fbpx

ม่าน VS แอร์

คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้ไหม.. เวลาจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และติดตั้งผ้าม่าน แต่เราวางแผนไม่ดี ช่างแอร์เข้าติดตั้งก่อน โดยลืมไปว่า ต้องมีการติดตั้งผ้าม่าน ในตำแหน่งนั้นร่วมด้วย
วันนี้เรามีดูตำแหน่งที่ถูกต้อง และการวางแผนที่ดีสำหรับการติดม่านและแอร์กันดีกว่า

สำหรับความสูงเพดานห้อง หรือบ้านโดยทั่วไป มักจะสูงอยู่ที่ 240-260 ซม. และความสูงของขอบบนหน้าต่างรวมวงกบจะอยู่ราว 205 ซม. ซึ่งเมื่อเราติดตั้งเครื่องปรับอากาศเหนือวงกบหน้าแล้วนั้น จะไม่เหลือที่พอสำหรับการติดตั้งรางม่าน และตัวผ้าม่าน โดยปกติแล้วเราจะติดตั้งรางม่านเหนือวงกบหน้าต่างขึ้นไปราวๆ 15-20 ซม กรณีนี้จะทำให้ ต้องติดตั้ง อยู่ระดับกับวงกบหน้าต่าง ซึ่งทำมี ผลเสียคือ

  • ดูไม่สวยงาม ไม่ลงตัว
  • ไม่สามารถควบคุมแสงได้อย่างที่ต้องการ เพราะเมื่อเราปิดม่านแล้วก็ยังมีแสงส่วนหนึ่งรอดผ่านมาทางด้านบนอยู่ดี
  • เมื่อเราเปิดเครื่องปรับอากาศ แรงของลมที่ส่งออกมาจะกระทบกับผ้าม่าน ทำให้ผ้าเคลื่อนไหวตลอดเวลา สร้างความน่ารำคาญ
  • ความชื้นที่มาจากลมของเครื่องปรับอากาศเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผ้าม่านมีความชื้นสะสม ซึ่งก็ให้เกิดเชื้อราขึ้นได้

เช่นเดียวกับความสูงของหน้าต่าง ความสูงของบานประตูมาตรฐานจะอยู่ที่ 200 ซม. เมื่อรวมวงกบจะอยู่ราว 205 ซม. ซึ่งเมื่อเราติดตั้งเครื่องปรับอากาศเหนือวงกบหน้าแล้วนั้น จะไม่เหลือที่พอสำหรับการติดตั้งรางม่าน และส่งผลเสียก็เหมือนกันกับที่กล่าวมาข้างต้น

โครงการบ้านจัดสรร หรือทาวน์โฮมต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะเป็นประตูกระจกบานสไลด์เต็มผนัง มักเป็นจุดแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่ชอบที่จะติดต้องเครื่องปรับอากาศบนวงกบประตูนี้ แต่ลืมคิดไปว่าเมื่อเราติดเครื่องปรับอากาศตำแหน่งนั้นแล้วจะไม่สามารถติดผ้าม่านได้ ยิ่งตำแหน่งดังกล่าวคือ ประตูหน้าบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ผ้าม่านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เราควรวางแผนให้ดีก่อนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทางที่ดีที่สุดคือย้ายเครื่องปรับอากาศไปติดผนังอีกด้านหนึ่ง และมีเคล็ดลับดีๆ มานำเสนอสำหรับการติดม่านในพื้นที่ใหญ่ๆ อย่างประตูหน้าบ้านแบบนี้ควรมีกล่องบังรางเพื่อความสวยงาม ทำให้มองไม่เป็นรางม่าน หรือแม้กระทั่งที่เราสามารถวางแผนจัดการในด้านโครงสร้างการตกแต่งตั้งแต่แรกๆ สำหรับบ้านที่สร้างเอง คือการลดระดับฝ่าทั้งห้องลงมา โดยเว้นช่องตำแหน่งที่จะติดรางม่านไว้ ก็จะเพิ่มความสวยงามอย่างมาก และสามารถเพิ่มลูกเล่นโดยใส่ไฟตามช่องดังกล่าวได้อีกด้วย ช่วยเสริมบรรยากาศที่ดี ซึ่งเทคนิคนี้นิยมใช้อย่างมากในโรงแรมระดับ 4-5 ดาว และหมู่บ้านราคาสูงๆ ซึ่งรับรองได้ว่าห้องคุณจะดูดีมีระดับขึ้นมากเลยทีเดียว

