สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ สี่เหลี่ยม ซ้ายขวาแทนเฟรมวงกบ และมีสี่เหลี่ยม ซ้ายขวาเฟรมบานกระจกและเส้นขีดยาวหนึ่งเส้นแทนกระจก โดยจพสังเกตว่าตัวบานเฟรมกระจก ในภาพด้าน Ellevation จะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม แต่จะมีเส้นเป็นลักษณะเป็นลูกศรบอกทิศทางการเปิด

หน้าต่างบานเฟี้ยม ในแบบผังพื้น สัญลักษญ์จะเป็นลักษณะ แสดงให้เห็นการพับของบานที่ชัดเจน โดยจะเป็นสี่เหลี่ยมวางในแนวเอียง 45 องศา สลับกันไปมาในภาพด้าน Ellevation จะแสดงทั้งมุมในการเปิดแบบหน้าต่างบานเปิด และลูกศรแบบหน้าต่างบานสไลด์ และจะมีวิธรการนับชุดบานตัวชุดตัวเลข เช่น 6:3:3 แปลว่ามีทั้งหมด 6 บาน โดยเปิดแยกกลางไปทางซ้าย 3 ขวา 3 อีกตัวอย่างคือ 4:1:3 แปลว่ามีทั้งหมด 4 บาน โดยเปิดแยกกลางไปทางซ้าย 1 ขวา 3 อีกตัวอย่างคือ 5:0:5 แปลว่ามีทั้งหมด 5 บาน โดยเปิดแยกกลางไปทางขวาทั้งหมดเป็นต้น

ท้ายนี้บทความรู้จะช่วยให้ ร้านคู่ค้าของเรา ร้านขายผ้าม่านต่างๆ ดูแบบบ้านลูกค้าได้ง่าย และมีความเข้าใจมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการคิดแบบคำนวนราคา นิทัสเราเป็นผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ นะจ๊ะ ไม่ต้องทักมาถามหาซื้อประตู วงกบ หน้าต่าง งานเฟรมอลูมิเนียม น่าาาาาา 55555


การวัดหน้าต่างบ้าน NORDIC Style

สไตล์นอร์ดิก (Nordic Style) หรือสไตล์สแกนดิเนเวียน (Scandinavian Style) เป็นสไตล์การตกแต่งภายในและการออกแบบบ้านที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์

องค์ประกอบหลักๆ ของบ้านสไตล์นอร์ดิกประกอบด้วย

  • สีสันที่เรียบง่าย: มักจะใช้สีขาว เทา และสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เช่น สีไม้หรือสีเบจ เพื่อสร้างบรรยากาศที่สว่างและอบอุ่น
  • การใช้แสงธรรมชาติ: บ้านสไตล์นอร์ดิกมักจะมีหน้าต่างใหญ่เพื่อให้แสงธรรมชาติเข้ามามากที่สุด
  • การใช้ไม้และวัสดุธรรมชาติ: ไม้เป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการตกแต่งและสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
  • การออกแบบที่เรียบง่าย: ใช้เส้นสายที่เรียบง่าย ไม่มีการตกแต่งที่ซับซ้อน เพื่อให้ดูสะอาดและโปร่งสบาย
  • เฟอร์นิเจอร์ที่มีฟังก์ชั่น: มักจะเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้หลายรูปแบบและมีการออกแบบที่เรียบง่าย
  • การใช้สิ่งทอที่นุ่มนวล: ผ้าคลุม หมอน และพรมที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและความสบาย
  • การใช้ต้นไม้และพืชในบ้าน: ต้นไม้และพืชช่วยเพิ่มความสดชื่นและสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น

บ้านสไตล์นอร์ดิกกำลังเป็นที่นิยมมากในเมืองไทย เนื่องจากความเรียบง่ายและความอบอุ่นที่สไตล์นี้นำมา นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งและเพิ่มสไตล์ส่วนตัวของเจ้าของบ้าน ทำให้สามารถสร้างบ้านที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ได้ตามความต้องการของผู้พักอาศัย

