fbpx

หน้าต่างแบบต่างๆ

หน้าต่างมีหลากหลายประเภทและชื่อเรียก วันนี้นิทัสเราพามาดูกันดีกว่า ว่าหน้าต่างมีแบบไหนบ้าง ถ้าเราจะแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  1. วัสดุที่นำมาทำหน้าต่าง เช่น หน้าต่างไม้ หน้าต่างกระจก-อลูมิเนียม เป็นต้น
  2. ลักษณะการเปิด-เปิด เช่น บานเปิด, บานสไลด์, บานยก เป็นต้น
  3. รูปแบบเฉพาะของชุดหน้าต่าง

แบ่งตามลักษณะการเปิด

บานตาย (เปิดไม่ได้)

บานฟิกซ์ Fixed Windows : บานกระจกที่ปิดตายไม่สามารถเปิดได้ ทำให้สามารถมองเห็นได้ แสงเข้าได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังกันน้ำรั่วซึมตามขอบกระจกได้แนบสนิท และยังไม่เกะกะกับพื้นที่ใช้สอยภายในภายนอกอีกด้วย แต่ข้อเสียของกระจกบานฟิกซ์คือ ไม่สามารถระบายอากาศได้ 


บานเปิดตามจุดหมุน

หน้าต่างบานเปิด Casement Windows : หน้าต่างบานเปิดเป็นหน้าต่างที่มีการใช้มากที่สุด มีให้เลือกหลายวัสดุ สามารถเปิดรับแสง และลมได้ดี ช่วยกำหนดทิศทางการระบายอากาศได้ แต่เมื่อเปิดหน้าต่างอาจส่งผลต่อพื้นที่ภายนอก เพราะจะกีดขวางทางเดินรอบตัวบ้าน ดังนั้นจึงนิยมใช้กับบ้านสองชั้นขึ้นไป

หน้าต่างบานกระทุ้ง Awning Windows: นิยมใช้ในต่างประเทศ เพื่อต้องการแสง แต่ไม่ต้องการให้สูญเสียอุณหภูมิในห้องมากนัก เหมาะกับพื้นที่ที่จำกัด สามารถระบายอากาศได้ดีตลอดเวลา มีความสูงมากกว่าความกว้าง จึงช่วยทำให้การออกแบบหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย

หน้าต่างบานหมุน Pivoted Windows: มีทั้งการหมุนเปิดทั้งแนวตั้งและแนวนอน ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่มักจะเป็นในรูปแบบของงานออกแบบตกแต่ง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจแปลกตา นั่นก็เพราะจุดหมุนซึ่งอยู่ตรงกลางทำให้หน้าต่างสามารถหมุนออกได้เพียง 90 องศา

หน้าต่างทิ้วแอนด์เทิร์น Tilt and Turn Windows : เป็นนวัตกรรมพิเศษของตัวบาน และกลไกลของวงกบในการเปิด ซึ่งสามารถเปิดได้แบบบานสวิงปกติ และสามารถเปิดแง้มด้านบนได้อีกด้วย มักพบในโรงแรมต่างประเทศ ทำให้สามารถเปิดรับลม และแสงได้เพื่อความปลอดภัย ตามมาด้วยราคาที่สูง ในประเทศไทยไม่เป็นที่นิยมมากนัก

หน้าต่างบานเฟี้ยม Folding Windows: เป็นการแก้ปัญหาของการกินพื้นที่ของหน้าต่างบานเปิดปกติ โดยการแบ่งตัวบานให้เป็นบานพับเป็นท่อนๆ สามารถลดพื้นที่ได้ดี สามารถเปิดได้กว้าง แต่มีข้อเสียเรื่องความแข็งแรง และราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหน้าต่างปกติทั่วไป


บานเลื่อน หรือบานสไลด์

หน้าต่างบานสไลด์ Sliding Windows: ด้วยเทคโนโลยีทางด้านวัสดุในปัจจุบันที่นิยมใช้อลูมิเนียม และกระจกเข้ามาทดแทนหน้าต่างไม้ ด้วยรูปแบบของหน้าต่างสไลด์ ที่ไม่กินเนื้อที่ในวงสวิงการเปิด เป็นที่นิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีทั้งแบบเป็นบานฟิกซ์หนึ่งด้าน และอีกด้านสไลด์ หรือจะเป็นแบบสไลด์ทั้งสองบาน

หน้าต่างบนยก Sash Windows: เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของหน้าต่างบานสไลด์แต่จะสไลด์ขึ้นด้านบนแทน
ไม่กินเนื้อที่ในวงสวิงในการเปิด ส่วนใหญ่จะเป็นบานฟิกซ์ข้างบน และบานยกด้านล่าง มักเจอกับบ้านสไตล์ยุโรปที่ต้องการแสงสว่าง แต่ไม่ต้องการสูญเสียอุณหภูมิภายในห้อง


หน้าต่างบานเกล็ดไม้  Louvered Windows: เป็นหน้าต่างที่นิยมในแถบประเทศเมืองร้อน ต้องการอากาศถ่ายเท พลางสายตา เป็นได้ทั้งหน้าต่างบานฟิกซ์ บานเปิด และบานกระทุ้งพบในบ้านสมัยก่อน สมัยที่หน้าต่างส่วนใหญ่ยังเป็นวัสดุไม้ ในปัจจุบันจะปรับใช้เป็นช่องระบายอากาศ

หน้าต่างบานเกล็ดกระจก ปรับได้ Jalousie Windows: เป็นหน้าต่างที่นิยมมากในสมัยก่อน เพราะให้ทัศนวิสัยที่ดี ไม่เสียพื้นที่ในการเปิดปิด ระบายอากาศดี เพราะสามารถปรับหน้าต่างได้ มีหลากหลายประเภทและชื่อเรียก


