fbpx

ย้อมสีแบบแครอท VS แตงกวา

เปิดมาแบบนี้รับรองว่าทุกคนได้ยินหัวข้อนี้แล้วรับรองว่างงแน่ๆ จริงๆแล้วมันคือการเปรียบเทียบคุณสมบัติการย้อมสีที่ต่างกัน ส่วนมันจะอะไรยังไงนั้นไปกันเลย

ในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ ขั้นตอนการย้อมสีเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพื่อให้ผ้าที่เราได้นั้นมีสีสันที่สวยงาม คงทนต่อแสงและการซัก ซึ่งโดยปกติแล้วในการย้อมผ้าทั่วๆ ไป ทั้งในอุตสหกรรมเคหะสิ่งทอ หรือ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเองก็ตามเราจะ รู้จักขั้นตอนในการย้อมหลัก เพียง Yarn dyed คือการย้อมสีตั้งแต่เป็นเส้นด้าย และค่อยนำเส้นด้ายนั้นไปทอเป็นผืนผ้า และ Piece-dyed คือการย้อมสีในขั้นตอนที่เป็นผืนผ้าแล้วนั้นเอง หรือในอุตสาหกรรมแฟชั่นก็จะมีการย้อมที่เรียกว่า Clothes Dyed คือการที่เราตัดเเย็บเสื้อผ้าสำเร็จออกแล้วค่อยนำไปย้อมนั้นเอง (อ่านบทความเรื่อง ย้อมก่อนทอ หรือทอก่อนย้อมดี? ที่นี้)

ซึ่งจริงๆ แล้วขั้นตอนการย้อมสีผ้ายังมีขั้นตอนที่ก่อนจะเป็นเส้นด้ายอีก คือการย้อมตั้งแต่เป็นเส้นใย Fiber Dyed คือการย้อมสีไปที่เส้นใยผ้าก่อนที่จะนำเส้นใยเหล่านั้นมารวมๆกัน แล้วตีเกียวเป็นเส้นด้ายนั้นเอง แต่นั้นก็ยังไม่ถึงขั้นตอนของเราในบทความนี้ การย้อมที่บทความนี้จะกล่าวถึงคือการย้อมที่เรียกว่า Solution Dyed หรือ Dope Dyed เป็นการย้อมที่ใช้ในเส้นใยสังเคราะห์ เช่นอะคริลิค ไนลอนและโพลีเอสเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปในขั้นตอนผลิตจะเริ่มจาก เม็ดพลาสติกหลอมแหลวแล้วฉีดขึ้นรูป เป็นเส้นใยยาว (Filament filter) เหมือนการทำเส้นขนมจีน (เป็นการเปรียบเทียมให้เห็นภาพ ซึ่งจริงๆแล้วการขึ้นรูปเส้นใยพลาสติก (พอลิเมอร์) มีหลากหลายวิธี ทั้งการหลอมละลายแล้วฉีด ทั้งการฉีดใต้สารละลาย เป็นต้น)

Solution Dyed จะเป็นการย้อมสี หรือใส่สีในขั้นตอนที่ตัวเม็ดพลาสติกกำลังหลอมละลาย ก่อนจะถูกฉีดออกมาเป็นเส้นใย สีจะเป็นเนื้อเดียวกับตัวเส้นใยนั้นเลย เหมือนเราผสมสีลงไปที่แป้งขนมจีนตั้งแต่แรกก่อนจะฉีดมันออกมาเป็นเส้น ไม่เหมือนวิธีการย้อมสีในขั้นตอนอื่นๆ ที่สีจะเคลือบหรือแทรกซึมเข้าไปในเส้นใยส่วนหนึ่งแต่ไม่เป็นสีนั้นทั้งเส้น จึงมีการเปรียบเทียบกันว่า Solution Dyed เหมือนแครอท และการย้อมแบบอื่นๆ คือแตงกวา (ในต่างประเทศเค้าจะเปรียบเทียบโดย เทียบแครอท กับ Radish หรือหัวไชเท้าแดง หัวไซเท้าที่ทรงเหมือนบีทรูท ด้านนอกแดงข้างในขาว แต่คนไทยหลายคนอาจไม่รู้จักกกับผักชนิดนี้)

ซึ่งแครอทเมื่อเราหั่นตัดขวางเป็นแว่นๆ สีด้านในของหัวแครอทก็ยังสีส้มเหมือนกับผิวด้านนอก ส่วนแตงกวานั้น เมื่อหั่นเป็นแว่นๆ จะเห็นเป็นสีขาวๆ เขียวๆ ไม่เหมือนผิวแตงกวาที่มีสีเขียวเข้ม นั้นเอง เหตุนี้จึงใช้ แครอทและแตงกวาเป็นการเปรียบเทียบการย้อมสีที่สามารถเป็นสีเดียวทั้งเส้นไม่ได้แค่เคลือบอยู่แค่รอบนอก นั้นเอง

การย้อมแบบ Solution Dyed ช่วยให้ผ้าสีไม่ตกจากการซัก หรือแม้กระทั่งการใช้สารฟอกขาวชนิดอ่อนๆ เนื่องจากสีเป็นเนื้อเดียวกับเส้นใยทั้งหมด เหมาะสำหรับร้านอาหาร โรมแรมโซนรับประทานอาหารเช้า ที่มักเจอกับปัญหาคราบสกปรกบ่อยๆ และผ้ากลุ่มกลางแจ้ง หรือผ้า Outdoor ส่วนใหญ่ทำด้วยเส้นด้าย Solution Dyed ทำให้มีความคงทนต่อแสงแดด ผ้าไม่ซีดจางง่าย และยังช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย โดยไม่ต้องกังวนเรื่องการซีดจางจากการซัก ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยเปื้อนอีกต่อไป ข้อเสียของผ้า Solution Dyed คือจะไม่สดใส เท่ากับการย้อมแบบ Yarn dyed หรือการย้อมในขั้นตอนที่เป็นเส้นด้าย และจะมีต้นทุนสูงกว่าการย้อมโดยทั่วไปเพราะต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องการสีใด ไม่สามารถผลิตจำนวนมากๆ แบบการย้อม Piece Dyed ที่สามารถทอผ้าขาวในจำนวนมากๆ เก็บไว้แล้วค่อยๆ แบ่งไปย้อมแต่ละสี ตามต้องการได้ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนเป็นอย่างมาก


เปิดดูตัวอย่างผ้าเอาท์ดอร์ของเรา

ข้อมูลเชิงลึกและผลการทดสอบผ้ากลุ่มเอาท์ดอร์


สรุปทิ้งท้ายลำดับการย้อมสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีขั้นตอนในการย้อมในแต่ละช่วงของการผลิต เรียงจากต้นไปถึงปลายขั้นตอนดังนี้

