fbpx

ม่านเปิดทางเดียวหรือม่านแยกกลางดี

แบบไหนที่นิทัสเราแนะนำ ไปดูกันเลย


A หน้าต่าง บานฟิกซ์


B หน้าต่างหรือประตู บานฟิกซ์ 1 บานสไลด์ 1


C หน้าต่างหรือประตู บานสไลด์ 2


D หน้าต่างหรือประตู บานฟิกซ์ 2 บานสไลด์ 1


E หน้าต่างหรือประตู บานฟิกซ์ 1 บานสไลด์ 2


F หน้าต่างหรือประตู บานฟิกซ์ 2 บานสไลด์ 2


Repeat คืออะไร และวัดยังไง

ว่าด้วยการออกแบบลวดลายนั้น โดยปกติ จะมีการออกแบบลวดลายอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. ลวยลายแบบไม่ต่อลาย (Individual Design) คือจะเป็นลวดลายที่สร้างสรรค์ขึ้นมาแบบเดี่ยวๆ แยกกัน หรือเป็นกลุ่มลายที่ไม่ต่อเนื่องกัน เมื่อนำมาต่อกันก็จะเป็นลักษณะ เป็นกลุ่มๆ ที่ซ้ำกันเหมือนเราปูกระเบื้องที่ลวดลายไม่ต่อเนื้องกัน

2. ลายแบบต่อเนื่องกัน (Repeat Pattern Design) เป็นลวดลายที่ออกแบบโดยเฉพาะให้มีความต่อเนื่อง เมื่อเรานำลายมาชนต่อกันแล้ว ทั้งซ้าย-ขวา, บน-ล่าง ลวดลายนั้นก็จะต่อเนื้องสม่ำเสมอกันทั้งหมด

ตัวอย่างลาย 1 Repeat
ที่อย่าลายที่ออกแบบมาให้ต่อเนื่องกัน

การสังเกตุ และวัดระยะของลายผ้า Repeat ทำได้อย่างไร? จริงๆ เป็นสิ่งที่ง่ายมากๆ โดยเราจะหาจุดสังเกตุจุดใดก็ได้ของลายผ้าที่เด่นชัด เช่นตามตัวอย่างรูปด้านล่าง เราจะเอาปลายก้านของช่อดอกนั้นเป็นตำแหน่งหลักในการวัดระยะ

สังเกตุจากจุดหลักตั้งต้น และมองหาจุดที่ลายผ้านั้นซ้ำกัน มองไปทิศทางซ้ายไปขวา คือค่าความกว้าง (Width) และในส่วนของแนวตั้ง (Height) จากจุดที่ลายผ้าซ้ำกัน เราก็จะได้ขนาดของ Repeat ผ้านั่นเอง


ความสำคัณของ Repeat คือ ในการตัดเย็บผ้าม่าน หรือผ้าบุโซฟาตัวใหญ่ ที่ต้องมีการต่อลายให้ลวดลายต่อเนื่องกัน ฉะนั้น การรู้ตัวเลขของระยะซ้ำของลายผ้านั้นก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะต้องใช้ในการคำนวนผ้าเพื่อให้ระยะการต่อลวดลายลงตัว

รูปตัวอย่าง การต่อผ้าของผ้าม่าน

ในกรณีผ้าม่านที่ไม่มีลวดลายหรือเป็นเพียงเท็กเจอร์เล็กๆ ในลายผ้านั้น ก็จะไม่มีปัญหาในลายผ้าแต่อย่างใด เพราะลายนั้นมันเล็กเกินกว่าจะสังเกตุได้ว่าไม่ต่อเนื่องกัน

ตัวอย่างลวดลายผ้าเมื่อกางออกมาจากม้วนผ้า
ตัวอย่างการต่อลายผ้าโดยไม่ได้คำนวนเผื่อระยะ Repeat ตะเข็บรอยต่อลวดลายจะไม่ต่อเนื่องกัน
ตัวอย่างการต่อลายผ้าโดยรู้ระยะของ Repeat ผ้า ตะเข็บรอยต่อลวดลายจะต่อเนื่องกันสวยงาม

ดรอปฝ้าซ่อนราง และกล่องบังราง ต้องเว้นระยะเท่าไหร่

หลายคนที่เคยแต่งบ้าน แล้วสังเกตุการติดตั้งม่าน แล้วทำไมรู้สึกว่า บ้านตัวอย่าง หรือบ้านเพื่อนที่เราไปเที่ยวหา ทำไมผ้าม่านนั้นดูสวยลงตัว เป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้ดี สิ่งที่สำคัญคือ การดรอปฝ้า  (Drop Ceiling) ซ่อนรางม่านและหัวม่านยังไงละ แต่สำหรับบางบ้านที่ไม่ได้วางแผนกับการดรอปฝ้าไว้ตั้งแต่แรก หรือไม่อยากรื้อให้เป็นเรื่องใหญ่ ก็มีวิธีการแก้ไขโดยการ เสริมกล่องบังราง (Curtain Cornice, Pelmet) แล้วทั้งสองอย่างนี้ เค้าเว้นระยะกันเท่าไหร่ ไปดูกันเลย

