ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance)
ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance) ผ้าต้องทนต่อการขีดข่วนจากเล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง อ้างอิงการทดสอบมาตรฐาน BS 8479:2008 Textiles – Method for determination of propensity of fabrics to snagging – Rotating chamber method
BS 8479:2008 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบความต้านทานของผ้าต่อการเกิด “Snagging” (การเกี่ยวหรือการดึงผิวของผ้า) โดยใช้ “Rotating Chamber Method” หรือวิธีการทดสอบในห้องหมุน ซึ่งทดสอบผ้าโดยจำลองสถานการณ์ที่วัสดุมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเกี่ยวหรือการดึงผ้า
BS 8479:2008: มาตรฐานนี้เน้นการทดสอบความทนทานของผ้าต่อการขีดข่วนและการเสียดสี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาผ้าสำหรับสัตว์เลี้ยง หากผ้าผ่านมาตรฐานนี้จะหมายถึงผ้าสามารถทนต่อการเกี่ยวขีดข่วนได้ดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผ้า Pet-Lover ของนิทัส
อ้างอิงการทดสอบกับการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยง
การทดสอบตามมาตรฐาน BS 8479:2008 สามารถอ้างอิงการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยงได้ ในแง่ของการจำลองการเกี่ยวดึงผิวผ้า แต่ไม่ใช่การเลียนแบบการข่วนของเล็บโดยตรง เนื่องจากการทดสอบในห้องหมุนเน้นการสร้างแรงเสียดสีและแรงดึงในระดับทั่วไปเพื่อดูผลการเกี่ยวที่เกิดขึ้น
เล็บของสัตว์เลี้ยง เช่น แมวหรือสุนัข อาจสร้างแรงเฉพาะทางที่ต่างจากการทดสอบนี้ เนื่องจากเล็บสัตว์มีความแหลมคมและการข่วนมักมีความรุนแรงกว่าการเกี่ยวทั่วไปในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดเบื้องต้นของความทนทานต่อการข่วนหรือการเกี่ยวที่เกิดจากเล็บสัตว์ได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผ้าถูกสัมผัสซ้ำๆ กับแรงเสียดสี
หลักการทดสอบ
เครื่องมือที่ใช้: ผ้าจะถูกนำไปใส่ในห้องทดสอบหมุน (Rotating Chamber) ซึ่งมีปุ่มหรือสิ่งกีดขวางที่ทำหน้าที่เลียนแบบการเกี่ยวดึงบนพื้นผิวผ้า
วิธีการทดสอบ
- ตัวอย่างผ้าจะถูกใส่ลงในห้องหมุนที่มีอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแรงดึงและการเกี่ยวบนผิวผ้า
- ห้องจะหมุนในอัตราความเร็วที่กำหนดและความถี่การหมุนตามมาตรฐาน ซึ่งผ้าจะถูกเสียดสีกับอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
- หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น ผ้าจะถูกนำออกมาเพื่อตรวจสอบการเกิดการเกี่ยวและความเสียหายที่เกิดขึ้น
หลักการทดสอบผ้าจะถูกนำไปใส่ในห้องทดสอบหมุน (Rotating Chamber) ภายในกล่องทดสอบ จะประกอบด้วยชิ้นผ้าตัวอย่างที่พับแกนทรงกระบอก และในกล่องทดสอบจะมีเหล็กแหลมทั้งหมด 20 เล็ม วางเป็นแถวยาว ทั้งหมด 4 ด้านจากกล่องทดสอบ ปริซึม 8 เหลี่ยม ซึ่งสิ่งนี้เป็นการทำหน้าที่เลียนแบบการเกี่ยวดึงบนพื้นผิวผ้า โดยการทดสอบจะหมุนในอัตรา 60 รอบ ต่อ นาที โดยหมุนทั้งหมด 2,000 รอบ หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น ผ้าจะถูกนำออกมาเพื่อตรวจสอบการเกิดการเกี่ยวและความเสียหายที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30054 MACHU PICCHU
ตัวอย่างผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30055 SERENGETI
เกณฑ์การให้คะแนน (Snagging Scale)
ตารางที่ 1 การจัดเกรด
Grade เกรด | Description คำอธิบาย | Appearance ลักษณะที่ปรากฏ |
5 | None ไม่มี | No snags or other surface defects ไม่เกิดการเกี่ยว หรือไม่พบข้อบกพร่องของพื้นผิวเลย |
4 | Slight เล็กน้อย | Snags or other surface defects in isolated areas เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้าขึ้นเล็กน้อย หรือมีข้อบกพร่องของพื้นผิวขึ้นเล็กน้อย |