  1. Solution Dyed /Dope Dyed: กระบวนการนี้เป็นการใส่สีลงไปในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ สีจะถูกเติมลงในขั้นการตอนละลายโพลิเมอร์ก่อนที่จะฉีดออกมาเป็นเส้นใย
    • ข้อดี: สีสม่ำเสมอทั่วทั้งผืนผ้า ทนต่อการซีดจางต่อการซัก/แสงแดด สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะใช้น้ำและพลังงานน้อยลงในการย้อมผ้า
    • ข้อเสีย: ต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องการสีใด ไม่สามารถผลิตจำนวนมากๆ แบบการย้อม Piece Dyed ที่สามารถทอผ้าขาวในจำนวนมากๆ เก็บไว้แล้วค่อยๆ แบ่งไปย้อมแต่ละสี ตามต้องการได้
  2. Fiber Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ย้อมในส่วนเส้นใยก่อนที่จะปั่นเป็นเส้นด้าย
    • ข้อดี: มีความคงทนของสีมากที่สุดรองจาก Solution Dyed เท่านั้น นิยมใช้ขั้นตอนนี้ในการย้อมสีของเส้นใยสังเคราะห์ที่ติดสียากอย่างเช่น Acrylic, Nylon, Polyethylene, Polypropylene เป็นต้น และสามารถทำให้เส้นด้าย 1 เส้น มีสีสลับอ่อนเข้ม หรือมีสองสีในด้ายเส้นเดียวกัน โดยการผสมเส้นใยที่ย้อมสีต่างกันก่อนจะนำไปปั่นตีเกียวเป็นเส้นด้ายนั้นเอง
    • ข้อเสีย: มีราคาแพงมากกว่า Yarn Dyed และอาจทำให้เส้นใยเสียหายได้ มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อม และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  3. Yarn Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ก่อนที่จะทอหรือถักเป็นผ้า
    • ข้อดี: สามารถทำให้ผ้า 1 ผืนมีสีได้มากกว่า 2 สี ขึ้นไป เพราะสามารถใช้ด้ายที่ต่างสีกัน ทอร่วมกันได้ตามจำนวนสีด้ายที่ต้องการ เกิดมีมิติของสีที่หลากหลายในผืนเดียวกัน มีความคงทนของสีมากว่าแบบ Piece Dyed
    • ข้อเสีย: จำเป็นต้องสต็อกสีของเส้นด้ายไว้เป็นจำนวนมากไว้เผื่อในการผลิต และด้วยเหตุนี้ทำให้ผ้า Yarn Dyed มีสีสันให้เลือกน้อยกว่าและมีราคาแพงมากกว่า Piece Dyed มีโอกาสสีตกและสีซีดจางบ้างเล็กน้อย มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อม และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  4. Piece Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ หรือแม้กระทั่งผ้าที่มีเส้นใยผสมก็ตาม
    • ข้อดี: สามารถทอผืนผ้าดิบสีขาวเก็บได้ในปริมาณมากๆ แล้วแบ่งมาย้อมเป็นสีต่างๆได้ง่าย ประหยัดต้นทุน และมีความสม่ำเสมอของสีที่ดี
    • ข้อเสีย: ในผ้าหนึ่งผืนที่มีเส้นใยชนิดเดียวก็จะสามารถย้อมได้เพียง 1 สีเท่านั้น ถ้าต้องการให้ผ้า 1 ผืนมีมากกว่า 1 สี จำเป็นต้องออกแบบให้ผ้านั้นมีส่วนผสมของเส้นใยที่กินสี (ดูดซับสี) ต่างกัน เช่น Polyester และ Cotton เพราะเวลาย้อมสี เส้นใยทั้งสองชนิดจะใช้เคมีในการย้อมที่ต่างกันและ อุณหภูมิในการย้อมก็ต่างกันด้วย และอาจเกิดผ้าหดตัว ปัญหาสีตก และสีซีดจางได้ มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อมจำนวนมาก และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  5. Clothes Dyed: การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จรูป (สำหรับอุตสหกรรมแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย)
    • ข้อดี: ทำให้มีเทคนิคในการย้อมสีได้หลากหลาย เช่นการมัดย้อม การย้อมไล่สี การย้อมเฉพาะส่วนที่มีความต่อเนื่องของส่วนตะเข็บ เป็นต้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าตัวเดิม
    • ข้อเสีย: การกระจายสีอาจไม่สม่ำเสมอ การหดตัวของเสื้อผ้า และมีการใช้น้ำในกระบวนการย้อมจำนวนมาก และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย

ผ้าทางรถไฟ Railroaded fabric?

คำว่า “Railroad แปลว่าทางรถไฟ” ถ้าจะหมายถึงอย่างนั้นแล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับผ้ากันละ วันนี้นิทัสชวนมาทำความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการวางทิศทางลายผ้าไม่ว่าจะเป็น การทอขึ้นลายหรือพิมพ์ลายก็ตาม ซึ่งการวางทิศทางลายในการผลิตนั้นมีผลกับการวางลายผ้าของโซฟา การเย็บ รอยต่อตะเข็บ ซึ่งโดยปกติทิศทางของลายผ้าจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ

  • ลายเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture
  • ลายผ้าเข้า/ขึ้นม้วน Regular Pattern / Up the Roll
  • ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern / Top to Selvedge
  • ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

1. ผ้าลายเรียบ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture

ผ้าเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture แน่นอนว่าผ้าเรียบๆ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อยๆ เป็นผ้าที่ใช้ง่ายสามารถบุโซฟาได้ทั้งแนวตั้งโดยมีการต่อตะเข็บ หรือกลับม้วนดึงยาวตามแนวความยาวของโซฟาได้เลย


2. ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern/Conventional เป็นการวางทิศทางของผ้าแบบปกติ คือ เมื่อเรากำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางปกติลายตั้งขึ้น ในรูปตัวอย่างเป็นเป็นลายทางแนวตั้ง (Striped) ซึ่งรูปแบบทิศทางการวางลายแบบนี้ก็จะเป็นปกติสำหรับผ้าทั่วๆไป รวมถึงผ้าม่านก็เช่นกัน แต่ในส่วนของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ในรูปตัวอย่างถ้าเราต้องการลายโซาเป็นแนวตั้ง ในการวางแล้วทอแบบนี้ ในกรณีโซฟา1 ที่นั่ง หรืออาร์มแชร์ ที่ความกว้างไม่มากนัก ก็สามารถวางลายตามทิศแนวตั้งนี้ได้เลย แต่สำหรับโซฟา 2 ที่นั่งขึ้นไป จำเป็นต้องมีการต่อผ้าเป็นช่วงๆ เพื่อให้ได้ความต่อเนื่องไปตามความยาวของโซฟา ซึ่งเทคนิคการต่อตะเข็บของผืนผ้านี้ก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับกะการต่อตะเข็บของโซฟาหนังแท้ เพราะตัวหนังแท้เองก็มีขนาดจำกัดเช่นเดียวกันนั้นเอง


3. ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern เป็นการวางทิศทางของผ้าโดย กำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางนอน ในรูปตัวอย่างเป็นเป็น ลายทางแนวนอน ซึ่งผ้าแบบ Railroaded นี้จะสามารถวางลายยาววิ่งไปตามความยาวของโซฟาได้โดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งลักษณะการที่วางวิ่งยาวไปได้เลื่อยๆ ตามความยาวโซฟานี้แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเรียงตัวของไม้หมอนของรางรถไฟ จึงทำให้เราเรียกทิศทางการทอผ้าในรูปแบบขวางม้วนแบบนี้เรียกว่า Railroaded ซึ่งทำให้บุโซฟาที่มีความยาวได้โดยไม่มีรอยต่อ เพิ่มคามสวยงาม และช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกด้วย


4. ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เป็นลายผ้าที่ออกแบบมาให้ใช้ได้ทุกด้าน สามารถนำไปบุโซฟาได้ทุกด้าน ทุกแบบและความยาว


ตัวอย่างโซฟา 3 ที่นั่ง

โซฟาสามที่นั่ง จะเห็นว่าโซฟาตัวอย่างประกอบด้วยการหุ้มผ้า 3 ส่วน

  1. ส่วนหมอนหรือเบาะพนักพิงหลัง
  2. ส่วนเบาะรองนั่ง
  3. ส่วนโครงโซฟาหุ้มผ้าทั้งหมด

รูปทิศทางการวางลายของโซฟาที่ถูกต้อง

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern ในส่วนของเบาะพนักพิงหลังและเบาะรองนั่งสามารถตัดเย็บได้ด้วยผ้า ลายเข้าม้วน แต่ในส่วนโครงโซฟา จำเป็นต้องต่อตะเข็บผ้า ไม่สามารถกลับลายผ้าได้ ตามตัวอย่างที่แสดง

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern สามารถให้บุโซฟาได้ทุกส่วนทั้งส่วนที่มีพื้นที่เล็กอย่างส่วนเบาะพนักพิงหลัง และเบารองนั่ง แม้กระทั้งในส่วนโครงโซฟาทั้งหมดที่มีความยาว