เมื่อทุกอย่างลงตัว เจ้าของบ้านอย่างเราก็จะไม่ปวดหัวกับการที่เราวางแผนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และผ้าม่านไม่ดีตั้งแต่แรก และที่สำคัญผ้าม่านเป็นส่วนหนึ่งในการกันแสง และความร้อนเข้ามาในห้องได้ด้วย ซึ่งส่งผลดีกับการช่วยลดพลังงานให้กับเครื่องปรับอากาศโดยที่ไม่ต้องทำงานหนัก เพื่อรักษาระดับอุณภูมิห้องให้ได้ตามระดับที่ตั้งไว้ โดยปกติแล้ว แหล่งความร้อนหลักๆ คือคนที่อาศัยอยู่ในห้อง และแสงความร้อนจากแสงแดด ฉะนั้นการที่เราเลือกใช้ม่านได้อย่างถูกต้อง เช่น ผ้าม่านกันแสง (Dim-out) ซึ่งมีความสามารถในการกันแสงได้ถึง 85% หรือผ้าม่านทึบแสง (Blackout) ซึ่งกันแสงได้ถึง 100% ก็จะช่วยลดพลังงาน แะละส่งผลให้ลดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายอีกด้วย

บทความที่เกี่ยงข้อง

นอนหลับยาก ผ้าม่านช่วยได้

“น้องนอนไม่หลับ หัวใจมันกระสับกระส่าย..” ถ้าให้พูดถึงอาการนอนไม่หลับ คงเป็นปัญหาสำหรับคนยุคใหม่ ที่ต้องต่อสู้กับภาวะความเครียดในชีวิต วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าปัจจัยที่ทำให้เรานอนไม่หลับนั้นมีอะไรบ้าง และการเปลี่ยนผ้าม่านในห้องนอนนั้นจะสามารถช่วยได้มากน้อยเพียงใด

ปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกับการนอนไม่หลับ

  1. บรรยากาศ เช่น แสงสว่าง และความสงบ
  2. ภาวะภายในจิตใจ ความตื่นตัว การกระตุ้น ภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น
  3. ภาวะทางด้านร่างกาย เช่น ความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือแม้กระทั่งการทานอิ่มมากไป หรือหิวมากไปก็ตาม
  4. การได้รับสารเคมีอื่นๆ ที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ หรือยาบางอย่าง ฯลฯ
  5. ช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงในการนอน เช่น การเปลี่ยนเวลานอนจากการเดินทางข้ามโซนเวลา การเปลี่ยนเวลานอนจากการทำงานเป็นช่วงๆ ที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้นคือ แสงสว่าง แสงเป็นตัวกระตุ้น อารมณ์ ความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งพื้นฐานอยู่แล้ว ฉะนั้น การเลือกผ้าม่าน ที่มีคุณลักษณะสามารถกันแสง อย่างผ้าม่านกันแสง Dim-Out ที่กันแสงได้ประมาณ 85% หรือจะเป็นผ้าม่านทึบแสง Blackout ที่สามารถกันแสงได้ 100% ก็ตาม จะช่วยให้ห้องมีความมืดสนิท เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนอนยาวๆ เช่น ม่านในโรงแรม หรือคนที่ทำงานไม่เป็นเวลา สลับช่วงเวลานอน เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ เราไม่ควรปิดผ้าม่านทึบมืดสนิทตลอดเวลา มันจะเป็นการรบกวนระบบ กลไก ตามปกติของมนุษย์ที่จะรับรู้การตื่นตามแสงสว่าง เป็นนาฬิกาธรรมชาติของมนุษย์ที่จะตื่นยามพระอาทิตย์ขึ้น และนอนในช่วงพระอาทิตย์ตก และผู้ที่หลับยากในเวลากลางคืนก็ไม่ควรนอนกลางวัน เพราะจะเป็นการรบกวนระบบนาฬิกาชีวิตดังกล่าว

อีกอย่างที่สำคัญเกี่ยวกับการนอน เราไม่ควรเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และยังเป็นการกระตุ้นสมองให้คิด ตลอดเวลาอีกด้วย ลองหากิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทำดู เช่น การอ่านหนังสือ และการที่เราทำอะไรซ้ำๆ ก่อนการนอนเป็นประจำๆ สมองจะเกิดกลไกจดจำ และที่จะเรียนรู้ว่า เมื่อเราทำสิ่งนี้ และขั้นต่อไปคือการนอน สมองจะเริ่มจดจำขั้นตอนดังกล่าวไว้ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าคนจำนวนมาก เมื่ออ่านหนังสือก่อนนอนเป็นประจำ จนเคยชิน และเมื่อเราถึงเวลานอน หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเมื่อใด จะสังเกตุว่า ไม่เคยได้อ่านจบตามที่ตั้งใจไว้เลย จะหลับไปก่อนโดยไม่รู้ตัวเสมอๆ

ขอให้ทุกท่านหลับไม่ฝัน (หลับสนิท) ตลอดคืนนะครับ ^ .^

สามารถเข้าชมผ้าม่านกันแสง (Dim-out) และ ผ้าม่านทึบแสง (Blackout) ได้ที่นี้

Textiles Standards Testing มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอ

มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอ

มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอเป็นชุดของขั้นตอน วิธีการ และเกณฑ์ที่กำหนดไว้ซึ่งใช้ในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสิ่งทอ มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยองค์กรต่างๆ เช่น ASTM, ISO, JIS เป็นต้น

จุดประสงค์ของมาตรฐานเหล่านี้คือเพื่อให้แนวทางที่สอดคล้องและเป็นกลางในการวัดและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และการทำงานของสิ่งทอ ซึ่งครอบคลุมพารามิเตอร์ที่หลากหลาย เช่น ปริมาณเส้นใย ความแข็งแรงของเส้นด้าย น้ำหนักผ้า ความคงทนของสี ความทนทาน และอื่นๆ อีกมากมาย

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเราเป็นสิ่งสำคัญ การทดสอบมาตรฐานเป็นการรับรองเพื่อแสดงคุณสมบัติด้านต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ให้ออกมาอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นที่ไว้วางใจ และสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับสากล มีหลากหลายมาตรฐาน เช่น 

มาตรฐานสากล

สำหรับในประเทศไทย ก็มีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ THTI ซึ่งให้บริการการทดสอบสิ่งทอในหลายอย่างเช่น ความคงทนของสี, การทดสอบการติดไฟ, ความสะท้อนน้ำ เป็นต้น

สำหรับเราบริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด บริษัทชั้นนำของประเทศที่นำเข้าผ้าเพื่อการตกแต่งที่อยู่อาศัย เพื่อการจัดจำหน่ายในประเทศ ใส่ใจในการเลือกหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานต่างๆ ในเบื่องต้นเรามาทำความรู้จักกับมาตรฐานต่างๆ ที่เราใช้อ้างอิง และปรากฎอยู่ในตัวอย่างผ้าของบริษัทกันดีกว่า


และการทดสอบมาตรฐานอื่นๆ เช่น

  • การทดสอบทางด้านจุลชีววิทยา (Microbiology Tests) – Antibacterial, Antifungal, Photocatalytic Tests, Other (Biodegradable Test (for Chemical (OECD 301D), for Plastic)
  • การทดสอบสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Textile Tests) – สีเอโซ, ความเป็นกรด-ด่าง, ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์, โลหะหนัก, PCP, TeCP, AP, APEO,…
  • การวัดค่าสี (Colour Measurement)
  • การทดสอบความแข็งแรง (Strength Tests) – แรงดึงขาด, ความต้านแรงฉีกขาด, ความต้านแรงดันทะลุ, …
  • การทดสอบสมรรถนะของผ้า (Performance Tests) – การขึ้นเม็ดหรือขน, ความคงทนต่อการขัดถู, การซึมผ่านของอากาศ,…
  • การเปลี่ยนแปลงขนาด (Dimensional Stability Tests)
  • การทดสอบเส้นใย (Fiber Tests)
  • การทดสอบโครงสร้างผ้า (Fabric Construction)
  • การทดสอบเส้นด้าย (Yarn Tests)

สีไฟต่าง สีผ้าก็ต่างนะจ๊ะ

เคยไหมที่เวลาเราซื้อเสื้อผ้าสี เทา, กากี, น้ำตาล, สีเขียวขี้ม้า ในห้างสรรพสินค้า แล้วเรากลับถึงบ้านไปลองใส่แล้ว ทำไมเป็นอีกสีหนึ่ง หรือเมื่อเราใส่เดินออกนอกบ้านก็เห็นเป็นอีกสีหนึ่ง คำตอบคือ อุณหภูมิสีนั้นเอง เพราะหลอดไฟที่เราใช้ในบ้าน มีค่าอุณหภูมิสีที่ไม่เท่ากับห้างสรรพสินค้านั้น หรือไม่ตรงกับแสงธรรมชาติอย่างดวงอาทิตย์ก็เป็นได้

แล้วเจ้าอุณหภูมิสีคืออะไร อธิบายง่ายๆ คือ เป็นค่าที่วัดจากแสงที่ปล่อยออกมานั้นเองโดยมีหน่วยวัดเป็น เคลวิน หรือตัวย่อ K เช่น หลอดไฟ Warm White จะมีค่าอยู่ประมาณ 3,000k, หลอดไฟแสง Cool White 4,000k และ Daylight 6,000k ส่วนแสงแดด ก็จะอยู่ราวๆ 5,000-5,500k ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเกิดการสับสนเรื่องสีเวลาเราซื้อของ

รูปทั้งสามอันจะเห็นว่า ผ้าโซฟาสีเทาอมน้ำตาลรูปซ้ายอยู่ในไฟ Warm White รูปกลางไฟ Cool White และรูปทางขวามือเป็นห้องที่อยู่ในไฟ Daylight จะเห็นได้ว่าสีของทั้งผ้า โต๊ะไม้ สีของใบไม้ รวมถึงผนังห้อง ก็จะเปลี่ยนไปตามแสงของหลอดไฟชนิดนั้นๆ