รูปแบบลักษณะของชุดบานหน้าต่าง

หน้าต่างเข้ามุม Corner Window : เป็นที่นิยมกับบ้าน และคอนโดสมัยนี้ เปิดองศาการมองเห็นได้ดี แต่อาจต้องใส่ใจในเรื่องของการติดตั้งม่านเป็นพิเศษ

เบย์วินโดว์ Bay Window: หน้าต่างยื่นออกจากตัวทรงสี่เหลี่ยมคางหมู มักเห็นในบ้านสไตล์ยุโรป สามารถเปิดรับทัศนียภาพโดยรอบได้ในมุมมองที่กว้างมากขึ้น จากหน้าต่างทางด้านซ้าย-ขวาที่ตั้งอยู่ในมุมเฉียง ในเรื่องของมุมมองที่กว้างขึ้นแล้ว ยังเป็นมุมมองที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ ใกล้กับวิวภายนอกได้มากยิ่งขึ้น  ทำให้แสงสามารถส่องเข้ามาในห้องได้ดีอีกด้วย

โบว์วินโดว์ Bow Windows: หน้าต่างยื่นออกจากตัวทรงโค้ง มักเห็นในบ้านสไตล์ยุโรป แต่เป็นที่สังเกตว่า ทรงของผนังโค้งก็จริงแต่ตัวกรอบของบานกระจกก็จะเป็นแผ่นตรงขนาดไม่กว้างต่อๆ กันให้เป็นตรงโค้ง และในส่วนของความหนาของผนังก็จะหนากว่าปกติ เพื่อให้มีพื้นที่ในการโค้งอีกด้วย

หน้าต่างทรงเรือนกระจก Garden Windows: หน้าต่างยื่นออกจากบ้าน และได้แสงจากหลังคากระจกด้านบน นิยมทำในบ้านสไตล์ยุโรปที่ต้องการแสงสว่างจำนวนมาก เพื่อต้องการปลูกต้นไม้ภายในที่ต้องการแสงแดด ส่งเสริมความมีชีวิตชีวาจากต้นไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนเรือนกระจกขนาดย่อมๆในบ้าน


นวัตกรรมผ้ากันไวรัส Anti Virus

ISO 18184:2019 Textiles — Determination of the antiviral activity of textile products

ISO 18184:2019 เป็นมาตรฐานวิธีการทดสอบสมรรถนะการต้านทานเชื้อไวรัสของผ้าและเนื้อผ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ติดต่อกับผ้าและเนื้อผ้าได้ เช่น เชื้อไวรัสโคโรนา และเป็นการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสบนผ้าและเนื้อผ้า

ขั้นตอนของ ISO 18184:2019 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. เตรียมตัวต้นแบบ (Prototype Preparation) – การเตรียมตัวต้นแบบผ้าทดสอบ ซึ่งจะต้องเป็นผ้าและเนื้อผ้าที่สามารถทดสอบได้เท่านั้น โดยผ่านการกำหนดขนาดผ้าและเนื้อผ้า เตรียมตัวผ้าเพื่อให้มีความเปียกชุ่ม (Wetting), และใช้วิธีการตัดผ้าสำหรับทดสอบเข้ากับตัวเครื่องทดสอบ
  2. การทดสอบ (Test Procedure) – การทดสอบการต้านทานเชื้อไวรัสของผ้าและเนื้อผ้า โดยวิธีการทดสอบคือการใช้เชื้อไวรัสที่กำหนดมาในการทดสอบ นำไปสัมผัสกับผ้าและเนื้อผ้าที่เตรียมไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า และวัดปริมาณของเชื้อไวรัสที่เหลืออยู่บนผ้าและเนื้อผ้า โดยใช้เทคนิคการวัดความเจือจางของเชื้อไวรัส นับเป็นจำนวนก้อน (Plaque)
  3. การประเมินผล (Result Evaluation) – การประเมินผลการทดสอบ โดยใช้ค่าปริมาณเชื้อไวรัสที่เหลืออยู่บนผ้าและเนื้อผ้า และนำไปคำนวณเป็นคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพื่อประเมินความสามารถในการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสบนผ้าและเนื้อผ้า

ด้วยการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 18184:2019 จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ติดต่อกับผ้าและเนื้อผ้าได้ และช่วยให้ผู้ผลิตผ้าและเนื้อผ้าได้รับการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการต้านทานเชื้อไวรัสอย่างแท้จริง โดยการทดสอบด้วยมาตรฐานที่มีความเป็นมาตรฐานสากลจะช่วยให้ผู้บริโภคได้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานผ้าและเนื้อผ้าในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ทาสีห้องใหม่ ต้องใช้สีเท่าไหร่

อันดับแรก คำนวนพื้นที่ผนังแต่ละด้านที่ต้องการทาสี โดยใช้ตลับเมตรวัด ความกว้างx ความสูงของผนังทุกด้าน คำนวนพื้นที่ ตารางเมตร 

ตัวอย่างรูป

มีผนัง 3 ด้าน ประกอบด้วย ผนัง A, B และ C

  • การคำนวนคือผลรวม (ผนัง A กว้างxสูง)+(ผนัง B กว้างxสูง)+(ผนัง C กว้างxสูง)

มีประตู A และ หน้าต่าง B, C และ D

  • การคำนวนคือผลรวม (ประตู A กว้างxสูง)+(หน้าต่าง B กว้างxสูง)+(หน้าต่าง C กว้างxสูง)+(หน้าต่าง D กว้างxสูง)