แต่หลายคนคงสังเกตว่า สไตล์แบบนอร์ดิก เป็นสไตล์ที่มีจากแถบทวีปเขตอบอุ่น ที่เขาต้องการแสงแดดจากธรรมชาติ แต่สำหรับเมืองไทย เป็นที่รู้กันอยู่ว่า เมืองไทยมีแค่สามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก และร้อนสุดๆ ฉะนั้นการที่บ้านเรามีหน้าต่างบ้านใหญ่ที่เป็นทรงจั่วสามเหลี่ยมที่รับแสงขนาดนั้น เราคงต้องมีการติดผ้าม่านช่วยในการกันแสงแดด และลดความร้อนภายในบ้าน แต่ด้วยทรงของบ้านที่ทรงหน้าต่าง ไม่ได้เป็นในรูปแบบสี่เหลี่ยมปกติ เป็นรูปทรงที่เป็นจั่วสามเหลี่ยมขึ้นไปเลยแบบนั้น เราจะมีวิธีในการคำนวณได้อย่างไรกันนะ

ลองมาดูวิธีง่ายๆ ในการคำนวณตามข้อมูลด้านล่างนี้กันเลย


TPU Backing

ผ้าเคลือบเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน (TPU ) เป็นนวัตกรรมการสร้างวัสดุคอมโพสิต (Composite materials) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะให้กับเนื้อวัสดุ เป็นกระบวนการเคลือบประกบ (Laminating) ระหว่างวัสดุ 2 ชั้น เข้าด้วยกัน ในที่นี้ชั้นบนจะเป็นเนื้อผ้า และแผ่นฟิล์ม TPU ที่ถูกนำไปเคลือบด้านหลังของผ้า โดยกระบวนการเคลือบนี้กระบวนการนี้ ทำได้โดยการให้ความร้อนกับ แผ่นฟิล์ม TPU ในอุณหภูมิใกล้จุด MP (Melting point) หรือจุดที่แผ่นฟิล์ม TPU อ่อนตัวใกล้จุดหลอมเหลว จากนั้นจึงนำไปเคลือบประกบด้วยแรงกดให้ประสานกันกับเนื้อผ้า และเมื่อแผ่นฟิล์ม TPU ที่ประสานเป็นแบคกิ้งกับเนื้อผ้า เย็นลงแล้ว จะเป็นการเสริมความแข็งแรงให้กับเนื้อผ้า ในขณะเดียวกันก็ให้ความยืดหยุ่น และมาพร้อมคุณสมบัติป้องกันน้ำ และความชื้นได้ 100% ส่งผลให้ตัวเบาะฟองน้ำด้านใน สะอาดอยู่เสมอและไม่สัมผัสความชื้นโดยตรงลดโอกาสในการเกิดเชื้อราสะสมภายใน ยืดอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ตัวโปรดของคุณ

TPU (Thermoplastic Polyurethane) ขึ้นชื่อในด้านคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม เช่น ความยืดหยุ่น ความโปร่งใส ความต้านทานต่อน้ำมัน และการเสียดสี ทำให้เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการใช้งานต่างๆ เมื่อใช้เป็นวัสดุเคลือบรองหลังสำหรับผ้า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผ้าโดยให้คุณสมบัติต่างๆ เช่น การกันน้ำ ความยืดหยุ่น และความทนทาน โดยไม่กระทบต่อเนื้อผ้าหรือหน้าตาเดิมของเนื้อผ้า

The Thermoplastic Polyurethane (TPU) coating is an innovative technique used in composite material fabrication to enhance specific properties of the fabric. It involves a laminating process between two layers, where the upper layer consists of fabric and the lower layer is a TPU film applied to the back of the fabric. The coating process is achieved by heating the TPU film close to its melting point or the temperature at which the film becomes soft. Then, it’s pressed onto the fabric to bond them together. Once the TPU film cools and bonds with the fabric, it reinforces the fabric’s strength while maintaining its flexibility. Additionally, it provides 100% waterproofing and moisture resistance.

This process strengthens the fabric, ensuring that the inner foam remains clean and unaffected by direct moisture exposure, reducing the likelihood of mold accumulation. TPU, renowned for its remarkable qualities such as flexibility, transparency, oil resistance, and colorfastness, has become a popular choice in various applications. When used as a backing material for fabrics, TPU significantly enhances their performance without compromising the original look or feel of the fabric. It offers properties like water resistance, flexibility, and durability without altering the fabric’s appearance.