แต่สังเกตุได้ว่า เมื่อเราอยู่ห้องที่มักนิยมติดไฟแบบ Warm White (ไฟที่สีขาวอมเหลืองส้ม) เช่น ห้องนอน ซึ่งแสงโดยรวมๆ จะเป็นสีขาวอมเหลืองๆ ส้มๆ ผนังห้องสีขาวเราก็จะเห็นเป็นสีครีมๆ แต่ในสมองของเราก็จะปรับการรับรู้อัตโนมัติ White Balance บอกว่าผนังนั้นคือสีขาว ทั้งๆ ที่สีจากแสงผนังนั้นเป็นสีเหลืองๆ อมส้มก็ตาม

จากรูปเป็นลักษณะ องศาเคลวิน กับแหล่งกำเนินแสงชนิดต่างๆ ทั้งในธรรมชาติ และไฟที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จนถึงแสงเทียน

รูปตัวอย่างจำลองให้เห็นระดับไฟ ที่มีอุณหภูมิสี ที่ต่างกัน จะเห็นเปรียบเทียมได้ว่า แม้กระทั่งผนังของห้องดังรูปเป็นสีขาว แสงที่อออกมาก็ส่งผลทำให้บรรยากาศของห้องเปลี่ยนไปตามอุณหภูสี ของแห่งกำเนินแสงที่ปล่อยออกมา ตั้งแต่องศาเคลวินน้อยๆ 1,000 จนไปถึง 10,000 เลยที่เดียว

ฉะนั้น เมื่อเราจะเลือกผ้าม่าน หรือจะเลือกสีทาห้องก็ตาม เราควรเลือกสีนั้นๆ โดยสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกับแสงที่เราใช้ในห้องนั้นๆ เช่นถ้าจะเลือกสีผ้าห้องนอนที่ติดตั้งไฟ Warm White ก็ควรดูสีผ้าในบรรยากาศที่เป็นไฟ Warm White แต่แรก หรือ เราสามารถเลือกจากค่ากลาง เช่นแสงธรรมชาติ คือแสงอาทิตย์ เดินหยิบเล่มตัวอย่างไปเลือกริมหน้าต่างเพื่อรับแสงธรรมชาติ ก็จะง่ายที่สุด หรือเมื่อเรารู้เท่าทันแล้วว่า แสงที่ต่างกันก็จะส่งผลให้เรามองเห็นสีผ้าที่ต่าง เราจะจินตนาการเผื่อไว้ว่า ถ้าเลือกผ้าจากร้านที่เป็นหลอดไฟสีขาวๆ แต่บ้านเราเป็นไฟเหลือง เราก็อย่าเลือกผ้าที่อมไปทางเหลืองมากนัก เพราะเมื่อโดนไฟเหลืองแล้ว มันจะเหลืองไปกันใหญ่ แต่นี้เราก็สามารถเลือกสีผ้าได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวลว่าสีผ้านั้นเพี๊ยน “เอ๊ะ ตอนเลือกสีมันไม่ได้เป็นแบบนี้นี้นะ” คำพูดนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นกันคุณอีกต่อไป

เลือกผ้าสู้ฝุ่น PM 2.5

ฝุ่นน้อย คือสวรรค์ของบ้าน

คำนี้คงไม่ได้กล่าวเกินไปนักสำหรับ คุณแม่บ้านที่รักบ้าน หรือมีลูกน้อย ฝุ่นเป็นปัญหากวนใจที่เราต้องกำจัดไปให้พ้นสายตา ฝุ่นนั้นเป็นอะไรที่ล่องลอยมาตามสายลม ฉะนั้นการที่ห้องจะมีฝุ่นน้อยได้ จำเป็นต้องเป็นห้องที่เป็นห้องที่อากาศปิดก่อนเป็นอันดับแรก ก็คือห้องที่เราเปิดแอร์กันเป็นปกตินี้เองจะ

ม่านเป็นพื้นที่ใหญ่พอสมควร และเป็นพื้นที่มีโอกาสรับฝุ่นมากเช่นกัน

  • เลือกผ้าม่านที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์เช่น Polyester เพราะผิวเส้นใยเรียบเนียนกว่าเส้นใยธรรมชาติ ลดโอกาสการเกาะของฝุ่น
  • ผ้าที่ทอแน่นความละเอียดสูง เส้นใยเล็กละเอียด และการทอแน่น จากรูปเปรียบเทียบ รูป A จะเห็นว่ามีการทอที่แน่น ชิดกัน ช่องว่างระหว่างเส้นใยน้อย มากกว่า B, C ลดโอกาสการเกาะของฝุ่นได้
  • เนื้อผ้าเรียบ เนียน เงา ลายทอแบบ ซาติน, ทวิล โดยเฉพาะ ซาติน เป็นลายทอที่มีการกระโดดข้ามของเส้นด้ายสูง ไม่สลับขึ้นลงทุกๆ ช่วงด้ายแบบลายเพลน จึงส่งเสริมให้ผ้ามีความเรียบเนียน และมีความเงาที่มากขึ้นด้วย ลดโอกาสการเกาะของฝุ่น