จากนั้น นำตัวเลขที่ได้ มาเข้าการคำนวนดังนี้



มาดูกันว่า ถังสีในท้องตลาดมีขนากปัจจุเท่าใดบ้าง และเราควรจะเลือกซื้อขนาดเท่าใดถึงจะเหมาะสม

  • ถังสี ถังเล็ก หรือถัง 1 แกลลอน ทาสีได้ 15 ตรม. (ทา 2 รอบ)
  • ถังสี ถังกลาง หรือถัง 3 แกลลอน ทาสีได้ 45 ตรม. (ทา 2 รอบ)
  • ถังสี ถังใหญ่ หรือถัง 5 แกลลอน ทาสีได้ 75 ตรม. (ทา 2 รอบ)

ผ้าม่านสีเข้มห้องแคบ ผ้าม่านสีอ่อนห้องกว้าง จริงหรือ?

ผ้าม่านสีเข้มจะทำให้ห้องดูเล็กลงและแคบมากขึ้น เพราะจะดูดซับแสงได้มากกว่าแต่ก็สร้างความรู้สึกลึกให้กับห้องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผ้าม่านสีอ่อนไม่ได้ทำให้ห้องดูกว้างเสมอไป

นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ สีสัน เท็กเจอร์ และลวดลายของผ้าม่านก็มีผลกระทบต่อการรับรู้ขนาดและบรรยากาศของห้อง ผ้าม่านสีอ่อนสามารถสะท้อนแสงธรรมชาติได้มากกว่า ซึ่งสร้างความสว่างและความรู้สึกโปร่งโล่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความหนา-บางของผ้าม่านก็ส่งผลต่อพื้นที่ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ผ้าม่านหนาสีอ่อนสามารถสร้างความรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง ในขณะที่ผ้าม่านโปร่งแสงหรือกึ่งโปร่งแสงสามารถให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย

โดยรวมแล้ว การเลือกผ้าม่านขึ้นอยู่กับสไตล์โดยรวมและบรรยากาศที่ต้องการของห้อง รวมถึงปริมาณแสงธรรมชาติและองค์ประกอบอื่นๆ ในการออกแบบ


  • ผ้าม่านสีอ่อน มีการสะท้อนแสงที่มากกว่า ผ้าสีเข้ม จึงทำให้แสงจากแห่งกำเนิดแสง มีการสะท้อนและกระจายได้มากกว่า ซึ่งทำให้ห้องโดยรวมดูสว่างกว่า เมื่อเปรียบเทียบห้องที่ผ้าม่านสีเข้มกว่า จึงทำให้ห้องดูเสมือนว่า ห้องกว้างนั้นเอง
  • เหมาะกับห้อง สไตล์อบอุ่น ร่วมสมัย ห้องที่ต้องการความส่าง ความแอคทีฟ ต้องการสะท้อนของแสงมาก เช่น ห้องรับแขก, ห้องนั่งเล่น, ห้องทำงาน เป็นต้น

  • ผ้าม่านสีเข้ม จะมีการสะท้อนแสงที่น้อยกว่า ผ้าสีอ่อน จึงทำให้แสงจากแห่งกำเนิดแสง มีการสะท้อนและกระจายได้น้อยกว่า ซึ่งทำให้ห้องโดยรวมดูมืดกว่า เมื่อเปรียบเทียบห้องที่ผ้าม่านสีอ่อนกว่า จึงทำให้ดูเสมือนว่าห้องแคปนั้นเอง
  • เหมาะกับห้อง สไตล์โมเดิร์น หรูหร่า ห้องที่ต้องการความสงบ ไม่ต้องการสะท้อนของแสงไม่เยอะมาก เช่น ห้องนอน เป็นต้น

เลือกผ้าม่านอย่างไร ให้เหมาะสมกับทิศของห้อง?

ทิศทางการขึ้นของดวงอาทิตย์ของประเทศไทย และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มขึ้นจากทิศตะวันออก จากนั้นอ้อมโค้งไปทางทิศใต้ และตกทางทิศตะวันตก เป็นเวลาประมาณ 8 เดือน คือกันยายนจนถึงเมษายน ดังนั้นทิศใต้และทิศตะวันตกจะเป็นทิศที่ได้รับความร้อนมากที่สุด ประมาณ 8-9 เดือนต่อปี การวางตำแหน่งห้องในทิศนี้จึงควรเป็นห้องที่ต้องการความร้อน ควรหลีกเลี่ยงห้องที่ต้องทำกิจกรรมตอนเย็นถึงค่ำ 

ส่วนทิศตะวันออกจะได้รับแสงในตอนเช้าถึงเที่ยงซึ่งเป็นแดดที่ไม่แรง และทิศเหนือเป็นทิศที่รับแสงแดดน้อยที่สุด ดังนั้นสองทิศนี้จึงควรวางตำแหน่งของห้องที่ไม่ต้องการความร้อน ควรเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมระหว่างวัน และพักผ่อน เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น นอกจากนั้นควรจัดวางด้านแคบของตัวบ้านหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกซึ่งเป็นทิศที่รับแสงแดด เพื่อให้มีพื้นที่ผนังที่รับแสงแดดน้อยที่สุด เนื่องจากผนังอาคารจะดูดซับความร้อนไว้ในเวลากลางวันและคายความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ดังนั้นเมื่อมีพื้นที่ผนังที่โดนแสงแดดน้อยจึงดูดกลืนความร้อนในปริมาณน้อยและคายความร้อนออกมาน้อย ทำให้ภายในบ้านไม่ร้อนจนเกิดไปในเวลากลางคืน

แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ห้องนั้นอยู่สบาย หลายคนคงประสบปัญหาห้องโดนแดดมากไปจนทำให้ร้อน หรือห้องโดนแดดไม่เพียงพอทำให้อับชื้น วันนี้เราจึงพาทุกคนไปเลือกผ้าม่านให้เหมาะสมกับทิศทางของห้อง เพราะผ้าม่านนอกจากจะใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสามารถกรองแสง หรือกันแสงให้กับห้องได้อีกด้วย งั้นเราไปดูกันเลยว่าผ้าม่านแบบไหน เหมาะกับห้องทิศใด

ห้องทิศตะวันออก ‘แสงแดดยามเช้าจะให้ความอบอุ่น หากมันไม่ได้ส่องห้องของคุณมากเกินไป’ ทิศตะวันออกเป็นทิศขึ้นของพระอาทิตย์ ดังนั้นห้องทิศตะวันออก จึงได้รับแดดอ่อนๆ ในยามเช้าตลอดทั้งปี ซึ่งลักษณะแดดยามเช้าจะให้ความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ช่วยปลุกร่างกายที่กำลังตื่นนอนได้เป็นอย่างดี และแสงแดดจะค่อยๆ หายไปในยามบ่าย แม้จะเป็นแสงแดด แต่ทางด้านทิศตะวันออกจะไม่ค่อยมีลมทำให้รู้สึกอบอ้าว

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศตะวันออก

  • ผ้าม่าน (Curtain) หากคุณเป็นคนที่ชอบรับแสงในยามเช้าของทุกวัน สามารถใช้ผ้าม่านปกติในการตกแต่งห้องทิศตะวันออกได้ โดยผ้าม่านปกติ สามารถกรองแสงได้ประมาณ 50%
  • ผ้าม่านกันแสง (Dim-out Curtain) หากไม่ชอบให้ห้องดูมืดสนิทมากเกินไป ผ้าม่านกันแสงสามารถทำให้ห้องของคุณมีความสว่างเล็กน้อย ไม่ดูอึดอัดมากไป เนื่องจากผ้าม่านกันแสง สามารถกันแสงได้ถึง 80%
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

ห้องทิศตะวันตก ห้องทิศตะวันตกเป็นห้องที่ได้รับแสงแดดตั้งแต่ช่วงบ่ายตลอดทั้งปี ซึ่งแดดยามบ่ายจะมีอุณหภูมิสูงมาก เพราะฉะนั้นห้องทิศตะวันตกจะร้อนมาก และสะสมความร้อนจนถึงช่วงพลบค่ำ แม้ว่าแดดจะแรงแต่ควรให้ห้องได้รับแสงแดดบ้าง เพื่อช่วยลดกลิ่นอับ และช่วยฆ่าเชื้อโรค

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศตะวันตก

  • ผ้าม่านทึบแสง 100% (Black Out Curtain) หากในชีวิตประจำวันคุณจำเป็นต้องใช้ห้องทิศตะวันตก ผ้าม่านกันแสง 100% จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับห้องทิศนี้ ทำให้แสงแดดไม่สามารถลอดผ่านเข้ามาในห้องได้ ช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นลง และสามารถช่วยประหยัดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศอีกด้วย
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

ห้องทิศใต้ ห้องทิศใต้จะได้รับแดดตั้งแต่ช่วงสาย ถึงบ่าย และในเดือนกันยายน จนถึงมีนาคมห้องทิศใต้จะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ทำให้ห้องทิศใต้มีอากาศร้อนมากในช่วงสาย จนถึงบ่าย และทางทิศใต้จะได้รับลมในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ดังนั้น ห้องทางทิศใต้ควรจะสามารถรับลมได้ดี เพื่อให้ห้องเย็นขึ้น แต่ต้องบังแดดที่เข้ามาทางทิศนี้ด้วย

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศใต้

  • ผ้าม่านทึบแสง 100% (Black Out Curtain) ทิศใต้ได้รับแดดพอๆ กับทิศตะวันออกและเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ห้องทิศใต้จึงจำเป็นต้องใช้ผ้าม่านกันแสง 100% ในการบังแดดร้อนในช่วงสาย ถึงบ่าย
  • ผ้าม่านกันแสง (Dim-out Curtain) หากไม่ชอบให้ห้องดูมืดสนิทมากเกินไป ผ้าม่านกันแสงสามารถทำให้ห้องของคุณมีความสว่างเล็กน้อย ไม่ดูอึดอัดมากไป เนื่องจากผ้าม่านกันแสง สามารถกันแสงได้ถึง 80%
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

ห้องทิศเหนือ ห้องทิศเหนือ เป็นห้องที่ได้รับแสงแดดน้อยมาก เนื่องจากพรอาอาทิตย์จะโคจรอ้อมไปทิศใต้ โดยทั้งปีห้องทิศเหนือจะได้รับแสงเพียงแค่ฤดูหนาว ทำให้ทิศเหนือได้รับร่มเงาจากอาคารตลอดช่วงบ่าย ดังนั้น อากาศของทิศเหนือจึงสบายกว่าห้องทางทิศอื่นๆ

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศเหนือ

  • ผ้าม่าน (Curtain) ห้องทิศเหนือเป็นห้องที่ไม่โดนแสงแดดโดยตรงทั้งวัน การใช้ผ้าม่านธรรมดา จึงใช้เพื่อการตกแต่งให้ห้องสวยงาม น่าอยู่มากขึ้น และไม่ทำให้ห้องดูทึบเกินไป
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

คำนวณตารางหลา คิดยังไงนะ?