ตัวอย่างการวางทิศทางของผ้าที่ไม่ควรทำ คือการวางลายตะแคง หรือหมุนลายผิดทิศทางของ Design


และผ้าของนิทัสเองก็จะมีสัญลักษณ์บอกทิศทางของผ้ากับตัวอย่างเล่ม โดยจะบอกทิศทางของริมผ้าเป็นหลังตามสัญลักษณ์ดังนี้

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางซ้ายและขวามือ ซึ่งการโชว์ผ้าในทิศทางนี้เป็นทิศทางหลักของผ้าในเล่มตัวอย่าง

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางบนและล่าง การโชว์ผ้าในทิศทางนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าที่มีหน้าผ้ากว้างกว่า 150 ซม. หรือเรียกว่าผ้าหน้ากว้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะกว้างอยู่ที่ 280-320 ซม. ซึ่งเวลาในการใช้งานจะหมุนผ้าใช้ในแนว Railroaded


และเราก็ยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงผ้าที่มีลวดลาย แสดงว่าผ้านั้นมีทิศทางของลายในทิศทางไหนดังนี้

จากสัญลักษณ์ที่แสเงตัวอย่าง คือ 1) ลายเรียบ/เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture 2) ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern 3) ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern 4) ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เรียงตามลำดับ


ผ้ากันน้ำ คืออะไร ?

‘ผ้ากันน้ำ’ เป็นผ้าที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ ซึ่งผ่านการตกแต่งพิเศษ หรือเคลือบสารบางชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงเนื้อผ้าได้  โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • Water Repellent สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ในรูปแบบง่ายๆ คือ เมื่อมีน้ำสัมผัสกับผ้า น้ำจะไม่สามารถซึมผ่านผ้านั้นได้ระยะเวลาหนึ่ง  เหมือนน้ำที่กลิ้งบนใบบัว แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำความสะอาดสักพัก น้ำนั้นจะซึมลงบนตัวผ้า ทำให้ผ้าชื้นและเปียก นิยมนำมาใช้กับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เพราะเป็นการตกแต่งพิเศษที่เพิ่มคุณสมบัติให้กับเนื้อผ้า โดยไม่ทำให้ผิวสัมผัสของเนื้อผ้าแตกต่างจากเดิมมาก
  • Water Proof ต่างจาก Water Repellent คือตัวเนื้อผ้ามีลักษณะกันการซึมลงของ ของเหลวไม่ว่าจะเป็นน้ำ หรือไวน์ หรืออะไรก็ตาม จะไม่สามารถซึมผ่านผ้า หรือวัสดุดังกล่าวได้ 100% และทำให้วัสดุ ในชั้นถัดไปไม่ว่าจะเป็น เบาะรอง จะไม่ได้รับความเสียหาย เช่นการเปื้อนที่ไม่สามารถนำไปซักได้ หรือ แม้กระทั่งการก่อให้เกิดการขึ้นรา ก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเคลือบฟิล์มบางๆ เคลือบไปที่ผิวหน้า หรือไม่ก็มีการเคลือบไว้ด้านหลัง หรือแม้กระทั่งตัววัสดุเองมีลักษณะเป็นแผ่น ที่ไม่สามารถให้น้ำผ่านได้ เช่น พวกหนังเทียม เป็นต้น แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ แม้ว่าตัวผ้าหรือวัสดุนี้จะเป็นคุณสมบัติการกันได้ 100% แต่ในกระบวนการผลิตขึ้นชิ้นงานที่มีการตัดเย็บ ซึ่งจะทำให้เกิดรูเล็กๆ ตามตะเข็บตามรอยต่อ ฉนั้นอาจทำให้ความชื้น หรือของเหลวซึมผ่านไปได้ ในจุด จุดนั้น ฉนั้น ไม่ควรนำผ้ากันน้ำดังกล่าวไปใช้ และทิ้งไว้ ให้ได้รับความชื้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การตากฝน หรือ แม้ทำน้ำหกแล้ว ก็ควรเช็ดทำความสะอาดทันที

ความแตกต่างหลักระหว่าง Water Proof และ Water Repellent คือการซึมของน้ำ

วัสดุที่มีลักษณะ Water Proof หรือกันน้ำการออกแบบมาเพื่อป้องกันการแทรกซึมของน้ำอย่างสมบูรณ์ แม้อยู่ภายใต้การสัมผัสเป็นเวลานาน ซึ่งหมายความว่าวัสดุกันน้ำสามารถจมอยู่ในน้ำได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ให้น้ำซึมผ่าน ในทางกลับกัน วัสดุที่มีคุณลักษณะ Water Repellent หรือสะท้อนน้ำ การออกแบบมาให้ต้านทานการซึมผ่านของน้ำ แต่ไม่จำเป็นต้องป้องกันได้ทั้งหมด วัสดุไม่ซับน้ำจะช่วยให้น้ำบางส่วนซึมผ่านได้หากสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน แต่ยังคงช่วยป้องกันฝนเล็กน้อยหรือน้ำกระเซ็นได้

ตัวอย่างเช่น ผ้ากันน้ำสามารถจมอยู่ในน้ำได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ให้น้ำซึมผ่าน ในขณะที่ผ้าสพท้อนน้ำสามารถทนต่อฝนเล็กน้อยและน้ำกระเซ็นได้ แต่ไม่สามารถสัมผัสกับฝนตกหนักเป็นเวลานาน โดยสรุป ผ้ากันน้ำ ป้องกันการแทรกซึมของน้ำได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผ้าสะท้อนน้ำ จะต้านทานการซึมผ่านของน้ำในระดับต่างๆ

Water Repellency (Spray Test) Standard

  • ISO 4920 Determination of resistance to surface wetting (spray test)
  • EN 24920 Textiles – determination of resistance to surface wetting (spray test) of fabrics
  • AATCC 22 Test method for water repellency: spray
  • JIS L 1092 Testing methods for water resistance of textiles
  • TISI 121 book 22 การต้านการเปียกน้ำของผิวผ้าโดยวิธีพ่นน้ำ

มาตรฐานการทดสอบการสะท้อนน้ำ Water Repellent มีหลายมาตรฐานด้วยกันแต่ส่วนใหญ่จะมีการทดทอบแบบด้วยกันที่เรียกว่า Spray Test ตามรูปอุปกรณ์ด้านล่างนี้

และผลการทดสอบ โดยจะเทียบกับรูปตัวอย่างตามรูปด้านล่าง เพื่อเปรียบเทียบความว่าอยู่ในระดับใด


คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ
จากการสังเกตุสัญลักษณ์ดังรูปด้านล่างนี้


ดูเล่มตัวอย่างผ้าสะท้อนน้ำ คลิก!!!


TISI หรือ มอก. ที่เกี่ยวกับการทดสอบสิ่งทอ

TISI Certification หมายถึงการรับรองคุณภาพสินค้าและบริการโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าและบริการอุตสาหกรรม (TISI) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานสินค้าและบริการในประเทศไทย เพื่อให้การผลิตและใช้งานสินค้าและบริการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน และมีคุณภาพสูงสุด โดย TISI Certification จะให้การรับรองคุณภาพต่าง ๆ ได้แก่ การรับรองสินค้าตามมาตรฐาน TISI, การรับรองสินค้าตามมาตรฐานชั้นนำของต่างประเทศ เช่น ISO, IEC, EN, UL, และการรับรองคุณภาพการบริการตามมาตรฐาน TISI Service ซึ่งมีไว้สำหรับบริการต่าง ๆ

ซึ่งเราจะมาดูกันว่ามาตรฐาน TISI หรือ มอก. นี้มีมาตรอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการทดสอบผ้า เช่น เส้นใย เส้นด้าย ชนิดของสีย้อม ลักษณะทางกายภาพของผืนผ้า ความกว้างความยาว ความแข็งแรง หรือ การทดสอบความซีดจางของผ้าต่อปัจจัยต่างๆ หรือการทดความคงทนต่อการขัดถู ซึ่งเป็นการทดสอบสำคัญของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เราได้รวบรวบไว้ทั้งหมดดังต่อไปนี้