เหนืออื่นได้สไตล์การตกแต่งห้อง เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดสไตล์ที่ส่งผลถึงภาพลักษณ์ของเจ้าของห้องนั้นๆ ไม่ว่าผ้าม่านนั้นจะเป็นที่ลักษณะอย่างไร ในปัจจุบันส่วนใหญ่เราก็อาศัยอยู่ในห้องแอร์ กันโดยส่วนใหญ่กันอยู่แล้ว ฉะนั้นเรื่องปัญหาฝุ่นที่จะมาเกาะติดกับผ้าม่านนั้นก็เป็นส่วนน้อย ยิ่งถ้าม่านนั้นเป็นม่านที่ใช้งานจริง มีการเปิด-ปิด เคลื่อนไหวอยู่ ตลอดโอกาสการเกาะของฝุ่นก็ลดน้อยลงตามลำดับ

สามารถดูตัวอย่างสินค้าได้ตามลิงค์นี้

พิชิต 5 ขั้นตอนการเลือกม่าน

วันนี้เรามาดูกันว่า กว่าที่เราจะเลือกผ้าม่านในแต่ละครั้งนั้น ต้องมีขั้นตอน อะไรบ้าง

  1. ตำแหน่ง เราต้องแยกก่อนว่าเราจะทำผ้าม่านในส่วนใด ระหว่างประตูและหน้าต่าง เพราะมีรายละเอียดในการวัด การเผื่อในการคำนวนที่แตกต่างกัน และที่สำคัญม่านหน้าต่างนั้นมีระดับความยาว 2 แบบ คือ แบบยาวเลยวงกบล่างลงมาประมาณ 20 ซม. ซึ่งเป็นที่นิยมกันในแบบบ้านทั่วไป และแบบที่ยาวจรดพื้นนั้นจะสูงลอยจากพื้นประมาณ 1- 5 ซม. ซึ่งเป็นความยาวแบบสากลที่นิยมกันมากกว่า
  2. ประเภทของผ้าม่าน ผ้าม่านโปร่งเป็นม่านชั้นที่สองเพื่อการกรองแสง และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีของห้องนั้นๆ ส่วนผ้าม่าน, ผ้าม่านกันแสง และผ้าม่านทึบแสง เป็นผ้าม่านหลักที่ต้องเลือกจากคุณสมบัติของผ้า ผ้าม่านส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อความสวยงามเป็นหลัก หรือถ้าต้องการคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติม เช่น การกันแสง ในกรณีที่ห้องนอนไปอยู่ทิศตะวันตก จะโดนแดดบ่ายทั้งวัน ก็ควรใช้ผ้าม่านกันแสง (Dim-out), ผ้าม่านทึบแสง (Blackout) เพื่อช่วยแก้ปัญหาทิศทางของห้องนั้นๆ ได้อีกด้วย หรือเพื่อคุณสมบัติที่เจาะจง เช่น หากต้องการทำห้องโฮมเธียเตอร์ ไม่ต้องการแสงสว่างจาภายนอกเลย ก็ควรเลือกผ้าม่านทึบแสง (Blackout) เป็นต้น และสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับผ้าม่านกันแสง และทึบแสงได้ที่นี่
  3. รูปแบบการเย็บผ้าม่าน ได้แก่ แบบม่านตาไก่, ม่านคอกระเช้า, ม่านจีบไม่ว่าจะเป็น 2 จีบ 3 จีบแบบมาตรฐานก็ได้ และสุดท้ายคือแบบม่านลอน หรือที่เรียกว่าม่านลอน S ซึ่งจะมีรายละเอียดในการล็อคลอนที่ตัวผ้าเองโดยวิธีการเย็บ หรือ ล็อคลอนโดยรางม่านก็ได้
  4. รางม่าน รางม่านที่นิยมโดยทั่วไปในท้องตลาดคือรางโชว์ ซึ่งมีรูปแบบของหัวรางที่สวยงาม และวัสดุที่หลากหลายมาก ทั้งท่อโลหะ หลากหลายชนิด, สี แต่มีข้อจำกัดด้านความยาวของรางม่านที่ได้ไม่เกิน 3 เมตร ส่วนรางไมโครนั้นมีข้อดีคือสามารถทำความยาวของม่าน ยาวเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งผนัง และเพดาน และมีคุณภาพที่แตกต่างกันหลากหลายแบรนด์ โดยทั่วไปจะเป็นสีธรรมชาติ คือสีวัสดุที่เป็นอลูมิเนียม แต่ก็ยังมีสีขาว และสีดำให้เลือกเช่นกัน
  5. เนื้อผ้า เป็นสิ่งละเอียดอ่อน และต้องให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเราต้องตัดสินใจ เรื่องเนื้อผ้าที่ทำจากวัสดุที่หลากหลายเช่น ฝ้าย, โพลีเอสเตอร์, ลินิน, เรยอน ฯลฯ ซึ่งชนิดของเส้นใยที่กล่าวมานี้ก็จะส่งผลต่อคุณสมบัติต่างๆ ของผ้าม่านด้วย ต่อไปคือลักษณะทางกายภาย เช่น ผิวสัมผัส ความนุ่ม-หยาบ, ความหนา-บาง, ความเงา-ด้าน, คุณสมบัติการกันแสง, สีสัน ลวดลาย, รวมไปถึงการทิ้งตัวของผ้า เมื่อทำเป็นลอนม่านแล้วจะมีลักษณะการทิ้งตัวเป็นอย่างไร และที่สำคัญลักษณะโดยรวมของผ้านั้นๆ บ่งบอกถึงสไตล์การตกแต่ง และตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ^ . ^

