fbpx

PET-LOVER FABRICS ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์สำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง

ผ้า Pet-Friendly ในที่นี้เราจะใช้ความว่า ผ้า Pet-Lover หมายถึงผ้าที่ออกแบบมาเพื่อทนทานต่อการใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัข โดยเน้นความแข็งแรง ทนต่อการขีดข่วน การเสียดสี และทนทานต่อคราบสกปรกหรือขนสัตว์ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง คุณสมบัติสำคัญของผ้า Pet-Lover ได้แก่:

  • ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance): ผ้าต้องทนต่อการขีดข่วนจากเล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง
  • ทนต่อคราบและทำความสะอาดง่าย (Stain Resistance): ผ้าที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เก็บคราบหรือสิ่งสกปรก เช่น ผ้าที่เคลือบสารสะท้อนน้ำ Water Repellent ช่วยให้ผ้าที่สามารถกันน้ำหรือของเหลวได้ดีจะช่วยลดคราบจากการหกหรืออุบัติเหตุของสัตว์เลี้ยง
  • ทนทานต่อการสะสมขนสัตว์ (Low Hair Retention): ผ้าที่ไม่ดึงดูดหรือเก็บขนสัตว์ได้ง่าย ซึ่งช่วยลดปัญหาการสะสมของขนบนเฟอร์นิเจอร์
  • ทนต่อการสึกหรอ (Durability) ผ้าที่แข็งแรงและทนทาน ไม่ฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพง่ายจากการใช้งานหนัก ทดสอบด้วยค่า ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance ผ้าต้องทนทานต่อการใช้งานหนัก ซึ่งการทดสอบ Martindale ที่ได้ผลมากกว่า 35,000 รอบ ก็ถือว่าสามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้ บ่งบอกว่าผ้ามีความทนทานสูง
  • ความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง (Non-Toxic): ผ้าควรปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

แล้วผ้านิทัสมีรหัสใดบ้าง

30054 MACHU PICCHU
30055 SERENGETI

ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance)

ความทนทานต่อการขีดข่วน (Snagging Resistance) ผ้าต้องทนต่อการขีดข่วนจากเล็บหรือกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง นิทัสเราอ้างอิงการทดสอบมาตรฐาน BS 8479:2008 Textiles – Method for determination of propensity of fabrics to snagging – Rotating chamber method

BS 8479:2008 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบความต้านทานของผ้าต่อการเกิด “Snagging” (การเกี่ยวหรือการดึงผิวของผ้า) โดยใช้ “Rotating Chamber Method” หรือวิธีการทดสอบในห้องหมุน ซึ่งทดสอบผ้าโดยจำลองสถานการณ์ที่วัสดุมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเกี่ยวหรือการดึงผ้า

BS 8479:2008: มาตรฐานนี้เน้นการทดสอบความทนทานของผ้าต่อการขีดข่วนและการเสียดสี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาผ้าสำหรับสัตว์เลี้ยง หากผ้าผ่านมาตรฐานนี้จะหมายถึงผ้าสามารถทนต่อการเกี่ยวขีดข่วนได้ดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผ้า Pet-Lover

อ้างอิงการทดสอบกับการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยง

การทดสอบตามมาตรฐาน BS 8479:2008 สามารถอ้างอิงการเกี่ยวของเล็บสัตว์เลี้ยงได้ ในแง่ของการจำลองการเกี่ยวดึงผิวผ้า แต่ไม่ใช่การเลียนแบบการข่วนของเล็บโดยตรง เนื่องจากการทดสอบในห้องหมุนเน้นการสร้างแรงเสียดสีและแรงดึงในระดับทั่วไปเพื่อดูผลการเกี่ยวที่เกิดขึ้น

เล็บของสัตว์เลี้ยง เช่น แมวหรือสุนัข อาจสร้างแรงเฉพาะทางที่ต่างจากการทดสอบนี้ เนื่องจากเล็บสัตว์มีความแหลมคมและการข่วนมักมีความรุนแรงกว่าการเกี่ยวทั่วไปในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดเบื้องต้นของความทนทานต่อการข่วนหรือการเกี่ยวที่เกิดจากเล็บสัตว์ได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผ้าถูกสัมผัสซ้ำๆ กับแรงเสียดสี

หลักการทดสอบ

เครื่องมือที่ใช้: ผ้าจะถูกนำไปใส่ในห้องทดสอบหมุน (Rotating Chamber) ซึ่งมีปุ่มหรือสิ่งกีดขวางที่ทำหน้าที่เลียนแบบการเกี่ยวดึงบนพื้นผิวผ้า