ตามหาผ้านิทัส ที่มีคุณสมบัติ TPU Backing ได้แล้ววันนี้ เพียงคุณสังเกตุสัญลักษณ์นี้

ผ้าที่มีคุณสมบัติ TPU Backing

ผ้าเอาท์เอร์ Outdoor Fabric: 30087 LAKE COMO, 30088 LENNO, 30089 VARENNA, 30090 BELLAGIO, 30091 LOMBARDY


ผ้า Velvet, Chenille, Corduroy, Felt, Terry ต่างกันยังไง

ก่อนอื่นเราว่า ผ้าทั้ง 5 ตัวนี้แตกต่าง หรือเหมือนกันอย่างไร เรามาดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกผ้าเหล่านี้กันก่อนดีกว่า

  1. ผ้ากำมะหยี่ ชื่อภาษาอังกฤษคือ Velvet
  2. ผ้าเชนิลล์ ชื่อภาษาอังกฤษคือ Chenille
  3. ผ้าลูกฟูก ชื่อภาษาอังกฤษคือ Corduroy
  4. ผ้าเทอร์รี่ หรือ ที่เรียกกันว่าขนหนู ชื่อภาษาอังกฤษคือ Terry
  5. ผ้าสักหลาด ชื่อภาษาอังกฤษคือ Felt

ผ้ากำมะหยี่ (Velvet), ผ้าเชนิลล์ (Chenile), ผ้าลูกฟูก (Corduroy), ผ้าเทอร์รี่ (Terry), และผ้าสักหลาด (Felt) เป็นชื่อผ้าประเภทต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างกันและอาจมีลักษณะบางอย่างที่ เช่นความหนานุ่มฟู มีขน ที่คล้ายกัน จนอาจทำให้หลายคนเกิดความสสับสน วันนี้ นิทัสจะพาทุกท่านไปดูถึงความแต่ต่างของผ้าแต่ละอย่างที่กล่าวมาข้างต้น


1. ผ้ากำมะหยี่ Velvet

กำมะหยี่ Velvet: เป็นผ้าที่มีขนนุ่มเรียบเงา เนื้อสัมผัสเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และเมื่อมองในองศาที่แตกต่างกันสีสันก็จะมีมิติเข้มอ่อนต่างออกไปด้วย เริ่มแรกมักผลิตจากเส้นใยไหม เพราะเป็นเส้นใยธรรมชาติเดียวที่ให้ความเงางามที่สุด ก่อนที่มนุษย์จากผลิตเส้นใยสังเคราะห์ได้ ปัจจุบันมีทั้ง ฝ้าย (Cotton) หรือเส้นใยสังเคราะห์ เช่น Polyester ผ้ากำมะหยี่สามารถผลิตได้ทั้งการทอ (Weaving) และการถัก (Knitting) ผลิตโดยการทอผ้าเป็นสองชั้น และมีเส้นด้ายที่ทอเชื่อมระหว่างชั้นผ้า และในขั้นตอนสุดท้ายก็จะมีใบมีดมาตัดเส้นด้ายที่ทอเชื่อมระหว่างชั้นนั้นออก แบ่งผ้าได้ออยกมาเป็นสองชิ้นโดยหน้าผ้าจะประกบหันเข้าหากันในตอนทอ และเส้นด้านที่ทอเชื่อมระหว่างชั้นนั้นก้คือขนที่เรียงตัวตั้งขึ้นอย่างหนาแน่น จากการโดนตัดนั้นเอง ผ้ากำมะหยี่ให้รูปลักาณ์ที่ดูหรูหรา มักใช้เป็นผ้าหุ้มเบาะ และผ้าม่านในการตกแต่งแบบคลาสสิก มักเห็นสีที่เป็นสี Traditional อย่างสีแดง ดำ เขียว น้ำเงิน และทอง เป็นต้น

Velvet is a fabric characterized by its soft, smooth, and lustrous pile. Its distinctive tactile quality sets it apart, and when viewed from different angles, it displays a play of light and dark shades, creating a multidimensional appearance. Initially, it was often produced from silk fibers, as they naturally provided the utmost luster and beauty. However, humans have since been able to manufacture synthetic fibers for velvet, using materials such as cotton or synthetic fibers like polyester. Velvet fabric can be produced through weaving and knitting processes.