มอก. 121วิธีทดสอบสิ่งทอ / Standard test methods for textiles
เล่ม 2-2552 ความคงทนของสีต่อแสงซีนอนอาร์ก
Colour fastness to xenon arc light
เล่ม 3-2552ความคงทนของสีต่อการซักด้วยสบู่ หรือ สบู่และโซดา
Color fastness to washing with soap or soap and soda
เล่ม 4-2552ความคงทนของสีต่อเหงื่อ
Color fastness to perspiration
เล่ม 5-2552ความคงทนของสีต่อการขัดถู
Standard test methods for textiles part 5 colour fastness to rubbing
เล่ม 6-2552ขนาดเส้นด้าย
Determination of linear density of yarn
เล่ม 7-2552เกลียวของเส้นด้าย
Twist in yarns
เล่ม 8-2553แรงดึงและการยืดที่ทำให้เส้นด้ายขาด
Yarns from packages-determination of single-end breaking force and elongation at break
เล่ม 9-2552แรงดึงสูงสุดและการยืดของผ้าที่แรงดึงสูงสุด โดยวิธีดึงเต็มหน้ากว้างของชิ้นทดสอบ
Tensile properties of fabrics-determination of maximum force and elongation at maximum force using the strip method
เล่ม 10-2553ความกว้างของผ้า
Determination of fabric width
 เล่ม 11-2553ความยาวของผ้า
Determination of fabric length
เล่ม 12-2553มวลของผ้าทอต่อหน่วยความยาว และมวลของผ้าทอต่อหน่วยพื้นที่
Woven fabrics-determination of mass per unit length and mass per unit area
เล่ม 13-2553จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวของผ้าทอ
Woven fabrics-determination of number of threads per unit length
เล่ม 14-2552การประเมินการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี โดยใช้เกรย์สเกลและเครื่องมือ
Grey scale and instrumental assessment of colour change and staining
เล่ม 15-2554ชนิดเส้นใย
Identification of fibers
  เล่ม 16-2553แรงดึงสูงสุดของผ้าโดยวิธีแกรบ
Tensile properties of fabrics determination of maximum force using the grab method
เล่ม 17-2553แรงฉีกขาดของผ้าทอโดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงชนิดอัตรายืดคงที่
Determination of tear force of fabrics using constant rate of extension testing machine
เล่ม 18-2553แรงฉีกขาดของผ้าทอโดยใช้เครื่องทดสอบแบบเอลเมนดอร์ฟ
Determination of tear force of fabrics using ballistic pendulum method (Elmendorf)
  เล่ม 20-2552การเปลี่ยนแปลงขนาดของผ้าเมื่อแช่น้ำเย็น
Determination of dimensional changes of fabrics induced by cold–water immersion
 เล่ม 21-2552การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้ง
Determination of dimensional changes in washing and drying
เล่ม 22-2552การต้านการเปียกน้ำของผิวผ้าโดยวิธีพ่นน้ำ
Resistance to surface wetting: spray test
เล่ม 23-2552ความต้านน้ำซึมโดยใช้เครื่องทดสอบแบบความดันน้ำสถิต
Determination of resestance to water penetration-hydrostatic pressure test
เล่ม 24-2553ความหนาของผ้า
Thickness of fabrics
เล่ม 25-2552ความคงทนของสีต่อน้ำ
Colour fastness to water
เล่ม 26-2552ส่วนผสมของเส้นใย 2 ชนิด
Binary mixtures of fibres
เล่ม 27-2552แรงดึงตะเข็บของผ้าและวัสดุสิ่งทอ
Seam tensile properties of fabrics and made-up textile articles
เล่ม 28-2552ความต้านทานการลื่นของเส้นด้ายในผ้าทอที่ตะเข็บ
Determination of the slippage resistance of yarns at a seam in woven fabrics
 เล่ม 29-2554การประเมินการต้านแบคทีเรียของสิ่งทอ (วิธีเชิงคุณภาพ)
Textile fabrics-assessment of antibacterial activity (qualitative method)
เล่ม 30-2554การประเมินการต้านแบคทีเรียของสิ่งทอ (วิธีเชิงปริมาณ)
Textile fabrics-assessment of antibacterial activity (quatitative method)
เล่ม 31-2553การติดไฟของเสื้อผ้า
Flammability testing of clothing textiles
 เล่ม 32-2556ความเป็นกรด-ด่างของสารสกัดด้วยน้ำ
Determination of pH of aqueous extract
เล่ม 33-2556ฟอร์แมลดีไฮด์อิสระและฟอร์แมลดีไฮด์จากการแยกสลายโดยวิธีสกัดด้วยน้ำ
Determination of formaldehyde (free and hydrolysed formaldehyde) – water extraction method
เล่ม 34-2556การขึ้นขนและเม็ดที่ผิวผ้าโดยวิธีโมดิไฟด์มาร์ทินเดล
Determination of fabric propensity to surface fuzzing and to pilling : modified martindale method
เล่ม 35-2556ความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อน
Colour fastness to hot pressing

Technical Details Outdoor Fabric

Outdoor Fabric ผ้าสำหรับใช้กลางแจ้งได้รับการออกแบบและดูแลเป็นพิเศษสำหรับใช้ในงานกลางแจ้ง เช่น เฟอร์นิเจอร์นอกชาน เบาะรองนั่ง ร่ม กันสาด ผ้าคลุมเรือ และเต็นท์ ผ้าเหล่านี้มักทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น Acrylic, Polyester, Nylon หรือ Vinyl ซึ่งมีความทนทานสูง ทนต่อแสงแดดและสภาพอากาศ และทนต่อความชื้น ความร้อน และความเย็นได้

คุณสมบัติทั่วไปบางประการของผ้ากลางแจ้ง ได้แก่ :

  1. Water repellent สะท้อนน้ำ : ผ้าที่ใช้กลางแจ้งมักได้รับการเคลือบด้วยสารไม่ซับน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าสู่เนื้อผ้าและทำให้เกิดความเสียหาย
  2. UV resistance ทนทานต่อรังสียูวี : ผ้าที่ใช้กลางแจ้งได้รับการออกแบบมาให้ต้านทานการซีดจางและการเสื่อมสภาพจากการสัมผัสกับแสงแดด
  3. Mildew resistance ทนต่อการขึ้นรา : ผ้ากลางแจ้งมักได้รับการบำบัดด้วยสารต่อต้านจุลินทรีย์เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและโรคราน้ำค้าง
  4. Durability ความทนทาน: ผ้าที่ใช้กลางแจ้งได้รับการออกแบบมาให้ทนทานต่อการสึกหรอ จึงมักทำจากวัสดุที่ใช้งานหนักซึ่งสามารถรองรับการใช้งานและการใช้งานในทางที่ผิดได้ในระดับสูง
  5. Easy maintenance ดูแลรักษาง่าย: ผ้าสำหรับใช้กลางแจ้งหลายชนิดได้รับการออกแบบมาให้ทำความสะอาดได้ง่าย โดยมักใช้ผ้าหมาดเช็ดง่ายๆ

เมื่อเลือกผ้าที่ใช้กลางแจ้ง สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานและเงื่อนไขที่จะต้องสัมผัส การเลือกผ้าสำหรับกลางแจ้งคุณภาพสูงที่ออกแบบมาเพื่อความต้องการของคุณโดยเฉพาะสามารถช่วยให้มั่นใจได้ว่าเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง เบาะรองนั่ง และสิ่งของอื่นๆ ของคุณจะคงอยู่ไปอีกนานหลายปี

TECHNICAL DETAILS

10724 SKYLINE

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Polyester
Weight น้ำหนัก315 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
ISO 12947-2:201630,000 cycles
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
ISO 105-B02:20147-8 (max 8)