วิธีการทดสอบ

  1. ตัวอย่างผ้าจะถูกใส่ลงในห้องหมุนที่มีอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแรงดึงและการเกี่ยวบนผิวผ้า
  2. ห้องจะหมุนในอัตราความเร็วที่กำหนดและความถี่การหมุนตามมาตรฐาน ซึ่งผ้าจะถูกเสียดสีกับอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
  3. หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น ผ้าจะถูกนำออกมาเพื่อตรวจสอบการเกิดการเกี่ยวและความเสียหายที่เกิดขึ้น
หน้าตาของเครื่องทดสอบ PILLING & SNAGGING TESTER
ภายในกล่องทดสอบ จะประกอบด้วยชิ้นผ้าตัวอย่างที่พับแกนทรงกระบอก และสังเกตุว่าในกล่องทดสอบจะมีเหล็กแหลมวางเป็นแถวยาว ทั้งหมด 4 ด้านจากกล่องทดสอบ ปริซึม 8 เหลี่ยม โดยการทดสอบจะหมุนในอัตรา 60รอบ ต่อ นาที โดยหมุนทั้งหมด 2000 รอบ

ผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30054 MACHU PICCHU 

ผลการทดสอบ ผ้ารหัส 30055 SERENGETI

เกณฑ์การให้คะแนน (Snagging Scale)

ตารางที่ 1 การจัดเกรด

Grade
เกรด
Description
คำอธิบาย
Appearance
ลักษณะที่ปรากฏ
5None
ไม่มี
No snags or other surface defects
ไม่เกิดการเกี่ยว หรือไม่พบข้อบกพร่องของพื้นผิวเลย
4Slight
เล็กน้อย
Snags or other surface defects in isolated areas
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้าขึ้นเล็กน้อย หรือมีข้อบกพร่องของพื้นผิวขึ้นเล็กน้อย
3Moderate
ปานกลาง
Snags or other surface defects partially covering the surface
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือพบข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วน
2Distinct
เด่นชัด
Snags or other surface defects covering a large proportion of the surface
เกิดการเกี่ยวบนผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่
1Severe
รุนแรง
Snags or other surface defects covering the entire surface
เกิดการเกี่ยวผิวผ้า หรือข้อบกพร่องของพื้นผิว ครอบคลุมทั้งหมด

ในการทดสอบ ถ้าได้เกรด 5 แปลว่าไม่มีการเกี่ยวของพิ้นผิวเลย แต่ถ้าผลทดสอบได้เกรดต่ำกว่านั้น ต้องมาเปรียบเทียบลักษณะการเกี่ยวตามตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ 2 การจำแนกข้อบกพร่องของพื้นผิว

ประเภทข้อบกพร่องDefect description
คำอธิบายข้อบกพร่อง
ASnagging “สแนก-กิ้ง”
เกิดการเกี่ยว เป็นลักษณะห่วงของเส้นใยบนพื้นผิว
BProtrusions  “โพร-ทรู-ชันส์
เกิดการเกี่ยวโดยมีเส้นด้สยหรือเส้นใยยื่นออกมาบนผิวผ้าอย่างเด่นชัด
CIndentations  “อิน-เดน-เท-ชันส์”
เกิดการเกี่ยวทำให้ลักษณะผิวผ้าเป็นรู และทำให้ผิวมีการบิดเบี้ยว
DShiners, pulled threads or other distortions of the fabric structure, occurring in close proximity to snag loops and/or not associated with any snag loop
เกิดการเกี่ยวที่ทำเส้นด้ายถูกดึง สร้างความบิดเบี้ยวให้เห็นตลอดแนวโครงสร้างผ้า
EVisible defects due to colour contrasts in printed fabrics, colour woven, or colour knitted fabrics.
พบข้อบกพร่องในความแตกต่างของสีผ้า ที่มองเห็นได้ ในผ้าพิมพ์, ผ้าทอและผ้าถักที่มีสีสัน
FFilamentation  “ฟิ-ลา-เมน-เท-ชัน”
เกิดการเกี่ยวเส้นใยอย่างรุนแรงจนทำให้เส้นใยขาด ขึ้นแป็นขนบนพื้นผิวผ้า
GAny other defects specific to the fabric type and which detract from the original surface appearance. A description shall be included in the test report
เกิดข้อบกพร่องอื่นๆ ที่เฉพาะเจาะจง ของแต่ละประเภทของผ้า และที่ทำให้สูญเสียลักษณะผิวเดิม รายละเอียดควรถูกรวมไว้ในรายงานการทดสอบ
Xไม่มีข้อบกพร่องของพื้นผิวที่มองเห็นได้

ตัวอย่างวีดีโอของแล็บการทดสอบของต่างประเทศที่ทดสอบ มาตรฐาน BS 8479:2008


ความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง (Non-Toxic): ผ้าควรปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

ความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง (Non-Toxic): ผ้าควรปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ด้วยมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100: มาตรฐานนี้รับรองว่าผ้าไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ผ้าที่ผ่านมาตรฐานนี้จะปลอดภัยต่อการสัมผัสและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงเหมาะสำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ซึ่งแน่นอนว่า ผ้า 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI ของนิทัสได้รับมาตารฐาน นี้ด้วยเช่นกัน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง OEKO-TEX Standard 100 คลิ๊ก