ตัวอย่างห้องที่มีการออกแบบในการดรอปฝ้า

สำหรับลูกค้าบ้าน ถ้าต้องการดรอปฝ้า ควรปรึกษาเรื่องแบบบ้าน ตั้งแต่แรกก่อนสร้างบ้าน เพราะต้องกำหนดระยะความสูงจากพื้นถึงฝ้าตั้งแต่แรก เพราะถ้าไม่ได้กำหนดไว้ ในการปรับปรุงตกแต่งที่หลังอาจส่งผลให้ระดับฝ้าจะต่ำกว่าปกติ ทำให้รู้สึกอึดอัด งานส่วนนี้ ต้องปรึกษา และทำด้วยผู้รับเหมาตกแต่งบ้านที่เชี่ยวชาญ ร้านม่านโดยทั่วไปมักทำในส่วนนี้ไม่ได้ นะครับ


ตัวอย่างการแก้ปัญหาด้วยการเสริมกล่องม่านบังราง

สำหรับงานเสริมกล่องบังรางนั้น เป็นงานเสริม เพิ่มความสวยงานโดยไม่ได้ไปยุ่งกับระดับของตัวฝ้าเพดานเดิม สามารถบอกทางร้านม่านเลยตั้งแต่แรกว่าต้องการทำสิ่งนี้ด้วย เพื่อง่ายต่อการคำนวนและเข้าวัดพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง และงานส่วนนี้ร้านม่านทั่วไปสามารถทำได้


โดยทั่วไปแล้วการตัดเย็บผ้าม่านสำหรับรางสไลด์ มักตัดเย็บกันในสองรูปแบบ 1. แบบคลาสสิกคือ ม่านสามจีบ 2. แบบโมเดิร์น คือแบบลอน S ซึ่งรูปแบบการตัดเย็บทั้งสองแบบมีผลกับการเว้นระยะห่างอย่างยิ่ง เพราะม่านสามจีบมีการเก็บช่วงลอนของม่านเป็นในรูปแบบจีบแล้ว ซึ่งจะทำให้กินระยะน้อยว่าม่านลอน S ที่มีช่วงลอนโค้งกินไปทางหน้าและหลังที่เท่าๆ กัน

แล้วการเว้นระยะห่างจากผนังถึงขอบของฝ้าเป็นระยะเท่าไหร่ หรือการเสริมกล่องม่านต้องเว้นเท่าไหร่ ก็ไปดูกันเลย

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ช่วยให้หลายท่านวางแผนในการออกแบบตกแต่งภายใน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผ้าม่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


คราฟต์ (Craft) นะครับ

งานคราฟต์ Craft โดยปกติแล้ว งานคราฟต์คือเป็นงานที่ใช้ฝีมือ มือมนุษย์ในการทำการผลิตชิ้นงานนั้นๆ ขึ้นมาโดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยากที่จะเรียนแบบด้วยระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม สำหรับเรื่องเกี่ยวกับผ้าแล้วงานคราฟต์ในวงการผ้า ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าโดยการใช้เทคนิคพิเศษ (Hand Weave) ในแต่ละท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการ มัดหมี่ ขิด จก ล้วง และก็ยังมีการคราฟต์อีกรูปแบบหนึ่งที่รูปแบบการทออาจไม่พิเศษมากนัก แต่จะเน้นที่เส้นด้ายที่มีความพิเศษ แสดงถึงความเป็นฝีมือคนทำ คือการไม่สมบูรณ์แบบ เส้นด้ายที่ออกมาจะมีความเป็นสลาฟ มีความไม่เท่ากัน เล็กใหญ่ ความไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นมนต์เสน่ห์สำคัญ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า ผ้าที่ผลิตด้วยการทอมือ ผ้าทอพื้นบ้าน นั้นจะมีความแข็งแรงน้อย (Tensile Strength) ความแน่นในการทอ (Density) ต่ำและไม่สม่ำเสมอ แม้ในวงการแฟชั่นเอง ยังมีการเสริมความแข็งแรงด้วยผ้ากาว ยิ่งถ้าในอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ การเอาผ้าเหล่านี้มาใช้เป็นผ้าเฟอร์นิเจอร์ หรือบุโซฟาตัวโปรดของคุณนั้น ยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ผ้าจะสั้นมาก เพราะผ้านั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรับสภาวะของการใช้งานอย่างหนัก อย่างผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไป ซึ่งปกติผ้าบุเฟอร์นอเจอร์ต้องมีการทดสอบการขัดถู (Abrasion Resistance) ตามมาตรฐานสากล