10725 SUNNY, 10726 SUNNY, 10727 SUNNY, 10728 SUNNY

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Solution Dyed Olefin
Weight น้ำหนัก190 g/sqm
Finishing ตกแต่งสำเร็จTeflon®  Water Repellent
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
UNE EN ISO 12947-220,000 cycles
Colour Fastness to Chlorinated Water
ความคงทนของสีต่อน้ำคลอรีน
UNE EN ISO 105-E03:19975 (max 5)
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
UNE EN ISO 105-B02:2014 
AATCC 16.3
>7 (max 8)
4-5 (max 5)
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
UNE EN ISO 105-X12:19964-5 (max 5)
 Dimensional Stability to Washing
 การเปลี่ยนแปลงขนาดหลังการซัก
UNE EN 25077:1996Weft -0.4%
Warp -0.3%
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
UNE EN ISO 12945-25 (max 5)
Seam Properties (Slippage)
สมรรถนะของตะเข็บ
EN ISO 13936-2Weft 3.0 mm
Warp 3.0 mm
Tearing Strength
ความต้านแรงฉีกขาด
UNE EN ISO 13937-3Warp 73.9 N
Weft 43.2 N
Tensile Strength (Strip Test)
ทดสอบแรงดึงขาด
UNE EN ISO 13934-1Warp 1647 N
Weft 750 N
Water Repellency
(Spray Test)
ความสะท้อนน้ำ 
UNE EN ISO 24920
5 (max 5)

30006 ALFRESCO & 30007 PLAYGROUND

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Acrylic Fiber Dyed
Weight น้ำหนัก190 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
DIN EN ISO 12947-225,000 cycles
Amines of Azo Colorants – ExtractionDIN EN 14362-1<5 mg/kg
(lagal limit 30 mg/kg)
Colour Fastness to Chlorinated Water ความคงทนของสีต่อน้ำคลอรีนDIN EN ISO 105-E034 (max 5)
Colour Fastness to Hot Pressing
ความคงทนของสีต่อ
การกดทับด้วยความร้อน
ISO 105-X11:19975 (max 5)
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
BS EN 105-B026-7 (max 8)
Depending colour
Colour Fastness to Perspiration
ความคงทนของสีต่อเหงื่อ
BS EN ISO 105-E04:2009PH 5.5 Acid: 4-5
PH 8 Alkaline: 4-5
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
ISO 105-X12:20035 (max 5)
Colour Fastness to Washing
ความคงทนของสีต่อการซัก
ISO 105-C06:20105 (max 5)
Colour Fastness to Sea Water
ความคงทนของสีต่อน้ำทะเล
DIN EN ISO 105-E025 (max 5)
 Dimensional Stability to Washing
 การเปลี่ยนแปลงขนาดหลังการซัก
ISO 5077:2007Warp -0.5%
Weft -2.0%
Flammability
ความสามารถในการติดไฟ
BS 5852-1
UNE1021-1
BS 7176 Low Hazard
PASS
Oil Repellency (Teflon®)
ความสะท้อนน้ำมัน
ISO 14419
AATCC 118:2007
6 (max 8)
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
ISO 12945-2:20014 (max 5)
 Seam Properties (Strength)
สมรรถนะของตะเข็บ
BS EN ISO 13935-2:1999Warp 56.8 kg STP
Weft 30.0 kg STP
Tensile Strength (Strip Test)
ทดสอบแรงดึงขาด
EN ISO 13934-1Warp 101 kg
Wefte 55 kg
 Ultra Violet Transmission/UPF
การป้องกันรังสียูวี
AS/NZS 4399/1996UV40 Standard 801
Water Repellency
(Spray Test-Teflon® )
ความสะท้อนน้ำ
ISO 4920
AATCC 22-2010
90

30035 CRUISES

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Olefin
Weight น้ำหนัก367 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
EN ISO 12947-2:199813,000 cycles
Anti-Bacterial
ต้านเชื้อแบคทีเรีย
JIS L 1902Reduction 99% Effective
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
BS EN 105-B02:19947-8 (max 8)
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
BS EN 105-X12:20014-5 (max 5)
Colour Fastness to UV
ความคงทนของสีต่อแสง UV
ASTM G1544-5 (max 5)
Flammability
ความสามารถในการติดไฟ
NFPA 260,
CAL 117
BS 5852 Source 0
EN ISO 1021-1
PASS
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
EN ISO 12945-2:20004 (max 5)
Seam Properties (Slippage)
สมรรถนะของตะเข็บ
EN ISO 13936-2:2004Weft 2.5 mm
Warp 3.0 mm
Water Repellency
(Spray Test)
ความสะท้อนน้ำ 
BS EN ISO 49204-5 (max 5)
Tearing Strength
ความต้านแรงฉีกขาด
BS EN ISO 13937-1:2000Warp 5901 g
Weft 6620 g

30070 ISTANBUL30071 GALATA, 30072 TOPKAPI, 30073 BOSPHORUS

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Olefin
Weight น้ำหนัก198-343 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
EN ISO 12947-2:199830070: 18,000 cycles
30071: 20,000 cycles
30072: 50,000 cycles
30073: 50,500 cycles
Anti-Bacterial
ต้านเชื้อแบคทีเรีย
JIS L 1902Reduction 99% Effective
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
BS EN 105-B02:19947-8 (max 8)
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
BS EN 105-X12:2001Dry 4-5 (max 5)
Wet 4-5 (max 5)
Colour Fastness to UV
ความคงทนของสีต่อแสง UV
ASTM G1544-5 (max 5)
Flammability
ความสามารถในการติดไฟ
NFPA 260,
CAL 117
BS 5852 Source 0
EN ISO 1021-1
PASS
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
EN ISO 12945-2:20004 (max 5)
Seam Properties (Slippage)
สมรรถนะของตะเข็บ
EN ISO 13936-2:200430070:
Weft 2.7 mm, Warp 3.0 mm
30071:
Weft 4.8 mm, Warp 4.6 mm
30072:
Weft 4.8 mm, Warp 4.6 mm
30073:
Weft 3.0 mm, Warp 3.8 mm 
Water Repellency
(Spray Test)
ความสะท้อนน้ำ 
BS EN ISO 49204-5 (max 5)
Tearing Strength
ความต้านแรงฉีกขาด
BS EN ISO 13937-1:200030070:
Warp 5920 g, Weft 6664 g
30071:
Warp 5760 g, Weft 6550 g
30072:
Warp 5930 g, Weft 6750 g
30073:
Warp 5980 g, Weft 6720 g

ตัวอักษรย่อในส่วนประกอบเนื้อผ้า

บางทีเวลาเราเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ที่ย่อ ในส่วนของ Care Lable หรือป้ายสัญลักษณ์การดูแลรักษาผ้าที่ส่วนใหญ่มักจะบอกถึงส่วนประกอบของเส้นใยด้วยว่าผลิตจากเส้นใยชนิดใด ซึ่งในบางครั้งที่มีความจำกัดด้านเนื้อที่เลยจำเป็นต้องเขียนย่อ ซึ่งบางทีอาจทำให้เราไม่แน่ใจว่าตัวย่อที่เราเห็นนั้น เราเข้าใจถูกหรือไม่ วันนี้เราไปดูกันดีกว่าตัวย่อนั้นๆ หมายความว่าอะไรกันบ้าง

ในส่วนตัวย่อข้างบนนั้นเป็นการย่อในวงการผ้าเท่านั้น ซึ่งจะมีวัสดุกลุ่มเส้นใยโพลิเมอร์ หรือพลาสติกบางตัวที่อาจไม่ต้องกับการย่อสากลที่เราคุ้นเคยตามตัวอย่างด้านล่างนี้


การย้อมผ้า Fabric Dyeing

การย้อมผ้าเป็นกระบวนการให้สีแก่สิ่งทอโดยการจุ่มลงในสารละลายย้อมผ้า กระบวนการย้อมสีสามารถทำได้โดยใช้สีธรรมชาติหรือสีสังเคราะห์ การย้อมสีผ้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีหลายขั้นตอน แต่โดยรวมแล้วมีขั้นตอนดังนี้