In weaving, the fabric is created in two layers with yarns interwoven between them. In the final stage, a blade cuts the interwoven yarns, separating the fabric into two pieces. The front side of the fabric faces inward during weaving, and the interwoven yarn forms a densely packed pile that creates the fabric’s luxurious appearance. Velvet fabric is commonly used for upholstery and curtains in classic interior decorations. Traditional colors like red, black, green, blue, and gold are frequently observed in velvet textiles.

รายชื่อผ้านิทัสที่เป็นเนื้อ Velvet

ม่านก็ได้บุก็ดี Dual Purpose: 30011 NEO CLASSIC, 30030 NOUVEAU, 40042 CHARLOTTE


2. ผ้าเชนิลล์ Chenille

“Chenille” เป็นคำภาษาฝรั่งเศสที่หมายถึง หนอนผีเสื้อที่มีขนฟูรอบตัว จึงกลายเป็นชื่อเรียกของเส้นด้ายชนิดพิเศษ (Fancy yarn) ประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นขนฟูๆ ปั่นตีเกียวรอบ หรือเรียกว่า เส้นด้ายเชนิลล์ (Chenille yarn) สามารถผลิตจาก ฝ้าย (Cotton) ไหม (Silk) ขนสัตว์ (Wool) หรือเส้นใยสังเคราะห์ จากนั้นนำเส้นด้ายดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการทอปกติ เนื้อผ้าที่ได้ ก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม คล้ายกับผ้า Velvet เป็นอย่างมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับผ้ากำมะหยี่แล้ว ในการผลิตค่อนข้างที่จะง่ายกว่า เพราะผ้า Velvet ต้องใช้เครื่องทอผ้า velvet โดยเฉพาะ ส่วนผ้าเชนิลล์ สามารถทอกับเครื่องทอตามปกติ แต่ต้องมีฟังก์ชั่นในการส่งเส้นด้าย ที่มีลักษณะใหญ่และฟูกว่าเส้นด้ายปกติ พุ่งไปกับกระสวยด้ายให้ได้ ผ้าเชนิลล์มักใช้ทำทำผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ผ้าคลุมเตียง รวมถึงเสื้อผ้า และของตกแต่งอื่นๆ อีกด้วย

“Chenille” is a French word that refers to a caterpillar of a butterfly or moth that has fuzzy hair around its body. It has also become the name for a type of fancy yarn, a specific category of yarn characterized by its fuzzy, tufted appearance. Chenille yarn can be produced from various materials such as cotton, silk, wool, or synthetic fibers. The yarn is then processed through conventional weaving methods. The resulting fabric is distinctive, with a soft and velvety texture, often resembling velvet. In comparison to velvet, chenille fabric is relatively easier to produce because it can be woven on standard looms, although the yarn used should have a larger and fluffier characteristic. Chenille fabric is commonly used in the manufacturing of furnishings, bedspreads, clothing, and various decorative items.

Chenille plant
Chenille yarn

ลักษณะของเส้นด้ายเชนิลล์นี้ ก็คล้ายกับดอกของ ต้นหางกระรอกแดงหรือดอกหางแมว เป็นลักษณะเป็นขนๆ เกลียววนบริเวณก้าน คล้ายกับรูปถ่าย ที่ยายใหญ่เพื่อให้เห็นชัดๆ กับลักษณะของเส้นด้านเชนิลล์

The characteristics of this chenille yarn are similar to the Chenille plant/ Red hot cat’s tail. It has a furry, thread-like appearance that curls around the stem, much like the close-up image provided to clearly illustrate the characteristics of chenille yarn.