30062 PENINSULA เมื่อมองในระยะใกล้ๆ

สำหรับคนที่โหยหามนต์เสน่ห์ของผ้าคราฟต์ มาเป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ วันนี้นิทัสเรามีผ้าบุเฟอร์เจอร์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สามารถผลิตเส้นด้ายให้มีความเหมือนกับเส้นด้ายปั่นด้วยมือ (Hand Spun) มีความเป็นสลาฟ เส้นเล็กใหญ่ แต่มีความแข็งแรง และเทคโนโลยีการทอที่ทันสมัยที่สามารถป้อนด้ายที่มีความไม่สม่ำเสมอเข้าในกระบวนการทอได้ ให้อารมณ์ของงานคราฟต์ได้อย่างเต็มเปี่ยม พร้อมด้วยความแข็งแรงของตัวเนื้อผ้า ที่ทุกตัวมีการทดสอบการขัดถู (Abrasion Resistance) ในมาตรฐานเดียวกับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไป

30066 PARADISO-101 CREAM

อีกทั้งคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ (Water Repellrnt) ที่เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผ้าของคุณไม่เปื้อนและเก่าง่าย ช่วยเพิ่มอายุการใช้งาน แต่ด้วยลักษณะของเนื้อผ้าที่มีเท็กเจอร์ของผ้าที่ไม่เรียบเนียน ตามสไตล์งานคราฟต์ ประสิทธิภาพของการสะท้อนน้ำนี้ก็จะมากน้อยแตกต่างกันไป


ผ้าของนิทัส ที่ให้อารมณ์แบบงานคราฟต์

ซึ่งในรูปถ่ายอยู่ในขนาด 15×15 เซนติเมตร

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

จากปัญหา สู่ปัญญา Shrinkage Yarns

เคยเจอไหมกับปัญหาผ้าหด Fabric Shrinkage ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ หรือแม้กระทั่งยีนส์ตัวโปรดของคุณ เมื่อนำไปซัก ปรากฎว่าอยู่ๆเราก็ได้เสื้อผ้าเล็กลงหนึ่งไซส์หรือผ้าหดนั้นเอง ส่วนใหญ่แล้วผ้าหดมักจะเกิดกับผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ขนสัตว์ เป็นต้น แต่ทำไม่ผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์มักจะไม่ค่อยหดเท่ากับเส้นใยธรรมชาติ สาเหตุคือ

เส้นใยฝ้าย ดูจากลักษณะของเส้นใย แล้วจะมีลักษณะเส้นบิดตัวกันเป็นเกลียว เมื่อเรานำไปถึงขั้นตอนการผลิตเป็นเส้นด้าย จะมีการหวีและยืดดึง ก่อนจะมีการตีเป็นเกลียวเพื่อเส้นใยเหล่านั้นมีความแข็งแรงกลายเป็นเส้นด้าย จากนั้นในขั้นตอนการทอ การย้อม และตกแต่งสำเร็จ ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็จะมีการเซ็ตหน้าผ้าดึงให้ตรงตลอดเวลาด้วย และเสร็จออกมาเป็นผืนผ้า จนไปถึงการตัดเย็บ จากขั้นตอนจะเห็นได้ว่า จากตัวเส้นใยเอง และตัวผืนผ้าเองมีความเครียดสะสมตลอดมา และเมื่อเรานำไปซัก เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วว่าเส้นใยธรรมชาติมีความสามารถในการดูดซับความชื้นเข้าไปในตัวเส้นใย จึงทำให้เส้นใยมีความพองตัว และเมื่อโดนน้ำเส้นใยก็จะมีการคลายตัวจากขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมา ฉนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็เลยทำให้เห็นว่าผ้านั้นหดตัวลง ซึ่งจริงแล้วมันคือตัวเส้นใยเองได้รับความชื้นแล้วพองตัวขึ้น และผ่อนคลายจากการยืดดึง กลับมาเป็นเส้นหยิกงอบิดเกียวตามธรรมชาติเดิมนั้นเอง จากที่อธิบายมาข้างต้นก็เป็นสาเหตุเดียวกับว่าทำไมผ้าจากใยสังเคราะห์ไม่ค่อยหดตัว ก็เพราะเส้นใยสังเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ดูดซับความชื้นนั่นเอง

และด้วยปัญหาการหดตัวของผ้านี้เอง นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer) ได้จับเอาปัญหานี้ มาเป็นไอเดียที่ว่าผ้าเราใช้เส้นด้ายที่มีการหดตัวสูงทอผสมกับเส้นด้ายที่ไม่หดตัว แล้ววางจังหวะลวดลาย และควบคุมการหดของผ้า เราจะได้ลวดลายผ้าที่นูนเป็นมิติออกมาอย่างสวยงาม