หลายคนอาจปวดหัวว่า การขายผ้าม่านบางชนิด ไม่ได้ขายเป็นตารางเมตร หรือหลา (ขายเป็นหลา? วิธีคำนวนหลาเป็นเมตร) แต่ขายเป็นตารางเมตร หรือตารางหลาแทน โดยเฉพาะม่านประเภทม่านม้วน (Roller Blinds) หรือมู่ลี่ (Wooden Blinds) ในตลาดส่วนใหญ่มักจะคำนวนการขายเป็นตารางเมตร หรือตารางหลา ในส่วนของตารางเมตรนั้นคงไม่มีปัญหา เพราะสามารถเอาความกว้างของหน้าผ้า(เมตร) x ความยาวของผ้า(เมตร) ได้เลย คงไม่ใช่ปัญหาในการคำนวน แต่ตารางหลานั้น คิดยากกว่าแน่นอน วันนี้นิทัส เทสซิเล จะมาช่วยคุณคำนวนตารางหลาให้ง่ายขึ้น ด้วยโปรแกรมคำนวนตารางหลาด้านล่างนี้

วิธีคำนวนตารางหลา

(ความกว้าง(เมตร)/0.9) x (ความยาว(เมตร)/0.9) = ตารางหลา


ผ้าสีเพี้ยน!!! โทษใครดี

ผ้าสีเพี้ยน!!! โทษใครดี “จะโทษดินจะโทษน้ำ จะโทษเดือนและดาว กับเรื่องราวที่ปวดร้าว ที่เธอมาทำแล้วหนีไป” ก่อนที่เราจะมาโทษใครดีเรามาดูกันดีกว่าว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เวลาเราเห็นสีผ้าเพี้ยนแตกต่างออกไป หรือเมื่อเราติดผ้าม่านที่บ้านเสร็จแล้ว ปรากฎว่าสีมันไม่เหมือนอย่างที่คิดไว้ เรามาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้เรา เห็นสีผ้าเพี้ยนไปจากความเป็นจริงมีอะไรบ้าง

  • สีเพี้ยนจากการดูสีผ้าผ่านหน้าจอ เช่น อุปกรณ์ถ่ายรูป, การดูสีผ้าผ่านจอมือถือ
  • สีเพี้ยนจากการมองเห็นสีผ้าจริง เช่น การมองเห็นในบรรยากาศแสงที่ต่างกัน, มุมมอง และ ระยะการมอง, ขนาดของชิ้นผ้า, ใส่แว่นที่มีแลนส์แบบพิเศษ
  • สีเพี้ยนจากตัวผ้าเอง เช่น ชนิดของเส้นด้าย, ชนิดของผ้า, ผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ, ผ้าต่างรอบการผลิต, การซีดจางจากการโดนแสงแดดเป็นเวลานาน, การซีดจางจากการซัก
  1. การดูสีผ้าผ่านหน้าจอ ในปัจจุบันการเลือกซื้อของ ต่างมาอยู่ในระบบออนไลน์โดยส่วนใหญ่ ซึ่งธุรกิจการขายผ้าก็เข้ามาอยู่ในระบบนี้เช่นกัน แต่ด้วยเรื่องของสีผ้าก็เป็นปัญหาที่ตามมาด้วยเช่นกัน เพราะด้วยเหตุนี้เรามาดูกันว่าปัจจัยที่ทำให้สีเพี๊ยนเวลาเราดูตัวอย่างผ้า ผ่านการดูผ่านหน้าจอแสดงผลต่างๆ มีอะไรบ้าง
    • อุปกรณ์นำเข้ารูป เมื่อพูดถึงอุปกรณ์ในการเก็บรูปภาพในการทำตัวอย่างเพื่อนำเสนอนั้น ก็จะมีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ การถ่ายรูป และ การใช้เครื่องสแกน ทั้งสองอย่างนี้มีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันคือ
      • การถ่ายรูป เป็นที่นิยมสูง เห็นภาพได้ค่อนข้างเหมือนจริง สามารถถ่ายผืนใหญ่เท่าไหร่ก็ได้ ข้อเสียคือมีความเพี้ยนของสีสูง ประกอบด้วยหลายปัจจัยมาก เช่น ถ่ายแสงจากธรรมชาติ หรือถ่ายแสงจากหลอดไฟซึ่งก็มีหลากหลายชนิด, มุมการถ่าย, ชนิดกล้องที่ถ่ายไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป หรือกล้องมือถือที่หลากหลายยี่ห้อมาก เป็นต้น และที่สำคัญเราไม่สามารถจับสัดส่วนภาพจริงได้ว่า ลายผ้าที่ถ่ายนี้ มีขนาดจริงเท่าไหร่
      • การสแกนผ้า เป็นที่นิยมในการทำตัวอย่างผ้าแบบสมัยใหม่ เพราะสามารถเห็นดีเทลของเนื้อผ้าชัดเจน สามารถเทียบสัดส่วนของลายผ้าได้จริง มีความเท่ากันของแสงทั่วทั้งผืน ข้อเสียคือ ไม่สามารถสแกนผ้าชิ้นใหญ่ได้เต็มหน้าผ้า ซึ่งปกติหน้าเครื่องจะมีอยู่ประมาณขนาด A4 เท่านั้น และปัญหาอีกอย่างคือ ถ้าผ้านั้นเป็นแบบที่มีการทอพิเศษ เช่น ผ้ากำมะหยี่ Velvet ที่เป็นลักษณะเป็นขนๆ เล็กๆ เวลาสแกนก็จะเกินความเพี้ยนสูง หรือผ้าที่มีลักษณะของเส้นด้ายมันเงา ในการสแกนก็จะไม่เห็นมิติของความเงาเท่ากับการถ่ายรูปจริงในลักษณะผ้าที่มีการเข้าลอน ที่จะเห็นความเงาของเนื้อผ้าได้อย่างชัดเจน
  • จอแสดงผล แน่นนอนว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการดูในมือถือ และการดูในหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีปัจจัยทั้ง รูปแบบของชนิดจอ LED, OLED ฯลฯ และยี้ห้อของจอชนิดนั้นๆ เช่น หน้าจอของมือถือยี่ห้อหนึ่งเทียบกับมือถืออีกยี่ห้อหนึ่ง ในการเปิดรูปเดียวกันก็จะแสดงรูปสีสันที่ไม่เท่ากัน 100% ขึ้นอยู่กับ อุปกรณ์, ซอฟแวร์ และระบบการประมวนผลของยี้ห้อนั้นๆ ด้วย เช่นบางยี่ห้ออาจดูติดเหลือง หรือติดแดง เป็นต้น และที่สำคัญที่สุดอันที่ถกเถียงกันอย่างมาก คือโดยปกติแล้วมือถือหลายคนชอบปรับระดับความสว่างต่ำๆในการใช้งานปกตินั้นอาจไม่ส่งผลอะไรมาก แต่การดูสีผ้านั้นจำเป็นต้องปรับให้ความสว่างสูงสุด เพื่อความถูกต้องในการเห็นสี เพราะสามารถ เกิดขึ้นได้ว่าผ้าที่เห็นนั้นเป็นสีขาว หรือสีเทาอ่อนกันแน่ การปรับความสว่างหน้าจอที่ไม่เพียงพอจะทำให้การตัดสินใจพลาดได้