  1. การเตรียม Preparation: ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมผ้าสำหรับการย้อม ผ้าจะทำความสะอาดก่อนเพื่อขจัดสิ่งสกปรก น้ำมัน หรือสิ่งเจือปนที่อาจขัดขวางการดูดซึมสีย้อม สามารถทำได้โดยใช้กระบวนการต่างๆ เช่น การซัก การขัด หรือการฟอกสี
  2. การย้อมสี Dyeing: จากนั้นผ้าจะถูกจุ่มลงในสารละลายย้อม และโมเลกุลของสีย้อมจะถูกดูดซับโดยผ้า สารละลายสีย้อมสามารถนำไปใช้กับผ้าได้โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การย้อมแบบจุ่ม ซึ่งผ้าจะจมอยู่ในสารละลายสีย้อมทั้งหมด หรือการพิมพ์ ซึ่งใช้สารละลายสีย้อมในรูปแบบเฉพาะ
  3. การตรึงสี Fixation: หลังจากการย้อม ผ้าจะได้รับการบำบัดด้วยสารตรึงเพื่อให้แน่ใจว่าโมเลกุลของสีย้อมติดอยู่กับเส้นใยผ้าและไม่ล้างออกง่าย กระบวนการนี้เรียกว่า Fixation การตรึงสี และมักจะทำโดยใช้สารเคมี เช่น เกลือ น้ำส้มสายชู หรือเกลือโลหะอื่นๆ
  4. การล้างสี Washing: หลังจากการตรึง ผ้าจะถูกซักเพื่อขจัดสีย้อมหรือสารยึดเกาะส่วนเกินออกจากผ้า สิ่งนี้ทำเพื่อให้แน่ใจว่าสีย้อมจะไม่ตกหรือสีซีดจางเมื่อใช้หรือซักผ้า
  5. การตกแต่งสำเร็จ Finishing: ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการย้อมผ้าเกี่ยวข้องกับการตกแต่งผ้าเพื่อเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความนุ่มนวล ความมันเงา หรือการต้านทานรอยยับ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้กระบวนการต่างๆ เช่น การทำปฏิทิน ซึ่งผ้าถูกส่งผ่านระหว่างลูกกลิ้งที่ให้ความร้อน หรือการเคลือบโดยที่ชั้นบางๆ ของโพลิเมอร์ถูกนำไปใช้กับพื้นผิวของผ้า

ชนิดของสีย้อม Dyeing Type

Acid Dyeing

กระบวนการย้อมสีที่ใช้กรดเป็นส่วนผสมในการตรึงสีย้อมบนผ้า วิธีนี้มักใช้ในการย้อมผ้าขนสัตว์ ผ้าไหม และเส้นใยโปรตีนอื่นๆ

  • อุณหภูมิในการย้อม 60-80°C
  • Water-Based
  • pH 3-4
  • Process Immersion Dyeing การย้อมแบบแช่

Basic Dyeing

กระบวนการย้อมสีที่ใช้สารละลายพื้นฐานเป็นสารประสมเพื่อตรึงสีย้อมบนผ้า วิธีนี้นิยมใช้ในการย้อมอะคริลิกและใยสังเคราะห์อื่นๆ

  • อุณหภูมิในการย้อม 90-100°C
  • Water-Based
  • pH 9-10
  • Process Exhaustion Dyeing

Disperse Dyeing

กระบวนการย้อมที่ใช้สีดิสเพอร์ส ซึ่งจะกระจายตัวในตัวทำละลายก่อนนำไปใช้กับผ้า วิธีนี้มักใช้สำหรับการย้อมโพลีเอสเตอร์ ไนลอน และใยสังเคราะห์อื่นๆ

  • อุณหภูมิในการย้อม 120-140°C
  • Oil-Based
  • pH 6-7
  • Process High-Temperature Dyeing

Direct Dyeing

กระบวนการย้อมแบบง่ายๆ ที่ย้อมลงบนผ้าโดยตรงโดยไม่ต้องใช้สารยึดเกาะหรือสารยึดเกาะ การย้อมสีโดยตรงเหมาะสำหรับเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม และขนสัตว์

  • อุณหภูมิในการย้อม 50-60°C
  • Water-Based
  • pH 6-7
  • Process Immersion Dyeing

Vat Dyeing

กระบวนการย้อมสีที่ใช้ถังเก็บสารละลายสีย้อม ผ้าจะถูกแช่ในสารรีดิวซ์ก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนสีย้อมให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ จากนั้นนำผ้าไปแช่ในถัง ซึ่งเส้นใยผ้าจะดูดซับสีย้อมไว้ วิธีนี้นิยมใช้ในการย้อมผ้าเดนิม หรือผ้ายีนส์ และผ้าฝ้ายอื่นๆ

  • อุณหภูมิในการย้อม 50-60°C
  • Water-Based
  • pH 10-11
  • Process Reduction Dyeing

Reactive Dyeing

การย้อมด้วยปฏิกิริยา: กระบวนการย้อมที่ใช้สีรีแอกทีฟซึ่งสร้างพันธะโควาเลนต์กับเส้นใยผ้า วิธีนี้นิยมใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ และผ้าไหม

  • อุณหภูมิในการย้อม 20-60°C
  • Water-Based
  • pH 10-12
  • Process Exhaustion Dyeing


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

“น้ำตาล หรือ เทา” จบๆ!!!

ปัญหาโลกแตกอย่างหนึ่งของการเลือกแบบ เลือกสไตล์ เลือกวัสดุ ในการตกแต่งห้องคือไม่รู้จะตกแต่งแบบไหนดี เช่นเดียวกันการเลือกสี ก็เป็นปัญหาที่คิดไม่ตกเหมือนกัน

ฉนั้น วันนี้มีทางเลือกง่ายๆ ของโทนสี ที่คนส่วนใหญ่มักจะเลือกโทนสีในการตกแต่งไปใน 2 ทางคือ โทนน้ำตาล และโทนเทา เพราะทั้งสีน้ำตาล และสีเทา เป็นสีเป็นกลางในการออกแบบตกแต่งภายใน เป็นสีพื้นเข้าได้กับทุกสไตล์การตกแต่งและไร้กาลเวลาสำหรับสไตล์การออกแบบที่หลากหลาย โดยหลักการง่ายๆ ดังนี้

  • ความซับซ้อน: สีโทนน้ำตาลและเทา ให้ความรู้สึกสงบ แต่ในขณะเดียวกันยังสามารถสร้างความรู้สึกซับซ้อน ดูสง่างาม ใช้ร่วมกับวัสดุต่างๆ สร้างบรรยากาศได้หลากหลาย ทั้งความหรูหรา ทันสมัย และดูกลมกลืนกับธรรมชาติ
  • ความยืดหยุ่น: สีโทนน้ำตาลและเทา สามารถจับคู่กับสี ลวดลาย และพื้นผิวอื่นๆ ได้ง่าย เสมือนผืนผ้าใบที่ว่างเปล่า สามารถแต่งแต็ม เน้นจุดสำคัญ หรือ ทำให้กลมกลืนได้ง่าย สามารถใช้กับโทนสีอบอุ่นหรือโทนเย็นได้ และเข้าได้กับฤดูกาล แม้กระทั้งเทรนด์การตกแต่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยก็ตาม
  • ไร้กาลเวลา: สีโทนน้ำตาลและเทา มีความคลาสสิก และไร้กาลเวลา เข้ากับการออกแบบที่เปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการใช้โทนสีที่เป็นกลาง คุณสามารถสร้างการออกแบบที่ไม่เคยตกยุคและให้ความรู้สึกเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • ความกลมกลืน: สีโทนน้ำตาลและเทา เมื่อใช้ร่วมกับสีกลางอื่นๆ หรือในเฉดสีต่างๆ สีน้ำตาลและสีเทาสามารถสร้างการออกแบบที่กลมกลืนและเหนียวแน่น สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบและสมดุลในพื้นที่
  • พื้นผิว: สีโทนน้ำตาลและเทา เป็นสีที่อยู่ในเนื้อของวัสดุ โดยทั่วไปอยู่แล้ว เช่น ไม้ และโลหะ สามารถเน้นพื้นผิวของวัสดุให้เป็นจุดเด่น หรือเป็นองค์ประกอบโดยรวมได้ สร้างความเป็นมิติ และความน่าสนใจในการออกแบบได้อย่างง่ายๆ