ผ้าม่านสีเข้มห้องแคบ ผ้าม่านสีอ่อนห้องกว้าง จริงหรือ?

  • ผ้าม่านสีอ่อน มีการสะท้อนแสงที่มากกว่า ผ้าสีเข้ม จึงทำให้แสงจากแห่งกำเนิดแสง มีการสะท้อนและกระจายได้มากกว่า ซึ่งทำให้ห้องโดยรวมดูสว่างกว่า เมื่อเปรียบเทียบห้องที่ผ้าม่านสีเข้มกว่า จึงทำให้ห้องดูเสมือนว่า ห้องกว้างนั้นเอง
  • เหมาะกับห้อง สไตล์อบอุ่น ร่วมสมัย ห้องที่ต้องการความส่าง ความแอคทีฟ ต้องการสะท้อนของแสงมาก เช่น ห้องรับแขก, ห้องนั่งเล่น, ห้องทำงาน เป็นต้น
  • ผ้าม่านสีเข้ม จะมีการสะท้อนแสงที่น้อยกว่า ผ้าสีอ่อน จึงทำให้แสงจากแห่งกำเนิดแสง มีการสะท้อนและกระจายได้น้อยกว่า ซึ่งทำให้ห้องโดยรวมดูมืดกว่า เมื่อเปรียบเทียบห้องที่ผ้าม่านสีอ่อนกว่า จึงทำให้ดูเสมือนว่าห้องแคปนั้นเอง
  • เหมาะกับห้อง สไตล์โมเดิร์น หรูหร่า ห้องที่ต้องการความสงบ ไม่ต้องการสะท้อนของแสงไม่เยอะมาก เช่น ห้องนอน เป็นต้น

การคำนวน BTU เครื่องปรับอากาศ

ก่อนที่เราจะมาคำนวน BTU เรามารู้กันก่อนว่า BTU นั้นคืออะไร

BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในระบบของเครื่องทำความเย็น โดยที่ความร้อน 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ โดยจะวัดความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู (BTU) เช่นแอร์ขนาด 18,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้อง 18,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมงนั้นเอง

*เกณฑ์การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ

    • A 750 บีทียู ต่อ ตารางเมตร เหมาะสมกับห้องนอน
    • B 1000 บีทียู ต่อ ตารางเมตร เหมาะสมกับห้องรับแขก สำนักงานและห้องที่มีผนังรับแสงแดด 2 ด้านขึ้นไป

สมมุติว่าคอนโดเราขนาด 31 ตารางเมตร ห้องทิศที่ไม่ค่อยโดนแดด ก็เอา 750×31= 23,250 แปลว่าเราต้องหาซื้อเครื่องปรับอากาศที่ขนาดใกล้เคียงกับ BTU จากระดับเป็นช่วงๆ นั้นคือ 24,000 BTU นั้นเอง

นอกเหนือไปจากการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมแล้ว การเลือกผ้าม่านประเภท DIM-OUT, BLACKOUT จากนิทัส เทสซิเล จะสามารถปกกันความร้อนจากแสงแดดเข้ามาในห้อง ช่วยลดอุณหภูมิห้องได้ถึง 1-2 องศา ซึ่งช่วยลดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ย้อมก่อนทอ หรือทอก่อนย้อมดี?