นิทัสเรามีผ้าที่เป็นเนื้อ Chenille หลากหลายตัวให้ทุกท่านได้เลือกใช้ ดังนี้


3. ผ้าลูกฟูก Corduroy

ผ้าลูกฟูกเป็นผ้าที่มีลักษณะเป็นสันนูนขนานยาวต่อกันไป คลายเส้นเชือก ทอดยาวไปตามความยาวของผ้า ซึ่งรากศัพท์ก็มาจากคำว่า Cord ซึ่งแปลว่า เชือก นั้นเอง โดยทั่วไปแล้วจะทำมาจากผ้าฝ้าย (Cotton) ผ้าลูกฟูกขึ้นชื่อเรื่องความทนทานและความอบอุ่น เรามักเห็นผ้าลูกฟูก ในวงการแฟชั่น เช่น กางเกง เสื้อแจ็คเก็ต รวมถึง วงการ การตกแต่งภายใน ด้วยการนำมาหุ้มเบาะอีกด้วย เนื่องด้วยผ้าลูกฟูกนี้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มนวล แต่มีความทนทาน ได้รับความนิยมตามเทรนด์ตกแต่ง นับว่าเป็นผ้าคลาสสิกสำหรับทั้งด้านแฟชั่นและการตกแต่งภายใน

ผ้าลูกฟูกผลิดโดยเทคนิคการทอ (Weaving) แบบพิเศษ ที่จะทอเส้นด้ายกระโดดข้ามเป็นช่วงๆ จากนั้นก็จะมีใบมีดสอดตัวเข้ามาใต้เส้นด้ายที่ข้ามนั้นมาตัดในส่วนที่เส้นด้ายนั้นขาดออกจากกัน เกิดเป็นกลุ่มเส้นขนผ้า (Pile) ที่ตั้งและฟูขึ้น เป็นแถวแนวยาวไปตลอดผืนผ้าที่เราเห็นนั้นเอง

Corduroy is a fabric characterized by parallel, raised lines running lengthwise, achieved by weaving together twisted fibers. The term “Corduroy” originates from the word “cord,” which translates to “twisted rope” or “cord” itself. Generally, this fabric is commonly made from cotton and has gained renown for its durability and warmth. Corduroy is frequently employed in the fashion industry, such as in the production of trousers, jackets, and even in interior decoration, often used to cover cushions. Due to its soft and velvety texture, coupled with its resilience, corduroy has become a classic fabric choice for both fashion and interior design trends.

The production of corduroy involves a specialized weaving technique, where yarns intermittently skip over one another. Subsequently, a blade is inserted beneath these skipped yarns to cut and separate them, resulting in the formation of raised tufted ridges running lengthwise across the fabric. These raised ridges form a pattern of alternating parallel lines, creating the distinctive corduroy texture visible on the fabric.


4. ผ้าเทอร์รี่ Terry

ผ้าเทอร์รี่ (Terry): ผ้าเทอร์รี่ มีทั้งที่เป็นผ้าทอ เรียกว่า Terry cloth และผ้าจากการถัก French Terry หรือที่เรียกว่า ผ้าเกล็ดปลา

4.1 ผ้าเทอรี่ (Terry cloth) เป็นผ้าทอ (Woven) ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีที่สุดคือ ผ้าขนหนู นั้นเองเป็นที่ทอโดยมีเส้นด้านลอยตัวขึ้นห่วงทั้งสองด้านทำให้ดูดซับน้ำได้ดี มักทำจากผ้าฝ้าย (Cotton) มักเห็นในผ้าเช็ดตัว เสื้อคลุมอาบน้ำ เป็นต้น

Terry cloth refers to a woven fabric that is recognized for its looped pile construction, commonly known as Terry cloth, and a knitted fabric known as French Terry or sometimes referred to as fish-scale fabric.

When discussing woven Terry cloth, the most familiar variant is the terrycloth towel, woven with loops on both sides that allow for excellent water absorption. It’s often made from cotton and is frequently found in bath towels, bathrobes, among other items used for drying purposes.