ความหมายในเชิงความรู้สึก และสไตล์การตกแต่ง

สีโทนน้ำตาล

  • ความรู้สึก: Warmth, Comfort, Stability, Earthiness, Naturalness
  • การออกแบบตกแต่ง: Rustic, Vintage, Bohemian, Organic, Traditional
  • สไตล์: Casual, Relaxed, Cozy, Down-To-Earth, Timeless
  • วัสดุ: ไม้จริง และลายไม้ พื้น และวัสดุปิดผิวลายไม้, สิ่งทอ-หนัง, อิฐ, กระเบื้อง แกรนิตโต และกระเบื้องยางลายไม้, สีทาผนัง, โลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง รวมถึงการทำสี เช่น โรสโกลด์, กระจกเงารมทอง, หินปูพื้นและตกแต่ง เช่น แกรนิต หินอ่อน และของตกแต่งอื่นๆ

สีโทนเทา

  • ความรู้สึก: Neutrality, Calmness, Sophistication, Balance, Professionalism
  • การออกแบบตกแต่ง: Modern, Minimalistic, Industrial, Elegant, Chic
  • สไตล์: Formal, Sophisticated, Refined, Sleek, Timeless
  • วัสดุ: ไม้ทำสี การเผาผิวหน้าไม้ และวัสดุปิดผิวลายไม้, สิ่งทอ-หนัง, สีทาผนัง, กระเบื้อง แกรนิตโต และกระเบื้องยาง, โลหะ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส และการทำสี, กระจกเงารมดำ, ปูนเปลือย-ขัดมัน, หินปูพื้นและตกแต่ง เช่น แกรนิต หินอ่อน และของตกแต่งอื่นๆ

กฏ 80%/20%

กฎ 80/20 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กฎพาเรโต” (Pareto principle) หรือสัดส่วน 80/20 (Law of the vital few) หมายถึง ส่วนเล็กๆน้อยๆ ที่สำคัญและส่งผลต่อส่วนอื่นๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันของทั้งสองโทน โดยให้สัดส่วนของสีที่มากน้อยต่างกัน

จากรูป การตกแต่งเป็นสีน้ำตาล, และมีการใช้สีเทา ในสัดส่วน 50/50

จากรูป การตกแต่งโดยรวมเป็นโทนสีน้ำตาล, เบจ สีน้ำตาลจากวัสดุไม้พื้นน และตกแต่งผนัง และมีการใช้สีเทาเข้ม ที่เป็นผ้าม่าน สีดำของชั้นวางทีวี มาตัดเพื่อให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น

จากรูป โดยรวมเป็นโทนสีน้ำตาล ครีม เบจและมีการใช้สีเทาของวัสดุหินอ่อน มาตัดเพื่อให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น

จากรูป โดยรวมการตกแต่งเป็นสีโทนเทา และมีการใช้สีน้ำตาล ด้วยตัวเนื้อวัสดุอย่างโต๊ะไม้มาตัดเพื่อให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น

จากรูป โดยรวมการตกแต่งเป็นสีโทนเทา, ขาว และมีการใช้สีน้ำตาล ด้วยตัวเนื้อวัสดุอย่างพื้นไม้มาตัดเพื่อให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น

การเพิ่มสีธรรมชาติอย่างสีเขียวของต้นไม้, ใบไม้ เป็นสีที่ 3 ช่วยพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และยังสร้างความมีชีวิจชีวา ให้กับการตกแต่งอีกด้วย

เช่นเดียวกันเราสามารถเพิ่มสีที่ตัดกันเข้าไปใช่สัดส่วน 80/20 ซึ่งจะสามารถสร้างความน่าสนใจได้อย่างมาก

จากรูป เราสามารถเพิ่มสีที่ 3 ลงไป เพื่อสร้างความนี้สนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในสัดส่วน 70/20/10


หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ แนวไอเดียนำไปใช้ในการตกแต่งห้อง กับโทนสีน้ำตาล และสีเทาแนะนำเป็นตัวอย่างนะครับ ^ ^

บทความโดย: ทายาท เตชะสุวรรณ์ นักออกแบบ

หน้าม่วงหน้าเขียว ความลับคือค่า Color Rendering Index (CRI)

เคยเป็นไหมเวลาเราส่องกระจก หรือถ่ายรูปตัวเราเอง ถ่ายรูปสิ่งของที่เราอยากโชว์ลงสื่อโซเชียว แต่รูปที่ได้มากลายสีเพี้ยนๆ เป็นสีอมม่วง อมเชียว ทั้งๆที่เราก็ใส่มือถือรุ่นใหม่แบรนด์ดัง หรือเรารู้สึกว่า ทำไมเสื้อผ้าที่เราซื้อกลับมาลองใส่อีกครั้งที่บ้าน ไม่สวยสดใส เหมือนกับลองที่ร้าน หรือผัก-ผลไม้ในซุปเปอร์มาเก็ตเจ้าใหญ่ๆ ทำไมมันสีสวยน่าทานมากกว่าร้านขายผลไม้ ติดไฟ LED ทรงใบพัดตามข้างทาง ทั้งๆ ที่ ความสว่าง และอุณหภูมิแสง เดย์ไลท์/วอร์มไวท์ (แสงขาว/แสงเหลือง) ก็เหมือนๆ กัน ค่า CRI (Color Rendering Index) คือคำตอบนั้นเอง ค่า CRI ค่าความถูกต้องของสี เป็นค่าชี้วัดว่าแหล่งกำเนิดแสงส่องสว่างสีของวัตถุได้แม่นยำเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติหรือ แสงแดด

CRI วัดจากระดับ 0 ถึง 100 โดยคะแนนยิ่งสูงแสดงว่าแสดงสีได้ดีขึ้น คะแนน CRI 100 แสดงถึงการแสดงสีที่สมบูรณ์แบบ หมายความว่าสีของวัตถุได้รับการส่องสว่างอย่างแม่นยำและไม่ผิดเพี้ยน

CRI มีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ความถูกต้องของสีเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ในหอศิลป์ สตูดิโอถ่ายภาพ และโชว์รูม หรือร้านขายสินค้า หรืออุตสาหกรรม ที่ต้องการความถูกต้องของสีสูงๆ เช่น การเทียบสีของ สิ่งทอ หรือ การเปรียบสีของรอบการผลิตที่ต่างกัน เป็นต้น

CRI ต่ำ (ค่าความถูกต้องสี) สามารถทำให้วัตถุดูหม่นหมอง ซีดจาง หรือมีสีผิดเพี้ยนได้ เนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงที่มีค่า CRI ต่ำไม่สามารถแสดงสีของวัตถุที่ส่องสว่างได้อย่างถูกต้อง

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุ สีบางสีในสเปกตรัมจะถูกดูดกลืนโดยวัตถุ ในขณะที่สีอื่นจะสะท้อนกลับ แหล่งกำเนิดแสง CRI สูงจะสร้างสเปกตรัมของสีที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทำให้สามารถแสดงสีที่แท้จริงของวัตถุได้อย่างถูกต้อง ในทางกลับกัน แหล่งกำเนิดแสง CRI ต่ำจะสร้างสเปกตรัมของสีที่จำกัด ส่งผลให้การสร้างสีไม่แม่นยำ เช่น การจับคู่สีสิ่งทอแหล่งกำเนิดแสง CRI ต่ำอาจทำให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างเฉดสีที่คล้ายกันหรือตรวจจับความแตกต่างเล็กน้อยของสีได้ยาก ในร้านค้าปลีกหรือพิพิธภัณฑ์ แหล่งกำเนิดแสงที่มีค่า CRI ต่ำอาจทำให้สินค้าหรือการจัดแสดงดูน่าสนใจน้อยลง

ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว หลอดไฟ CRI สูงจึงเป็นที่นิยมสำหรับการใช้งานที่เน้นสี เช่น การจับคู่สี การถ่ายภาพ โชว์รูมสินค้าแฟชั่น โชว์รูมสินค้าตกแต่งบ้าน

ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์หลอดไฟยี่ห้อต่างๆ ที่ ระบุค่า CRI

ฉนั้นคั้งต่อไปในการเลือกซื้อหลอดไฟ นอกจาก กำลังไฟ เรื่องความสว่าง อุณหภูมิแสแล้ว เราควรสังเกตุค่า CRI ความถูกต้องของสี รวมด้วย แม้กระทั่งในบ้านของเรา เช่นห้องน้ำ ห้องแต่งตัว แสงสว่างที่กระจกแต่งหน้า หรือห้องรับแขก โดยทั่วไป ค่า CRI เท่ากับ หรือ มากกว่า 80 ขึ้นไป ถือเป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับหลอดไฟที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน ซึ่งรับรองว่าคุณจะรู้สึกว่า บ้านของคุณดูมีชีวิตชีวา ขึ้นมาอีกครั้งเลยที่เดียว ในทางกลับกันหลอดไฟที่ค่า CRI ต่ำ มักจะมีราคาถูก และไม่เขียนค่าดังกล่าวโชว์ไว้ที่หน้าบรรจุภัณฑ์


ตู้วิเศษจงบอกข้าเถิด ผ้าตัวไหนสีเพี้ยน

Color Matching Cabinets

ไม่ต้องมนต์วิเศษใดๆ เราก็สามารถรู้ได้ว่าสีเพี้ยนหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นฉบับ ตู้นี้ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเช่นกัน

Color Matching Cabinets หรือ ตู้เทียบสี เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการประเมินสีในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น สิ่งทอ การพิมพ์ ยานยนต์ หรือจะกล่าวได้ว่าทุกวงการ ที่จำเป็นต้องงมีการเปรียบเทียบกับสีเดิมที่เป็นต้นฉบับ หรือสีตัวอย่างที่ต้องการ โดยมีการออกแบบมาให้สภาพแสงมาตรฐาน โดยจำลองสภาพแวดล้อมของแสงที่แตกต่างกัน เช่น แสงกลางวัน และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อใช้เปรียบเทียบสีสภาพแสงต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญนั้นเอง

ตู้จับคู่สีเครื่องแรกได้รับการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดยบริษัท Munsell Color สำหรับการจับคู่สีในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ตั้งแต่นั้นมา ตู้เทียบสีก็ได้รับการพัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มเทคโนโลยีไฟแบบใหม่ LED เข้าไปด้วย และแสงที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบสีหลักๆ คือแสงจากหลอด D65 หรือแสงที่มีอุณหภูมิสี 6500K ซึ่งเป็นอุณหภูมิแสงที่ใกล้เคียงแสงแดดที่สุด (โซนยุโรป อเมริกา) กำหนดโดย International Commission on Illumination (CIE) ในปี 1964

ปัจจุบัน ตู้จับคู่สีมีการกำหนดค่าที่หลากหลายและมีแหล่งกำเนิดแสงหลายแหล่งสำหรับการจำลองสภาพแสงที่แตกต่างกัน ตู้บางตู้ยังใช้ไฟฟลูออเรสเซนต์ ในขณะที่ตู้อื่นๆ ใช้ไฟ LED เพื่อประหยัดพลังงาน และค่าความถูกต้องสีสูง (CRI) สามารถรวมแสงหลายประเภทไว้ในตู้เดียว ช่วยให้สลับระหว่างแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ได้ง่าย โดยรวมแล้ว ตู้เทียบสีเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการประเมินและจับคู่สีที่แม่นยำในอุตสาหกรรมต่างๆ

จากรูป เป็นการเปรีบเทียบสี จะเห็นว่ารูปด้านซ้าย ไม่เห็นความแตกต่างของสี เมื่ออยู่ใน แสงจากหลอดไฟ เดย์ไวท์ อุณหภูมสี 5000K (แสงขาว) แต่เมื่อเทียบกับรูปทางขวา ซึ่งจะเห็นสีไม่เท่ากันไปอยู่ในแสงทางด้านขวา ที่เป็นแสงวอร์มไวท์ อุณหภูมสี 2700K (แสงเหลือง)

หลอดไฟชนิดต่างๆ ในตู้เทียบสี

แหล่งกำเนิดแสงหลายแหล่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของตู้จับคู่สี เนื่องจากช่วยให้สามารถจำลองสภาพแสงประเภทต่างๆ เพื่อประเมินความถูกต้องของสีภายใต้สถานการณ์ต่างๆ แหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ที่ใช้ในตู้เทียบสีมักจะมีอุณหภูมิสี และค่าความถูกต้องสี (CRI) ที่แตกต่างกัน เพื่อจำลองประเภทของแสงกลางแดดและสภาพแสงอื่นๆ ได้แก่

  • D65 (Daylight 6500K): แหล่งกำเนิดแสงที่จำลองแทนแสงแดดตอนกลางวัน (โซนยุโรป, อเมริกา) ที่มีอุณหภูมิสี 6500K และ CRI 95 ใช้อ้างอิงสำหรับการประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นหลัก
  • D50 (Daylight 5000K): แหล่งกำเนิดแสงที่จำลองแทนแสงแดดตอนกลางวัน (โซนเอเชีย) ที่มีอุณหภูมิสี 5000K และ CRI 98 ใช้อ้างอิงสำหรับการประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมต่างๆ เปรียบกับสลับกับ D65 ไปมา โดยเฉพาะงานปรู๊ฟสี และงานภาพถ่าย
  • U30 (30 Phosphor Luminescence): แหล่งกำเนิดแสงที่มีอุณหภูมิสี 3000K และ CRI 82 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมพลาสติก และสิ่งทอ
  • TL84 (Tubular Luminescence 840): หลอดฟลูออเรสเซนต์สีขาวนวลที่มีอุณหภูมิสี 4000K และ CRI 85 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และพลาสติก
  • CWF (Cool White Fluorescent): หลอดฟลูออเรสเซนต์สีขาวนวลที่มีอุณหภูมิสี 4150K และ CRI 62 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมการพิมพ์
  • F (Fluorescent): หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีอุณหภูมิสี 2700K และ CRI 50 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • A (Incandescent): หลอดไส้ที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 2856K และค่า CRI 100 เป็นแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐานแห่งแรกสำหรับการประเมินสี และยังคงใช้ในบางอุตสาหกรรมในปัจจุบันเพื่อประเมินความถูกต้องของสีภายใต้สภาพแสงจากหลอดไส้
  • UV (Ultraviolet): แหล่งกำเนิดแสงหลอด UV เพื่อประเมินความคงทนของสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และพลาสติก รวมถึงผลกระทบของแสง UV ต่อรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาผ่านไป แหล่งกำเนิดแสง UV ในตู้เทียบสีมักจะปล่อยแสง UV ในช่วง 320-400 นาโนเมตร ซึ่งคล้ายกับแสง UV ที่พบในแสงแดดธรรมชาติ

รูปตัวอย่างแหล่งกำเนิดแสง (หลอดไฟ) ชนิดต่างๆ ซึ่งในบริเวญปลายหลอด ก็มักจะมีการเขียนกำกับไว้ว่าเป็นหลอดชนิดใด


การใช้แหล่งกำเนิดแสงหลายแหล่งในตู้จับคู่สีช่วยให้สามารถประเมินความถูกต้องของสีภายใต้สภาพแสงที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ถึงความแม่นยำของสีที่สม่ำเสมอในผลิตภัณฑ์และการใช้งานต่างๆ