การย้อมเส้นด้าย (Yarn Dyed) และการย้อมผืนผ้า (Piece Dyed) เป็นสองวิธีทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเพิ่มสีสันให้กับเนื้อผ้า ความแตกต่างคือ

  • การย้อมเส้นด้าย (Yarn Dyed): เป็นการย้อมในที่เป็นเส้นด้าย ก่อนที่จะทอ (Woven) หรือถัก (Knitted) เป็นผ้า การย้อมเส้นด้ายช่วยให้ได้ลวดลายและการออกแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำเส้นด้ายที่มีสีต่างกันมาทอหรือถักเข้าด้วยกันเพื่อสร้างลวดลายที่ต้องการได้ ผ้าที่ได้จะมีสีที่สดใส และติดทนนาน เนื่องจากสีย้อมจะแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายทั้งหมด
  • การย้อมผืนผ้า (Piece Dyed): วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการย้อมผ้าทั้งผืนหลังจากที่ทอหรือถักแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายกว่าและคุ้มค่ากว่า แต่จะจำกัดประเภทของรูปแบบที่สามารถทำได้ ผ้าที่ได้อาจมีสีที่สดใสน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากสีย้อมไม่ได้ซึมผ่านเส้นใยได้ลึกเท่าการย้อมเส้นด้าย

โดยสรุป การย้อมเส้นด้ายเหมาะสำหรับการสร้างลวดลายและการออกแบบที่สลับซับซ้อน ในขณะที่การย้อมเป็นผืนจะคุ้มค่ากว่า และมีประสิทธิภาพสำหรับผ้าสีเรียบๆ

การปรากฏของสีและลวดลายบนบนผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าม่าน หรือผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่เราเห็นสวยงามนั้น แท้จริงแล้วมีการให้สีได้หลายแบบ ดังนี้

ย้อมสีก่อนการทอ (Yarn Dyed)

เป็นกระบวนการให้สี โดยการนำเส้นด้ายไปย้อมสีก่อนการทอขึ้นเป็นผืนผ้า

  • ข้อดีคือ สามารถเก็บชุดสีด้ายเตรียมไว้สำหรับการทอได้ก่อน เมื่อมีความต้องการ สามารถสั่งผลิต หรือขึ้นตัวอย่างผ้าได้ง่ายกว่า สามารถให้สีผ้าได้มากสูงสุดถึง 12 สีในการทอหนึ่งผืน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มักใช้ชนิดเส้นด้ายและสีที่ต่างกันประมาณ 3 แบบเท่านั้น และในขณะที่กำลังทอสามารถเห็นสีจริงในขณะที่ทอได้เลย นอกจากนั้นยังเก็บสต็อกชุดสีเส้นด้ายแค่ชุดเดียว แต่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทอ หรือลวดลายต่างกันได้หลายรูปแบบ
  • ข้อเสียคือ ต้องเก็บสต็อกชุดสีจำนวนมาก ในแต่ละชุดด้ายที่แตกต่างกัน

ทอก่อนย้อมสี (Piece Dyed)

เป็นกระบวนการให้สีหลังจากการทอผ้าเสร็จแล้ว จากนั้นจึงนำไปย้อมสี แต่ถ้าผ้าหนึ่งผืนมีความต้องการมากกว่าหนึ่งสีจะต้องทำอย่างไร คำตอบคือต้องใช้คุณสมบัติของเส้นด้ายที่กินสีแตกต่างกันนั้นเอง เช่น ต้องการผ้าที่มี 2 สีโดยเป็นผ้า Piece Dyed ในผืนผ้าต้องประกอบไปด้วยเส้นใย 2 ชนิด เช่น ฝ้าย และโพลีเอสเตอร์ ซึ่งสีที่สามารย้อมฝ้ายก็จะไม่ติดเส้นใยโพลีเอสเตอร์ และในทางกลับกันสีที่ย้อมโพลีเอสเตอร์ก็จะไม่ติดฝ้ายเช่นเดียวกัน ด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ผ้า สามารถมี 2 สีได้

  • ข้อดีคือ สามารถทอผ้าดิบเก็บไว้จำนวนครั้งละมากๆ แล้วจึงตัดส่วนไปย้อมได้ตามคำสั่งของลูกค้าที่มีความต้องการชุดสีที่แตกต่างกันไป
  • ข้อเสียคือ ไม่สามารถมองเห็นสีจริง ได้ในขณะทอ ต้องรอจนกว่าการย้อมจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งกระบวนการย้อมต้องมีความละเอียดเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้สีด่าง หรือสีช่วงต้นม้วนและปลายม้วนออกมาไม่เสมอกัน

ในขบวนการการย้อมสิ่งทอจริงๆ แล้วมีขั้นตอน ที่ก่อนและหลังจากบทความข้างต้น ดังนี้

  1. Fiber dyeing ย้อมเส้นใย
  2. Yarn dyeing การย้อมเส้นด้าย
  3. Fabric dyeing การย้อมผืนผ้า
  4. Garment dyeing การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จ

นอกจาก 2 กระบวนการดังกล่าวแล้วยังมีการให้สีลงบนผืนผ้าโดยการพิมพ์อีกด้วย

การพิมพ์สีลงไปในผ้า หรือที่เรียกว่าผ้าพิมพ์ (Printed Fabric)