4.2 ผ้าเฟรนช์เทอร์รี่ (French Terry) เป็นผ้าที่เกิดจากการถัก (Knitting) โดยใช้เครื่องถักแบบพิเศษ โดยด้านหนึ่งจะมีรูปแบบเหมือนผ้ายืด เหมือนเสื้อยืดทั่วไป แต่ด้านหลังผ้าจะมีเส้นด้ายยาวออกมาเป็นห่วง มองจากด้านหลังผ้าเส้นด้านที่เป็นห่วงล้มซ้อนๆ กันคล้ายกับเกร็ดปลา คนไทยจึงเรียกผ้านี้ว่า ผ้าเกล็ดปลาโดยเห็นได้ทั่วไปจะใช้ในชุดลำลอง เช่น เสื้อสเวตเตอร์ และเสื้อผ้าสำหรับเล่นกีฬา เป็นต้น

French Terry fabric is a knitted textile produced using specialized knitting machines. One side of the fabric resembles typical stretchy knit fabric, similar to that of regular T-shirts. However, the other side of the fabric features long, looped threads that form a piled surface, resembling fish scales when viewed from the back due to the overlapping loops. In Thailand, this fabric is commonly referred to as “fish scale fabric.” It is widely used in loungewear sets, such as sweatshirts, as well as in sportswear garments, among other clothing items.


5. สักหลาด Felt

สักหลาด (Felt): สักหลาดเป็นผ้าไม่ถักไม่ทอ (Nonwoven) ที่ทำโดยการปูเส้นใยไปมา ให้มีความหนาช่วงหนึ่ง จากนั้นใช้แรงดันกดบีบอัด พร้อมด้วยความร้อนให้กลายเป็นแผ่น เริ่มแรกนิยมผลิตขนสัตว์เป็นวัสดุแรกๆ ในปัจจุบัน ผ้าสักหลาด ส่วนใหญ่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หรืออะคริลิค (Acrylic) สักหลาดมักเห็นในหลากหลายการนำไปใช้ เช่น งานฝีมือ หมวก กระเป๋า รองเท้า พรมอัด และเป็นวัสดุรองในวัสดุบางชนิด เป็นต้น

Felt is a nonwoven fabric created by interlocking fibers and compressing them under pressure and heat, rather than weaving or knitting. Historically, it was initially made from animal hair, but modern felts are predominantly manufactured using synthetic fibers such as polyester or acrylic. Felt finds application in various fields including handicrafts, hats, bags, shoes, pressed carpets, and as an underlying material in certain products.


ผ้าม่านพร้อมช่องระบายอากาศในตัว

90039 HOSPITAL SPA

สิ้นสุดการรอคอยกับ นวัตกรรมผ้าโปร่งที่ออกแบบโครงสร้างการถักทอแบบพิเศษ ให้สร้างความเป็นส่วนตัว แต่ถ่ายเทอากาศได้ดี “กั้นห้อง ไม่กั้นแอร์”

มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษ

  • Anti Bacterial ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ตอบโจทย์สำหรับห้องที่ต้องการความพิถีพิถันเรื่องความสะอาด เช่น สถานพยาบาล สปา และห้องสำหรับดูแลผู้สูงอายุ
  • Flame retardant กันไฟลาม คุณสมบัติพื้นฐานสำหรับผ้าม่านที่ใช้กับพื้นที่สาธารณะ อาคารสูง/คอนโดมิเนียม และที่อยู่อาศัยที่มีเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ
  • Water Repellent สะท้อนน้ำ คุณสมบัติที่ช่วยยืดอายุการใช้ให้กับผ้า
  • AirFlow มีช่วงการถักทอเป็นตาข่ายขนาดใหญ่กว้างถึง 60 เซนติเมตรที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดีเยี่ยม โดยยังให้ความเป็นส่วนตัวแบบผ้าม่านปกติ

คุณลักษณะ

  • เทคโนยีการถักทอแบบพิเศษ สามารถถักเป็นช่วงทึบ และเป็นตาข่ายโปร่งได้ ในผืนเดียว ช่วยประหยัดต้นทุนไม่ต้องเย็บต่อระหว่างผ้าทึบ และผ้าโปร่งแบบตาข่ายอีกต่อไป
  • นิทัสเรามีให้เลือกถึง 9 สี ครบจบทุกสไตล์การตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็น สปา, โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นห้องทั่วไป ห้องผู้ป่วยเด็ก เป็นต้น
  • ผ้าหน้ากว้างถึง 280 เซนติเมตร ใช้กับห้อง เพดานสูง 240-270 เซนติเมตร ได้สบายโดยไม่ต้องดรอปราง
  • ดูแลรักษาง่าย สามารถนำไปซักเครื่องซักผ้าได้ ในอุณภูมิน้ำปกติ รีดในอุณหภูมิต่ำ และส่งซักแห้งได้