Shrinkage yarns ด้ายหดหรือที่เรียกว่าเส้นด้ายหดตัว “dimensional” or “controlled shrinkage yarns มักใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อสร้างการออกแบบลายนูนบนเนื้อผ้า เส้นด้ายประเภทนี้ได้รับการออกแบบให้หดตัวในระหว่างขั้นตอนการตกแต่ง ซึ่งจะสร้างเอฟเฟกต์สามมิติบนเนื้อผ้า ในการออกแบบลายนูนบนเนื้อผ้าโดยใช้เส้นด้ายหดตัว โดยทั่วไปแล้วเส้นด้ายจะทอเป็นลวดลายเฉพาะในเนื้อผ้า จากนั้นผ้าจะเข้าสู่กระบวนการตกแต่ง ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายที่หดตัว หดตัวและสร้างเอฟเฟกต์สามมิติบนเนื้อผ้า การออกแบบที่ได้จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเส้นด้ายหดตัวและเทคนิคการเก็บรายละเอียดเฉพาะที่ใช้

รูปของผ้าที่ใช้เทคนิค Shrinkage yarns ในการสร้างลวดลายผ้า

รูปแสดงเข้าไปดูในระยะใกล้ของหน้าผ้า

รูปแสดงเข้าไปดูในระยะใกล้ของหลังผ้า จะเห็นเส้นด้ายหด Shrinkage yarns เส้นเล็กๆ ฝอยๆ จำนวนมาก ที่กำลังรั้งดึงผ้า ทำให้เกิดเป็นมิติลวดลายนูนออกมาอย่างสวยงาม

รูปตัวอย่างเส้นด้ายหด Shrinkage yarns

ด้ายหดตัวมีหลายประเภท จากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ขนแกะ (Wool) ซึ่งเป็นเส้นด้ายที่มีการหดตัวสูงอยู่แล้วตามธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะของด้ายหด เช่น ด้ายหดโพลีเอสเตอร์ (Polyester Shrinkage yarns)และ ด้ายหดไนลอน (Nylon Shrinkage yarns) เป็นต้น โดยขั้นตอน กำหนดอัตราการหดตัวของเส้นด้ายมีความสำคัญต่อการสร้างการออกแบบลายนูน กำหนดอุณหภูมิที่เส้นด้ายจะหดตัว และการออกแบบการทอเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อดีไซน์ของผ้า โดยจะออกแบบให้เรียบง่ายหรือซับซ้อนก็ขึ้นอยู่กับดีไซน์ที่วางไว้ ขั้นตอนการทอผ้าใช้เครื่องทอผ้าเหมือนการทอปกติ โดยคำนึงถึงอัตราการหดตัวของเส้นด้าย โดยเว้นพื้นที่บางส่วนไว้เพื่อสร้างเอฟเฟกต์นูน ต่อมาก็ถึงขั้นตอนการ ใช้ความร้อนเพื่อทำให้เส้นด้ายหดตัว หลังจากทอผ้าแล้ว ใช้ความร้อนเพือทำให้เส้นด้ายหดตัวซึ่งเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับเทคนิคต่างๆ รวมถึงการนึ่ง การซัก หรือการทำให้ผ้าเซ็ตตัวด้วยความร้อนและสร้างเอฟเฟกต์นูน อุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นด้ายและอัตราการหดตัวที่ต้องการ โดยทั่วไป อุณหภูมิควรสูงพอที่จะทำให้เส้นด้ายหดตัว แต่ไม่สูงจนทำให้เนื้อผ้าเสียหาย

ตัวอย่างผ้าของบริษัท นิทัส เทสซิเล ด้วยนวัตกรรมขั้นสูงการใช้ด้ายหดมากำหนดเป็นลวดลายแบบนี้จะมีอยู่ในผ้าม่านราคาสูงเท่านั้น เพราะเป็นเทคนิคที่ยาก ต้องมีการคำนวน อย่างแม่นยำในการออกแบบลวดลาย ให้มีลักษณะออกมาสวยงาม สม่ำเสมอ ไม่มากไปจนทำให้ผ้าบิดเบี้ยว และด้วยลักษณะการนูนเป็นสามมิตินี้เอง จึงไม่เหมาะสำหรับพวกผ้ากันแสงต่างๆ เพราะแสงจะรอดได้ดีในส่วนของลายทอ และไม่นิยมกับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เช่นกัน เพราะเรื่องความแข็งแรงและอาจจะมีการเกี่ยวได้นั้นเอง นิยมใช้กับการตกแต่งของโรมแรม 5 ดาวขึ้นไป บ้านพักอาศัยที่ต้องการแสดงถึงความแตกต่างเหนือระดับ ไม่เหมือนใคร และผ้าแบบนี้ไม่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไป

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า สลาฟ

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า รัก เอ่ยไม่ใช้ สลาฟ ต่างหาก เราไปดูกันว่าเจ้า สลาฟ นี้มันคืออะไรกัน ไปดูกันเลย

เราคือเส้นด้ายที่ผลิตด้วยกระบวนการพิเศษที่เลียบแบบลักษณะเส้นด้ายปั่นด้วยมือ Handspun นั้นเอง ซึ่งจะมีความหนาบาง เป็นปุ่มปม เมื่อนำมาทอ ซึ่งจะทำให้มีลักษณะพิเศษคล้ายกับลักษณะธรรมชาติของด้ายที่มาจากการปั้นด้วยมือ