ซึ่งผ้าพิมพ์นี้เป็นผ้าที่เกิดการให้สีหลังจากการทอเหมือนข้อข้างต้นแต่จะไม่ได้นำผ้าทั้งผืนลงไปย้อมในหม้อย้อม แต่จะใช้กระบวนการพิมพ์ซึ่งมีหลากหลาย ดังนี้

  • การพิมพ์แบบดิจิตอล (Digital Print) เปรียบเทียบง่ายๆ คือการพิมพ์ผ้าแบบ Inkjet ตรงลงบนตัวผ้าเลย การพิมพ์แบบนี้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ได้สีสันมากตามต้องการในกระบวนการเดียว ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะต้นทุนในการพิมพ์ต่อหลายังสูงกว่าการพิมพ์ชนิดอื่น
  • การพิมพ์แบบฮีททรานเฟอร์ (Heat Transfer) หรือที่เรียกว่าการพิมพ์แบบรีดร้อน เป็นการพิมพ์แบบลงบนกระดาษก่อน แล้วจึงนำกระดาษนั้นประกบกับผ้าแล้วกดทับด้วยแรงกดและความร้อน ลายพิมพ์ดังกล่าวจะระเหิดมาติดลงบนผืนผ้าแทน การพิมพ์แบบนี้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ได้สีสันมากตามต้องการในกระบวนการเดียว เป็นการพิมพ์ที่นิยมมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน
  • การพิมพ์ฉลุลายผ้า (Silk Screen) หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นการทำแบบลงบนบล็อกผ้าไหม ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้ผ้าไหมจริงๆ เพราะเส้นไหมมีความละเอียด ทำให้ช่องว่างมีความถี่เหมาะกับการทำบล็อกสกรีน แต่ในปัจจุบันใช้เส้นใยสังเคราะห์แทน โดยใช้หลักการที่ว่า จะสร้างลวดลายในบล็อกสกรีนโดยให้ลวดลายที่ต้องการโปร่ง และให้ส่วนที่ไม่ต้องการเกิดลวดลายทึบ แล้วจึงนำไปทาบกับผืนผ้า จากนั้นจึงใช้ยางปาดสีให้ทะลุลงไปติดกับผ้าจนเกิดลวดลายขึ้นมา หนึ่งบล็อกต่อการพิมพ์ 1 สี ในอุตสาหกรรมใหญ่ที่พิมพ์ผ้าแบบนี้อยู่ ได้แก่ ผ้าโขมพัสตร์ เป็นต้น
  • การพิมพ์แบบโรตารี่ (Rotary Printing) เป็นการพิมพ์โดยแบบลวดลายจะปรากฏอยู่ที่ลูกกลิ้งทรงกระบอกยาวเท่ากับหน้าผ้าที่จะพิมพ์ แล้วลูกกลิ้งจะหมุนตัวไปรับหมึกสีที่จะพิมพ์ แต่ละสี ต่อหนึ่งลูกกลิ้ง กดและถ่ายทอดสีลงบนผืนผ้า การพิมพ์แบบนี้เป็นการพิมพ์ที่นิยมมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน

ไม่ว่าผ้านั้นๆ จะสร้างลวดลายด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ตาม ประเด็นความสำคัญคือความพึงพอใจของคุณที่มีต่อผ้าตัวนั้นๆ เป็นหลักนะจ๊ะ


เฟอร์นิเจอร์ตัวนี้ ใช้ผ้าเท่าไร ?

อยากเปลี่ยนผ้าโซฟาตัวโปรด ว่าแต่ เฟอร์ตัวนี้มันใช้กี่หลากันนะ?

ก่อนที่เราจะรู้ว่าเฟอร์นิเจอร์ตัวโปรดนั้น ใช้ผ้าในการเปลี่ยนเท่าไร เรามาดูวิธีวัดกันก่อน

    • A B ความกว้าง-ยาว ของพนักผิงด้านใน
    • C D ความกว้าง-ยาว ของพนักผิงด้านนอก
    • E F ความกว้าง-ยาว ของพนักวางแขนด้านใน
    • H G ความกว้าง-ยาว ของพนักวางด้านนอก
    • I J ความกว้าง-ยาว ของเบาะรองนั้ง
    • K L ความกว้าง-ยาว ของขอบหน้า

ตัวอย่าง จำนวนการใช้ผ้าของ เฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้นั้งรับประทานอาหาร, อาร์มแชร์, วิงค์แชร์, โซฟา 1-3 ที่นั่ง จะสังเกตุได้ว่า รูปแบบของการบุเฟอร์นิเจอร์ที่ต่างกันมีผลต่อจำนวนผ้า เช่น การบุแบบดึงดุมจะใช้ผ้าเปลืองกว่าการบุธรรมดาพอสมควร