2. การมองเห็นสีผ้าจริง แม้ว่าเราจะเห็นตัวอย่างผ้าของจริงแล้วก็ตาม แต่ความเพี้ยนของสีผ้าก็ยังสามารถเกินขึ้นอีกหลายปัจจัยดังนี้

  • การมองเห็นในบรรยากาศแสงที่ต่างกัน เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่คนทั่วไปไม่ทันสังเกตุ หรือไม่ได้ให้ความสำคัญ เพราะการที่เราเลือกผ้าจากตัวอย่างที่เห็น โดยเลือกผ่านบรรยากาศไฟที่ต่างกันสีผ้าก็จะต่างกันด้วย เช่น เราเข้าไปที่ร้านผ้าม่านเลือกตัวอย่างผ้าที่เห็นโดยร้านม่านนั้น ติดไฟวอร์มไวท์ หรือไฟที่ออกสีเหลืองนั้นเอง โดยเราเลือกผ้าในบรรยากาศแสงนั้น และสรุปได้ผ้าที่ต้องการสีเป็นสีน้ำตาลเทาๆ แต่ปรากฎว่านำมาติดตั้งที่บ้านเป็นสีเทา เนื่องจากห้องที่ติดเป็นหลอดไฟแบบเดย์ไลท์ สามารถอ่านข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติม
  • มุมมอง และระยะการมองผ้า ผ้าเป็นวัสดุที่มีมิติการมองเห็นที่เมื่อเรามองต่างมุมกันออกไป ก็จะส่งผลให้เห็นลักษณะความเข้มอ่อน ความเงาด้าน หรือการปรากฎลวดลายที่ชัดเจน หรือหายไปกับระยะการมองได้เช่นกัน เช่น การตัดสินใจซื้อผ้าจากตัวอย่างผ้าที่วางอยู่บนโต๊ะ ซึ่งมองห่างจากระยะสายตา ไม่เกิน 1 เมตร แต่เมื่อเราติดตั้งผ้าม่านนั้นจริง ซึ่งระยะ การมองเห็นผ้าม่านในระยะใช้งานจริง มากกว่า 2 เมตร ซึ่งลักษณะของเท็กเจอร์ที่ปรากฎในการมองระยะใกล้ ก็อาจกลายเป็นอีกลักษณะหนึ่ง หรือหายไป เป็นเพียงลายเรียบๆ ก็เป็นได้
  • ขนาดของชิ้นผ้า ปกติเมื่อเราเลือกผ้าจากเล่มตัวอย่าง ชิ้นเล็กๆ กับผ้าม่านจริงเราจะรู้สึกว่าผ้านั้นสีเข้มกว่า หรือ สดกว่าที่เราจำได้ว่าเลือกตอนอยู่ที่ร้านผ้าม่าน เป็นเพราะสายตาของเราตอนเลือกผ้าจากเล่ม มีสีอื่นๆ มากวนสายตาด้วย และส่วนใหญ่ผ้าจะติดอยู่กับกระดาษสีขาว ซึ่งตัวกระดาษสีขาวนี้เอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของการรบกวนการมองเห็นเช่นกัน ตัวอย่างรูปด้านล่าง
    • รูป A สี่เหลี่ยมสีเทาตรงกลาง เมื่อเทียบกับสีเทาอ่อนทางซ้ายมือ ก็จะเห็นเป็นสีเทานั้นเข้มขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อเทียบกับสีเทาด้านขวามือ ก็จะดูเป็นสีเทาอ่อนลง
    • รูป B สี่เหลี่ยมสีแดงตรงกลาง เมื่อเทียบสีแดงทางซ้ายมือ ก็จะดูสีแดงนั้นสดเข้มขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อเทียบกับรูปสีแดงด้านขวา ก็จะเห็นเป็นสีแดงซีดจางลงนั้นเอง
  • ใส่แว่นที่มีเลนส์แบบพิเศษ อาจเป็นปัญหาของการสื่อสารกันระหว่างบุคคลที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดย ไม่ทันคิดมาก่อน ปกติคนที่สายตาสั้นหรือยาว ใส่แว่นเลนส์แบบ ธรรมดา ย่อบาง และมัลติโค้ตตัดแสงสะท้อนทั่วไป ก็ไม่เป็นปัญหาในการมองเห็น แต่มีเลนส์ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมสูงในปัจจุบันคือเลนส์แบบ มัลติโค้ตตัดแสงสีฟ้า, บลูคัท หรือ บลูบล็อก แล้วแต่ชื่อทางการค้าจะเรียก ซึ่งเป็นเลนส์ฮอตฮิตกับคนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์มากๆ หรือแม้กระทั่งคนที่ชอบเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ ด้วยคุณสมบัติของ การตัดแสงสีฟ้า ที่เชื่อว่า แสงสีฟ้านั้นเป็นอันตรายต่อสายตา ซึ่งด้วยคุณสมบัตินั้นเอง จึงทำให้คนที่ใส่แว่นชนิดตัดแสงสีฟ้า มองเห็นทุกอย่างโดยตัดแสงสีฟ้าออกไปส่วนหนึ่ง แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกอย่างที่มองเห็น จะมีความอมเหลืองเล็กน้อย โดยถ้าเราใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน ขับรถ เล่นเกมส์ การตัดแสงสีฟ้านี้จะไม่ส่งผลใดๆ ต่อการใช้ชีวิตปกติ แต่เมื่อเราต้องการเลือกผ้า เลือกสีทาบ้าน หรือสื่อสารด้านสีกับบุคคลอื่นจะเกิดความเพี้ยนขึ้นอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างง่ายที่สุดคือ เมื่อคนใส่แว่นแบบตัดแสงสีฟ้า มองกระดาษ A4 สีขาว ก็จะเห็นสีเป็นสีขาวนวลๆ มาทางสีครีมนิดๆ แต่เมื่อคุณถอดแว่นโดยมองด้วยตาเปล่าสีขาวที่คุณเห็น ก็จะไม่อมเหลือง เป็นสีขาวปกติทั่วไป นั้นเอง ฉะนั้น ถ้าต้องการเห็นสีที่แท้จริงในการเลือกสี แล้วสื่อสารกับบุคคลอื่นๆ เราไม่ควรใส่แว่นที่มีการตัดแสงสีฟ้า เพราะบุคคลอื่นๆ นั้นจะมองเห็นสีที่ไม่เหมือนกันกับคุณ แต่ทว่า ถ้าคุณเป็นคนเลือกเองใช้เอง มองเอง โดยใช้แว่นเลนส์ตัดแสงฟ้านี้ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถใส่เลือกผ้านั้นได้เลย ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