เหมาะกับ

  • สถานพยาบาล, โรงพยาบาล, คลีนิค ใช้กั้นระหว่างเตียงผู้ป่วย
  • สถานเสริมความงาม, สปาใช้กั้นระหว่างเตียงนวด, ร้านตัดผมในส่วนสระผม
  • กั้นแบ่งพื้นที่เป็นห้องสำหรับดูแลผู้สูงอายุ กั้นรอบเตียงนอนของผู้สูงอายุ


แดงไหน? แดงม่านโรงละคร

“โลกคือละคร ทุกตอนต้องแสดง ทุกคนทนไป อย่าอาลัย ยิ้มกันสู้ไปจะได้สบาย สุขกันเถอะเรา”


ผ้าม่านกำมะหยี่สีแดงในโรงหนังหรือโรงละครมักถูกใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นในช่วงของการแสดง เป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งภายในที่มุ่งเน้นให้ความสนุกสนานและน่าตื่นเต้น สีแดงมักถูกพิจารณาว่าเป็นสีที่มีพลังและเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ในสถานที่ที่ต้องการสร้างบรรยากาศของความตื่นเต้น นอกจากนี้ สีแดงยังมีความสำคัญทางจิตวิทยาในการกระตุ้นความกระตือรือร้นและความสนใจของผู้ชมด้วย การใช้ผ้าม่านสีแดงในโรงหนังหรือโรงละครจึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมเนื่องจากความสามารถในการเพิ่มความมีชีวิตชีวาและสร้างความตื่นเต้นในระหว่างการแสดงในโรงละครหรือโรงหนังได้อย่างดี และมักจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้ชมทั่วไปด้วย

ใครที่อยากแต่งบ้านให้ผ้าม่านเหมือนอยู่ในโอเปร่า ในโรงละคร หรือทำเป็นโฮมเธียเตอร์ในบ้าน วันนี้นิทัส เทสซิเล เรามีผ้าเนื้อ Velvet หรือที่เรียกว่า ผ้ากำมะหยี่ สีแดงในอุดมคติของโรงละคร รวมถึงสีดำคลาสสิกใช้ง่าย และสีอื่นๆ ให้เลือกมากมาย เช่น

  • 30011 NEO CLASSIC เป็นเนื้อ Matt ไม่เงา ได้ลุคทันสมัย
  • 30030 NOUVEAU เงางามตามต้นฉบับของผ้า Velvet หรูหรา

พร้อมคุณสมบัติกันไฟลาม Flame Retardant: CA TB 117 ทั้งสองตัว และผ่านการทดสอบการขัดถู Abrasion Resistant ที่มากกว่า 35,000 ซึ่งสามารถใช้ได้กับพื้นที่สาธารณะ เช่น พื้นที่ต้อนรับของโรงแรม สถานีขนส่งสาธารณะ ฉนั้นผ้าทั้งสองตัวนี้มีความแข็งแรงมากเกินพอ ที่จะนำมาบุเป็นเฟอร์นิเจอร์ตัวโปรดในบ้าน ทั้งยังสามารถเย็บเป็นผ้าม่านที่ทิ้งตัวดี ให้ลอนที่สวย และคุณสมบัติลับอีกอย่างหนึ่งของผ้ากำมะหยี่ เป็นผ้าที่มีเนื้อเป็นขนๆ ฟูๆ มีความหนากว่าเนื้อผ้าม่านปกติ จึงมาพร้อมคุณสมบัติที่สามารถซับเสียงได้ในระดับหนึ่ง ช่วยลดเสียงก้อง เสียงสะท้อน ได้อีกด้วย นิยมมากสำหรับคนที่จะทำ มินิโฮมเธียเตอร์ในบ้าน

สามารถ คลิกที่ตัวผ้า เพื่อดูสีอื่นๆได้