เส้นด้ายสลาฟในระบบการทอแบบอุสาหกรรมมันไม่ใช่ตำหนื แต่มันคือความตั้งใจเพื่อให้เข้าถึงมนต์เสน่ห์ของงานคราฟต์ (Craft) ในราคาที่จับต้องได้ และมีความแข็งแรง และความแน่นในการทอได้มาตรฐานตามกระบวนการผลิตในระบบอุตสหกรรมเคหะสิ่งทอ

ผ้านิทัสที่มีเทคนิคการใช้เส้นด้ายสลาฟ Slub Yarn มีผืนไหนที่น่าสนใจบ้างไปดูกันเลย

ผ้าม่าน Curtain


ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง Wide Width Dim-out

ผ้าม่านทึบแสง Blackout


ผ้าม่านโปร่ง Sheer


ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ Upholstery


ผ้าหางกระรอก

นอกจากการแบ่งประเภทของผ้า เช่นผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์แล้ว ก็จะมีผ้าบางชนิดที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเองที่สามารถเรียกเป็นคำศัพท์เฉพาะอย่างเช่น ผ้าหางกระรอก คือผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยเส้นด้ายที่มีเทคนิคการใช้ด้ายสองสีมาตีเกียวกัน แล้วจึงนำไปทอจะเกิดมิติของลายผ้าที่แตกต่างกันของสีเส้นด้าย คล้ายกับหางกระรอก มีทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้าย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า kind of short silk cloth

ตัวอย่างเส้นด้ายที่มีการเกียวกันของเส้นด้ายสองสี เป็นวิถีการทอผ้าของชาวบ้านแบบดังเดิมในแถบภาคอีสาน จะเป็นได้ตัวอย่างคือผ้าโสร่ง นั้นเอง

สำหรับบริษัทนิทัสแล้ว ถ้าคุณต้องการผ้าที่มีลักษณะเฉพาะที่เหมือนผ้าหางกระรอกนี้ เราขอแนะนำตัวอย่างผ้าดังนี้

ผ้าม่านกันแสง DIM-OUT

คลิ๊กชิ้นตัวอย่างผ้าเพื่อดูสีอื่นๆ เพิ่มเติม


ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง WIDE WIDTH DIM-OUT

คลิ๊กชิ้นตัวอย่างผ้าเพื่อดูสีอื่นๆ เพิ่มเติม


ผ้าม่านทึบแสง BLACKOUT

คลิ๊กชิ้นตัวอย่างผ้าเพื่อดูสีอื่นๆ เพิ่มเติม


ย้อมสีแบบแครอท VS แตงกวา

เปิดมาแบบนี้รับรองว่าทุกคนได้ยินหัวข้อนี้แล้วรับรองว่างงแน่ๆ จริงๆแล้วมันคือการเปรียบเทียบคุณสมบัติการย้อมสีที่ต่างกัน ส่วนมันจะอะไรยังไงนั้นไปกันเลย

ในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ ขั้นตอนการย้อมสีเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพื่อให้ผ้าที่เราได้นั้นมีสีสันที่สวยงาม คงทนต่อแสงและการซัก ซึ่งโดยปกติแล้วในการย้อมผ้าทั่วๆ ไป ทั้งในอุตสหกรรมเคหะสิ่งทอ หรือ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเองก็ตามเราจะ รู้จักขั้นตอนในการย้อมหลัก เพียง Yarn dyed คือการย้อมสีตั้งแต่เป็นเส้นด้าย และค่อยนำเส้นด้ายนั้นไปทอเป็นผืนผ้า และ Piece-dyed คือการย้อมสีในขั้นตอนที่เป็นผืนผ้าแล้วนั้นเอง หรือในอุตสาหกรรมแฟชั่นก็จะมีการย้อมที่เรียกว่า Clothes Dyed คือการที่เราตัดเเย็บเสื้อผ้าสำเร็จออกแล้วค่อยนำไปย้อมนั้นเอง (อ่านบทความเรื่อง ย้อมก่อนทอ หรือทอก่อนย้อมดี? ที่นี้)

ซึ่งจริงๆ แล้วขั้นตอนการย้อมสีผ้ายังมีขั้นตอนที่ก่อนจะเป็นเส้นด้ายอีก คือการย้อมตั้งแต่เป็นเส้นใย Fiber Dyed คือการย้อมสีไปที่เส้นใยผ้าก่อนที่จะนำเส้นใยเหล่านั้นมารวมๆกัน แล้วตีเกียวเป็นเส้นด้ายนั้นเอง แต่นั้นก็ยังไม่ถึงขั้นตอนของเราในบทความนี้ การย้อมที่บทความนี้จะกล่าวถึงคือการย้อมที่เรียกว่า Solution Dyed หรือ Dope Dyed เป็นการย้อมที่ใช้ในเส้นใยสังเคราะห์ เช่นอะคริลิค ไนลอนและโพลีเอสเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปในขั้นตอนผลิตจะเริ่มจาก เม็ดพลาสติกหลอมแหลวแล้วฉีดขึ้นรูป เป็นเส้นใยยาว (Filament filter) เหมือนการทำเส้นขนมจีน (เป็นการเปรียบเทียมให้เห็นภาพ ซึ่งจริงๆแล้วการขึ้นรูปเส้นใยพลาสติก (พอลิเมอร์) มีหลากหลายวิธี ทั้งการหลอมละลายแล้วฉีด ทั้งการฉีดใต้สารละลาย เป็นต้น)