3. จากตัวผ้าเอง สุดท้ายแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คือการสีเพี้ยนจากกระบวนการผลิตเอง เรามาดูกันดีกว่าว่ามาปัจจัยอะไรบ้าง

  • ชนิดของเส้นด้าย มีผลต่อการมองเห็นสีที่เพี้ยน จะเห็นได้ว่าในเส้นใยธรรมชาติส่วนใหญ่มีผิวที่ไม่เรียบมีเท็กเจอร์ มีผลทำให้การสะท้อนแสงของเส้นใยแตกต่างกัน เช่นตัวอย่างเส้นใยของผ้าฝ้ายที่เป็นลักษณะหน้าตัดแบบเมล็ดถั่วและมีความบิดเป็นเกลียว เมื่อนำทอเป็นผืนผ้า ก็จะมีลักษณะผิวโดยรวมดูด้าน ไม่เงา ไม่ส่งผลต่อการเพี้ยนในการมองเห็นมากนัก ผิดกับผ้าที่มาจากเส้นใยไหม ที่หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสามารถสะท้อนแสงได้ดี รวมไปถึงเส้นใยสังเคราะห์ อย่างโพลีเอสเตอร์ซึ่งเป็นเส้นใยประดิษฐ์ ที่มีลักษณะการฉีดออกมาเป็นเส้น มีผิวเรียบทรงกระบอก ก็สามารถสะท้อนแสงได้มาก เช่นกัน เมื่อเรานำเส้นใยเหล่านี้มาทอเป็นผ้าผืน จะทำให้มีความเงาขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความเงานี้ส่งผลทำให้เราสามารถเห็นผ้าสีแดงตามรูปด้านล่างนี้มีน้ำหนักของสี ที่ทั้งสว่างขึ้นเมื่อกระทบแสง และมืดลงเมื่อไม่ได้รับแสง เกิดเป็นมิติแสงเงาที่มากกว่าผ้าที่เป็นเนื้อฝ้ายโดยทั่วไป ฉะนั้นในการเลือกผ้าม่าน หรือผ้าบุโซฟา เราควรเห็นเนื้อผ้าจริง และลองจับผืนผ้าให้เกิดลอน เพื่อให้เห็นมิติของแสงเงาที่เกิดจากผ้านั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
  • ชนิดของผ้า ในผ้าเนื้อกำมะหยี่ หรือ Velvet เป็นผ้าที่มีการทอแบบพิเศษ ซึ่งด้วยการทอแบบพิเศษนี้เองทำให้เกิดความเพี้ยนสีเกิดขึ้น ยกตัวอย่างผ้ากำมะหยี่สีแดง เมื่อเรามองจากมุมหนึ่งจะเห็นเป็นสีแดงปกติ แต่เมื่อเราเปลี่ยนมุมในการมอง เราก็อาจมองเห็นสีแดงนั้นเข้มขึ้นอย่างมากในมุมที่ต่างออกไป เพราะเนื้อผ้าชนิดนี้ มีการทอที่มีเส้นขนของผ้าที่ตั้งขึ้น ซึ่งทำให้มีมุมมองของผ้าบางส่วนเห็น ในส่วนของขนผ้าที่ตั้งขึ้น และบางส่วนล้มลง ฉะนั้นผ้ากำมะหยี่นี้ จึงเป็นผ้าที่มีมิติ ในการมองเห็นที่ไม่เท่ากันอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ในการเลือกผ้าม่าน หรือผ้าบุโซฟา เนื้อกำมะหยี่กับผู้อื่น ซึ่งยืนมองผ้าผืนเดียวกัน ในภาวะแสงเดียวกัน แต่ยืนมองคนละมุม ซึ่งสามารถเกิดความเข้าใจผิดว่า ผ้าผืนสีแดงนี้สีแดงเข้มเกินไป แต่ในขณะที่เราเห็นว่าสีแดงนี้พอดีแล้ว
  • ผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ ทั้งฝ้าย ลินิน ขนสัตว์ ไหม ซึ่งวัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาทอผ้าม่านโดยส่วนใหญ่ คือ Cotton หรือฝ้าย, ลินิน ซึ่งเป็นเส้นใยจากพืช (Cellulose) ซึ่งแน่นอนว่า ภูมิประเทศ สภาพอากาศ, ฤดูการเก็บเกี่ยว, กระบวนการผลิตจากไร่ สู่การผลิตจากเส้นใยไปถึงเส้นด้าย ที่ต่างกันก็ส่งผลต่อการย้อมติดสีของผืนผ้านั้นๆ ซึ่งมีโอกาสที่ไม่เท่ากัน 100% อย่างแน่นอน
