fbpx

ผ้าทางรถไฟ Railroaded fabric?

คำว่า “Railroad แปลว่าทางรถไฟ” ถ้าจะหมายถึงอย่างนั้นแล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับผ้ากันละ วันนี้นิทัสชวนมาทำความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการวางทิศทางลายผ้าไม่ว่าจะเป็น การทอขึ้นลายหรือพิมพ์ลายก็ตาม ซึ่งการวางทิศทางลายในการผลิตนั้นมีผลกับการวางลายผ้าของโซฟา การเย็บ รอยต่อตะเข็บ ซึ่งโดยปกติทิศทางของลายผ้าจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ

  • ลายเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture
  • ลายผ้าเข้า/ขึ้นม้วน Regular Pattern / Up the Roll
  • ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern / Top to Selvedge
  • ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

1. ผ้าลายเรียบ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture

ผ้าเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture แน่นอนว่าผ้าเรียบๆ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อยๆ เป็นผ้าที่ใช้ง่ายสามารถบุโซฟาได้ทั้งแนวตั้งโดยมีการต่อตะเข็บ หรือกลับม้วนดึงยาวตามแนวความยาวของโซฟาได้เลย


2. ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern/Conventional เป็นการวางทิศทางของผ้าแบบปกติ คือ เมื่อเรากำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางปกติลายตั้งขึ้น ในรูปตัวอย่างเป็นเป็นลายทางแนวตั้ง (Striped) ซึ่งรูปแบบทิศทางการวางลายแบบนี้ก็จะเป็นปกติสำหรับผ้าทั่วๆไป รวมถึงผ้าม่านก็เช่นกัน แต่ในส่วนของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ในรูปตัวอย่างถ้าเราต้องการลายโซาเป็นแนวตั้ง ในการวางแล้วทอแบบนี้ ในกรณีโซฟา1 ที่นั่ง หรืออาร์มแชร์ ที่ความกว้างไม่มากนัก ก็สามารถวางลายตามทิศแนวตั้งนี้ได้เลย แต่สำหรับโซฟา 2 ที่นั่งขึ้นไป จำเป็นต้องมีการต่อผ้าเป็นช่วงๆ เพื่อให้ได้ความต่อเนื่องไปตามความยาวของโซฟา ซึ่งเทคนิคการต่อตะเข็บของผืนผ้านี้ก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับกะการต่อตะเข็บของโซฟาหนังแท้ เพราะตัวหนังแท้เองก็มีขนาดจำกัดเช่นเดียวกันนั้นเอง


3. ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern เป็นการวางทิศทางของผ้าโดย กำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางนอน ในรูปตัวอย่างเป็นเป็น ลายทางแนวนอน ซึ่งผ้าแบบ Railroaded นี้จะสามารถวางลายยาววิ่งไปตามความยาวของโซฟาได้โดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งลักษณะการที่วางวิ่งยาวไปได้เลื่อยๆ ตามความยาวโซฟานี้แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเรียงตัวของไม้หมอนของรางรถไฟ จึงทำให้เราเรียกทิศทางการทอผ้าในรูปแบบขวางม้วนแบบนี้เรียกว่า Railroaded ซึ่งทำให้บุโซฟาที่มีความยาวได้โดยไม่มีรอยต่อ เพิ่มคามสวยงาม และช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกด้วย


4. ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เป็นลายผ้าที่ออกแบบมาให้ใช้ได้ทุกด้าน สามารถนำไปบุโซฟาได้ทุกด้าน ทุกแบบและความยาว


ตัวอย่างโซฟา 3 ที่นั่ง

โซฟาสามที่นั่ง จะเห็นว่าโซฟาตัวอย่างประกอบด้วยการหุ้มผ้า 3 ส่วน

  1. ส่วนหมอนหรือเบาะพนักพิงหลัง
  2. ส่วนเบาะรองนั่ง
  3. ส่วนโครงโซฟาหุ้มผ้าทั้งหมด

รูปทิศทางการวางลายของโซฟาที่ถูกต้อง

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern ในส่วนของเบาะพนักพิงหลังและเบาะรองนั่งสามารถตัดเย็บได้ด้วยผ้า ลายเข้าม้วน แต่ในส่วนโครงโซฟา จำเป็นต้องต่อตะเข็บผ้า ไม่สามารถกลับลายผ้าได้ ตามตัวอย่างที่แสดง

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern สามารถให้บุโซฟาได้ทุกส่วนทั้งส่วนที่มีพื้นที่เล็กอย่างส่วนเบาะพนักพิงหลัง และเบารองนั่ง แม้กระทั้งในส่วนโครงโซฟาทั้งหมดที่มีความยาว


ตัวอย่างการวางทิศทางของผ้าที่ไม่ควรทำ คือการวางลายตะแคง หรือหมุนลายผิดทิศทางของ Design


และผ้าของนิทัสเองก็จะมีสัญลักษณ์บอกทิศทางของผ้ากับตัวอย่างเล่ม โดยจะบอกทิศทางของริมผ้าเป็นหลังตามสัญลักษณ์ดังนี้

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางซ้ายและขวามือ ซึ่งการโชว์ผ้าในทิศทางนี้เป็นทิศทางหลักของผ้าในเล่มตัวอย่าง

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางบนและล่าง การโชว์ผ้าในทิศทางนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าที่มีหน้าผ้ากว้างกว่า 150 ซม. หรือเรียกว่าผ้าหน้ากว้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะกว้างอยู่ที่ 280-320 ซม. ซึ่งเวลาในการใช้งานจะหมุนผ้าใช้ในแนว Railroaded


และเราก็ยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงผ้าที่มีลวดลาย แสดงว่าผ้านั้นมีทิศทางของลายในทิศทางไหนดังนี้

จากสัญลักษณ์ที่แสเงตัวอย่าง คือ 1) ลายเรียบ/เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture 2) ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern 3) ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern 4) ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เรียงตามลำดับ