Solution Dyed จะเป็นการย้อมสี หรือใส่สีในขั้นตอนที่ตัวเม็ดพลาสติกกำลังหลอมละลาย ก่อนจะถูกฉีดออกมาเป็นเส้นใย สีจะเป็นเนื้อเดียวกับตัวเส้นใยนั้นเลย เหมือนเราผสมสีลงไปที่แป้งขนมจีนตั้งแต่แรกก่อนจะฉีดมันออกมาเป็นเส้น ไม่เหมือนวิธีการย้อมสีในขั้นตอนอื่นๆ ที่สีจะเคลือบหรือแทรกซึมเข้าไปในเส้นใยส่วนหนึ่งแต่ไม่เป็นสีนั้นทั้งเส้น จึงมีการเปรียบเทียบกันว่า Solution Dyed เหมือนแครอท และการย้อมแบบอื่นๆ คือแตงกวา (ในต่างประเทศเค้าจะเปรียบเทียบโดย เทียบแครอท กับ Radish หรือหัวไชเท้าแดง หัวไซเท้าที่ทรงเหมือนบีทรูท ด้านนอกแดงข้างในขาว แต่คนไทยหลายคนอาจไม่รู้จักกกับผักชนิดนี้)

ซึ่งแครอทเมื่อเราหั่นตัดขวางเป็นแว่นๆ สีด้านในของหัวแครอทก็ยังสีส้มเหมือนกับผิวด้านนอก ส่วนแตงกวานั้น เมื่อหั่นเป็นแว่นๆ จะเห็นเป็นสีขาวๆ เขียวๆ ไม่เหมือนผิวแตงกวาที่มีสีเขียวเข้ม นั้นเอง เหตุนี้จึงใช้ แครอทและแตงกวาเป็นการเปรียบเทียบการย้อมสีที่สามารถเป็นสีเดียวทั้งเส้นไม่ได้แค่เคลือบอยู่แค่รอบนอก นั้นเอง

การย้อมแบบ Solution Dyed ช่วยให้ผ้าสีไม่ตกจากการซัก หรือแม้กระทั่งการใช้สารฟอกขาวชนิดอ่อนๆ เนื่องจากสีเป็นเนื้อเดียวกับเส้นใยทั้งหมด เหมาะสำหรับร้านอาหาร โรมแรมโซนรับประทานอาหารเช้า ที่มักเจอกับปัญหาคราบสกปรกบ่อยๆ และผ้ากลุ่มกลางแจ้ง หรือผ้า Outdoor ส่วนใหญ่ทำด้วยเส้นด้าย Solution Dyed ทำให้มีความคงทนต่อแสงแดด ผ้าไม่ซีดจางง่าย และยังช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย โดยไม่ต้องกังวนเรื่องการซีดจางจากการซัก ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยเปื้อนอีกต่อไป ข้อเสียของผ้า Solution Dyed คือจะไม่สดใส เท่ากับการย้อมแบบ Yarn dyed หรือการย้อมในขั้นตอนที่เป็นเส้นด้าย และจะมีต้นทุนสูงกว่าการย้อมโดยทั่วไปเพราะต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องการสีใด ไม่สามารถผลิตจำนวนมากๆ แบบการย้อม Piece Dyed ที่สามารถทอผ้าขาวในจำนวนมากๆ เก็บไว้แล้วค่อยๆ แบ่งไปย้อมแต่ละสี ตามต้องการได้ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนเป็นอย่างมาก


เปิดดูตัวอย่างผ้าเอาท์ดอร์ของเรา

ข้อมูลเชิงลึกและผลการทดสอบผ้ากลุ่มเอาท์ดอร์


สรุปทิ้งท้ายลำดับการย้อมสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีขั้นตอนในการย้อมในแต่ละช่วงของการผลิต เรียงจากต้นไปถึงปลายขั้นตอนดังนี้