  • ผ้าต่างรอบการผลิต เป็นเรื่องปกติว่าการย้อมสี ถึงแม้จะในระดับโรงงานก็ตาม การเพื้ยนของสีก็สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิการย้อม คุณภาพน้ำ ปริมาณน้ำต่อสีย้อม ปริมาณน้ำต่อน้ำหนักผ้า ในโรงงานระดับคุณภาพจะควบคุมปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ได้ แต่ก็ให้ค่าความเพี้ยนได้ไม่เกิน 5% ถือว่ารับได้
  • ผ้าที่ดูแดดเลีย หรือผ้าที่ซีดจางจากการโดนแสงแดดเป็นเวลานาน Colorfastness of sunlight เป็นปกติของผ้าทั่วไปที่ใช้ในที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ก็มีการซีดจางของสีเป็นปกติ ถ้าเราเป็นไปโดนแสงแดดโดยตรง โดยประมาณ 3-6 เดือนก็จะเริ่มเห็นผลเมื่อนำไปเทียบกับบริเวณที่ไม่โดดแสงแดด แต่ก็จะมีผ้าที่ออกแบบมาเฉพาะในการใช้กลางแจง หรือเอาท์ดอร์ ผ้าเกรดเอาท์ดอร์ดังกล่าวจะมีความสามารถในการทนก็การซีดจางของสีได้ดีกว่าผ้าทั่วไป
  • ผ้าที่ผ่านการซัก หรือผ้าที่ซีดจางจากการซัก Colorfastness of washing การซักนับเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ว่า จะทำให้สีผ้าซีดจางลง ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการใช้สารฟอกขาว รวมในการซักก็จะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการซีดของของสีเพิ่มากขึ้น

จากบทความด้านบน คงเห็นกันแล้วว่ามีหลายปัจจัยมาก ที่ส่งผลให้ผ้าสีเพี้ยน เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกผ้าสีนั้นๆ ที่คุณโปรดปราน อย่าลืมคิดถึงปัจจัยต่างๆ ที่เราฝากไว้ด้วยนะจ๊ะ ด้วยรัก

รู้งบประมาณเพิ่มเติม++ ก่อนจะซื้อคอนโด

การที่เราจะมีคอนโดมิเนียมเป็นของตัวเองสักหลังนั้น ไม่ใช่แค่ซื้อห้องมาแล้วก็จะจบนะคะ เราต้องมีการเผื่องบประมาณในการตกแต่งห้องด้วย ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับของที่ทางโครงการให้มาและความต้องการของเรานั่นเองค่ะ ในบทความนี้เราจะพาไปดูกันว่าการที่จะแต่งห้อง 1 ห้องนอนให้ครบทุกอย่างในงบที่ไม่บานปลายนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง ไปชมกันเลย

วันนี้เรามาลองคำนวนงบประมาณกันดีกว่าว่า ถ้าเราจะซื้อคอนโด ต้องเตรียมงบประมาณเท่าไหร่ในส่วนต่างๆ เช่น ผ้าม่านจะอยู่ประมาณ 0.85%-1.2% ของราคาคอนโด เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวประมาณ 7.5% แต่หากเป็นเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินก็จะสูงกว่านี้ถึงประมาณ 10%-15% และเครื่องใช้ไฟฟ้า 5.5% ค่าตกแต่งอื่นๆ 0.7-2.1% -ขึ้นอยู่กับสไตล์การตกแต่งของแต่ละบุคคล เรามาคำนวนกันดีกว่าว่าสัดส่วนนั้นจะเป็นเท่าไหร่ โดยใส่ตัวเลขราคาคอนโดของเราในช่องด้านล่างได้เลย