3 | Moderate ปานกลาง | Snags or other surface defects partially covering the surface เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือพบข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วน |
2 | Distinct เด่นชัด | Snags or other surface defects covering a large proportion of the surface เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ |
1 | Severe รุนแรง | Snags or other surface defects covering the entire surface เกิดการเกี่ยวผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมทั้งหมด |
ในการทดสอบ ถ้าได้เกรด 5 แปลว่าไม่มีการเกี่ยวของพิ้นผิวเลย แต่ถ้าผลทดสอบได้เกรดต่ำกว่านั้น ต้องมาเปรียบเทียบลักษณะการเกี่ยวตามตารางข้างล่างนี้
ตารางที่ 2 การจำแนกข้อบกพร่องของพื้นผิว
ประเภทข้อบกพร่อง | Defect description คำอธิบายข้อบกพร่อง |
---|---|
A | Snagging “สแนก-กิ้ง” เกิดการเกี่ยว เป็นลักษณะห่วงของเส้นใยบนพื้นผิว |
B | Protrusions “โพร-ทรู-ชันส์“ เกิดการเกี่ยวโดยมีเส้นด้สยหรือเส้นใยยื่นออกมาบนผิวผ้าอย่างเด่นชัด |
C | Indentations “อิน-เดน-เท-ชันส์” เกิดการเกี่ยวทำให้ลักษณะผิวผ้าเป็นรู และทำให้ผิวมีการบิดเบี้ยว |
D | Shiners, pulled threads or other distortions of the fabric structure, occurring in close proximity to snag loops and/or not associated with any snag loop เกิดการเกี่ยวที่ทำเส้นด้ายถูกดึง สร้างความบิดเบี้ยวให้เห็นตลอดแนวโครงสร้างผ้า |
E | Visible defects due to colour contrasts in printed fabrics, colour woven, or colour knitted fabrics. พบข้อบกพร่องในความแตกต่างของสีผ้า ที่มองเห็นได้ ในผ้าพิมพ์, ผ้าทอและผ้าถักที่มีสีสัน |
F | Filamentation “ฟิ-ลา-เมน-เท-ชัน” เกิดการเกี่ยวเส้นใยอย่างรุนแรงจนทำให้เส้นใยขาด ขึ้นแป็นขนบนพื้นผิวผ้า |
G | Any other defects specific to the fabric type and which detract from the original surface appearance. A description shall be included in the test report เกิดข้อบกพร่องอื่นๆ ที่เฉพาะเจาะจง ของแต่ละประเภทของผ้า และที่ทำให้สูญเสียลักษณะผิวเดิม รายละเอียดควรถูกรวมไว้ในรายงานการทดสอบ |
X | ไม่มีข้อบกพร่องของพื้นผิวที่มองเห็นได้ |
แปลผลการทดสอบที่ได้ ตามมาตรฐาน BS 8479:2008
- ตัวอย่างทดสอบ Warp (ด้ายยืน) และ Weft (ด้ายพุ่ง) หลังจากหมุน 2000 รอบ
- Warp 1 และ Warp 2: คะแนน 4-5, Defect Type = A (Snagging), จำนวนการเกิด Snags: 1-2
- Weft 1 และ Weft 2: คะแนน 4-5, Defect Type = A, จำนวน Snags: 4-5
- ค่าเฉลี่ยรวม: Mean of Four Specimens = 4-5
Defect Type = A แปลว่าเกิดการดึงด้ายหรือการเกิดรอย (Snagging) บนผิวผ้า
แปลผลค่าคะแนน (Grading System)
- Grade 5: ไม่มีรอยดึง หรือข้อบกพร่องใดๆ
- Grade 4: รอยดึงหรือข้อบกพร่องเกิดขึ้นเฉพาะจุดเล็กๆ บนพื้นผ้า
ดังนั้น การให้คะแนน 4-5 หมายความว่า ตัวอย่างผ้ามีคุณภาพดีมาก มีเพียง ข้อบกพร่องเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลยในบางส่วน
การวิเคราะห์ผล
- Warp (แนวยืน): คะแนน 4-5 และจำนวน Snags ต่ำมาก (1-2 จุด) แสดงให้เห็นว่าผ้ามีความต้านทานต่อการเกิด Snagging ได้ดีในทิศทางนี้
- Weft (แนวนอน): คะแนน 4-5 แต่จำนวน Snags สูงกว่า (4-5 จุด) แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มเกิดการดึงด้ายมากกว่าในแนวนอน
- Mean Grade: ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 ซึ่งถือว่าผ้าทดสอบผ่านเกณฑ์ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม
สรุปผลการทดสอบ
ผ้าทั้งสองตัว 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI
- Grade 4-5: สะท้อนว่าผ้าผ่านมาตรฐานและมีคุณภาพดี
- Defect Type A: ระบุข้อบกพร่องที่เกิดจากการดึงด้าย (Snagging) ซึ่งเป็นลักษณะปกติในการทดสอบชนิดนี้
สามารถดูเล่มตัวอย่างได้ที่ https://www.nitas-tessile.com/meawww-collection/