  1. Solution Dyed /Dope Dyed: กระบวนการนี้เป็นการใส่สีลงไปในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ สีจะถูกเติมลงในขั้นการตอนละลายโพลิเมอร์ก่อนที่จะฉีดออกมาเป็นเส้นใย
    • ข้อดี: สีสม่ำเสมอทั่วทั้งผืนผ้า ทนต่อการซีดจางต่อการซัก/แสงแดด สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะใช้น้ำและพลังงานน้อยลงในการย้อมผ้า
    • ข้อเสีย: ต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องการสีใด ไม่สามารถผลิตจำนวนมากๆ แบบการย้อม Piece Dyed ที่สามารถทอผ้าขาวในจำนวนมากๆ เก็บไว้แล้วค่อยๆ แบ่งไปย้อมแต่ละสี ตามต้องการได้
  2. Fiber Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ย้อมในส่วนเส้นใยก่อนที่จะปั่นเป็นเส้นด้าย
    • ข้อดี: มีความคงทนของสีมากที่สุดรองจาก Solution Dyed เท่านั้น นิยมใช้ขั้นตอนนี้ในการย้อมสีของเส้นใยสังเคราะห์ที่ติดสียากอย่างเช่น Acrylic, Nylon, Polyethylene, Polypropylene เป็นต้น และสามารถทำให้เส้นด้าย 1 เส้น มีสีสลับอ่อนเข้ม หรือมีสองสีในด้ายเส้นเดียวกัน โดยการผสมเส้นใยที่ย้อมสีต่างกันก่อนจะนำไปปั่นตีเกียวเป็นเส้นด้ายนั้นเอง
    • ข้อเสีย: มีราคาแพงมากกว่า Yarn Dyed และอาจทำให้เส้นใยเสียหายได้ มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อม และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  3. Yarn Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ก่อนที่จะทอหรือถักเป็นผ้า
    • ข้อดี: สามารถทำให้ผ้า 1 ผืนมีสีได้มากกว่า 2 สี ขึ้นไป เพราะสามารถใช้ด้ายที่ต่างสีกัน ทอร่วมกันได้ตามจำนวนสีด้ายที่ต้องการ เกิดมีมิติของสีที่หลากหลายในผืนเดียวกัน มีความคงทนของสีมากว่าแบบ Piece Dyed
    • ข้อเสีย: จำเป็นต้องสต็อกสีของเส้นด้ายไว้เป็นจำนวนมากไว้เผื่อในการผลิต และด้วยเหตุนี้ทำให้ผ้า Yarn Dyed มีสีสันให้เลือกน้อยกว่าและมีราคาแพงมากกว่า Piece Dyed มีโอกาสสีตกและสีซีดจางบ้างเล็กน้อย มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อม และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  4. Piece Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ หรือแม้กระทั่งผ้าที่มีเส้นใยผสมก็ตาม
    • ข้อดี: สามารถทอผืนผ้าดิบสีขาวเก็บได้ในปริมาณมากๆ แล้วแบ่งมาย้อมเป็นสีต่างๆได้ง่าย ประหยัดต้นทุน และมีความสม่ำเสมอของสีที่ดี
    • ข้อเสีย: ในผ้าหนึ่งผืนที่มีเส้นใยชนิดเดียวก็จะสามารถย้อมได้เพียง 1 สีเท่านั้น ถ้าต้องการให้ผ้า 1 ผืนมีมากกว่า 1 สี จำเป็นต้องออกแบบให้ผ้านั้นมีส่วนผสมของเส้นใยที่กินสี (ดูดซับสี) ต่างกัน เช่น Polyester และ Cotton เพราะเวลาย้อมสี เส้นใยทั้งสองชนิดจะใช้เคมีในการย้อมที่ต่างกันและ อุณหภูมิในการย้อมก็ต่างกันด้วย และอาจเกิดผ้าหดตัว ปัญหาสีตก และสีซีดจางได้ มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อมจำนวนมาก และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  5. Clothes Dyed: การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จรูป (สำหรับอุตสหกรรมแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย)
    • ข้อดี: ทำให้มีเทคนิคในการย้อมสีได้หลากหลาย เช่นการมัดย้อม การย้อมไล่สี การย้อมเฉพาะส่วนที่มีความต่อเนื่องของส่วนตะเข็บ เป็นต้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าตัวเดิม
    • ข้อเสีย: การกระจายสีอาจไม่สม่ำเสมอ การหดตัวของเสื้อผ้า และมีการใช้น้ำในกระบวนการย้อมจำนวนมาก และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย

ผ้าทางรถไฟ Railroaded fabric?

คำว่า “Railroad แปลว่าทางรถไฟ” ถ้าจะหมายถึงอย่างนั้นแล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับผ้ากันละ วันนี้นิทัสชวนมาทำความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการวางทิศทางลายผ้าไม่ว่าจะเป็น การทอขึ้นลายหรือพิมพ์ลายก็ตาม ซึ่งการวางทิศทางลายในการผลิตนั้นมีผลกับการวางลายผ้าของโซฟา การเย็บ รอยต่อตะเข็บ ซึ่งโดยปกติทิศทางของลายผ้าจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ

  • ลายเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture
  • ลายผ้าเข้า/ขึ้นม้วน Regular Pattern / Up the Roll
  • ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern / Top to Selvedge
  • ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

1. ผ้าลายเรียบ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture

ผ้าเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture แน่นอนว่าผ้าเรียบๆ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อยๆ เป็นผ้าที่ใช้ง่ายสามารถบุโซฟาได้ทั้งแนวตั้งโดยมีการต่อตะเข็บ หรือกลับม้วนดึงยาวตามแนวความยาวของโซฟาได้เลย


2. ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern/Conventional เป็นการวางทิศทางของผ้าแบบปกติ คือ เมื่อเรากำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางปกติลายตั้งขึ้น ในรูปตัวอย่างเป็นเป็นลายทางแนวตั้ง (Striped) ซึ่งรูปแบบทิศทางการวางลายแบบนี้ก็จะเป็นปกติสำหรับผ้าทั่วๆไป รวมถึงผ้าม่านก็เช่นกัน แต่ในส่วนของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ในรูปตัวอย่างถ้าเราต้องการลายโซาเป็นแนวตั้ง ในการวางแล้วทอแบบนี้ ในกรณีโซฟา1 ที่นั่ง หรืออาร์มแชร์ ที่ความกว้างไม่มากนัก ก็สามารถวางลายตามทิศแนวตั้งนี้ได้เลย แต่สำหรับโซฟา 2 ที่นั่งขึ้นไป จำเป็นต้องมีการต่อผ้าเป็นช่วงๆ เพื่อให้ได้ความต่อเนื่องไปตามความยาวของโซฟา ซึ่งเทคนิคการต่อตะเข็บของผืนผ้านี้ก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับกะการต่อตะเข็บของโซฟาหนังแท้ เพราะตัวหนังแท้เองก็มีขนาดจำกัดเช่นเดียวกันนั้นเอง


3. ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern เป็นการวางทิศทางของผ้าโดย กำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางนอน ในรูปตัวอย่างเป็นเป็น ลายทางแนวนอน ซึ่งผ้าแบบ Railroaded นี้จะสามารถวางลายยาววิ่งไปตามความยาวของโซฟาได้โดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งลักษณะการที่วางวิ่งยาวไปได้เลื่อยๆ ตามความยาวโซฟานี้แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเรียงตัวของไม้หมอนของรางรถไฟ จึงทำให้เราเรียกทิศทางการทอผ้าในรูปแบบขวางม้วนแบบนี้เรียกว่า Railroaded ซึ่งทำให้บุโซฟาที่มีความยาวได้โดยไม่มีรอยต่อ เพิ่มคามสวยงาม และช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกด้วย


4. ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เป็นลายผ้าที่ออกแบบมาให้ใช้ได้ทุกด้าน สามารถนำไปบุโซฟาได้ทุกด้าน ทุกแบบและความยาว


ตัวอย่างโซฟา 3 ที่นั่ง

โซฟาสามที่นั่ง จะเห็นว่าโซฟาตัวอย่างประกอบด้วยการหุ้มผ้า 3 ส่วน

  1. ส่วนหมอนหรือเบาะพนักพิงหลัง
  2. ส่วนเบาะรองนั่ง
  3. ส่วนโครงโซฟาหุ้มผ้าทั้งหมด

รูปทิศทางการวางลายของโซฟาที่ถูกต้อง

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern ในส่วนของเบาะพนักพิงหลังและเบาะรองนั่งสามารถตัดเย็บได้ด้วยผ้า ลายเข้าม้วน แต่ในส่วนโครงโซฟา จำเป็นต้องต่อตะเข็บผ้า ไม่สามารถกลับลายผ้าได้ ตามตัวอย่างที่แสดง

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern สามารถให้บุโซฟาได้ทุกส่วนทั้งส่วนที่มีพื้นที่เล็กอย่างส่วนเบาะพนักพิงหลัง และเบารองนั่ง แม้กระทั้งในส่วนโครงโซฟาทั้งหมดที่มีความยาว


ตัวอย่างการวางทิศทางของผ้าที่ไม่ควรทำ คือการวางลายตะแคง หรือหมุนลายผิดทิศทางของ Design


และผ้าของนิทัสเองก็จะมีสัญลักษณ์บอกทิศทางของผ้ากับตัวอย่างเล่ม โดยจะบอกทิศทางของริมผ้าเป็นหลังตามสัญลักษณ์ดังนี้

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางซ้ายและขวามือ ซึ่งการโชว์ผ้าในทิศทางนี้เป็นทิศทางหลักของผ้าในเล่มตัวอย่าง

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางบนและล่าง การโชว์ผ้าในทิศทางนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าที่มีหน้าผ้ากว้างกว่า 150 ซม. หรือเรียกว่าผ้าหน้ากว้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะกว้างอยู่ที่ 280-320 ซม. ซึ่งเวลาในการใช้งานจะหมุนผ้าใช้ในแนว Railroaded


และเราก็ยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงผ้าที่มีลวดลาย แสดงว่าผ้านั้นมีทิศทางของลายในทิศทางไหนดังนี้

จากสัญลักษณ์ที่แสเงตัวอย่าง คือ 1) ลายเรียบ/เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture 2) ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern 3) ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern 4) ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เรียงตามลำดับ