ทนต่อคราบและทำความสะอาดง่าย (Stain Resistance): ผ้าที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เก็บคราบหรือสิ่งสกปรก

WATER REPELLENT

ผ้านิทัสทั้งสองตัวนี้ 30054 MACHU PICCHU และ 30055 SERENGETI มีการเคลือบสารสะท้อนน้ำ Water Repellent ช่วยให้ผ้าที่สามารถกันน้ำหรือของเหลวได้ดีจะช่วยลดคราบจากการหกหรืออุบัติเหตุของสัตว์เลี้ยง ซึ่งแน่นอนว่า ผ้า 30054 MACHU PICCHU, 30055 SERENGETI ของนิทัส ผ่านการทดสอบ และมีคุณสมบัติสะท้อนด้วยเช่นกัน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง Water Repellent คลิ๊ก


ทนต่อการสึกหรอ (Durability): ผ้าที่แข็งแรงและทนทาน ไม่ฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพง่ายจากการใช้งานหนัก

ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance) ผ้าต้องทนทานต่อการใช้งานหนัก ซึ่งการทดสอบ Martindale ที่ได้ผลมากกว่า 35,000 รอบ ก็ถือว่าสามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้ บ่งบอกว่าผ้ามีความทนทานสูง ซึ่งแน่นอนว่า ผ้า 30054 MACHU PICCHU มีผลการทดสอบสูงถึง >100,000 รอบ และ 30055 SERENGETI มีผลการทดสอบสูงถึง 80,000 รอบ ทำให้ไว้วาใจได้เลยว่าผ้าที่สองตัวมีความทนทานอย่างแน่นอน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง Abrasion Resistance คลิ๊ก


การที่ผ้าผ่านมาตรฐาน BS 8479:2008 หมายถึงผ้ามีความทนทานต่อการขีดข่วนและการเกี่ยว ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ หากผ้าผ่านการรับรองมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 จะเป็นการรับประกันความปลอดภัยจากสารเคมี ทำให้ผ้าปลอดภัยต่อการสัมผัสทั้งสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง และยังผ่านการทดสอบ ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance) สูงมากกว่า 80,00 รอบ ซึ่งเป็นตัวเลขบงบอกว่าสามารถใช้ผ้านี้บุเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในพื้นที่สาธารณะได้แล้ว พร้อมทั้งคุณสมบัติสะท้อน ที่ช่วยให้เราสามารถ เช็ดทำความสะอาดผ้าได้ทัน ก่อนที่คราบสกปรกจะซึมลงผิวผ้า ช่วยยืดอายุการใช้งาน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ทำผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ให้กับสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักขอคุณ


ผ้ากันไฟลาม คืออะไร ?

ผ้ากันไฟลาม มาจากคำว่า Flame Retardant หลายๆคนชอบพูดว่าผ้ากันไฟ แต่จริงแล้ว คุณสมบัตินี้คือการที่ เมื่อผ้าเกิดการติดไฟแล้วจะสามารถดับได้เองโดยไม่ลุกลามต่อไปนั่นเอง ซึ่งมาตรฐานนี้มีหลายระดับด้วยกัน ผ้ากันไฟลามนี้เหมาะกับงานประเภทที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โรงแรม, โรงภาพยนต์ หรือที่สาธารณะ อาคารสูง หรือคอนโดมิเนียม เป็นต้น และนอกจากมาตรฐานข้างต้น ยังมีมาตรฐานเฉพาะ เช่น

  • California, USA Standard: CA TB 117
  • British Standard :BS 5852, BS 5651
  • European standard: BS EN 1021
  • International Standard: NFPA 260, NFPA 701

มาตรฐานการทดสอบการกันไฟลามที่เกี่ยวกับวัสดุต่างๆ

TEXTILE FABRICS มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอ

  • NFPA 701: Standard Methods of Fire Tests for Flame Propagation of Textiles and Films

VERTICALLY ORIENTED TEXTILE FABRICS, CURTAINS AND DRAPES มาตรฐานการทดสอบสิ่งทอในแนวตั้ง, ผ้าม่าน

  • BS 5438: Methods of Test for Flammability of Textile Fabrics When Subjected to a Small Igniting Flame Applied to The Face or Bottom Edge of Vertically Oriented Specimens
  • BS 5867-2: Fabrics for curtains, drapes, and window blinds – Part 2: Flammability Requirements – Specification
  • BS EN 1101: Textiles and textile products – Burning behavior – Curtains and drapes – Detailed procedure to determine the ignitability of vertically oriented specimens (small flame)
  • BS EN 1102: Textiles and textile products – Burning behavior – Curtains and drapes – Detailed procedure to determine the flame spread of vertically oriented specimens
  • BS EN 13772: Textiles and textile products – Burning behavior – Curtains and drapes – Measurement of flame spread of vertically oriented specimens with a large ignition source
  • BS EN 13773: Textiles and textile products – Burning behavior – Curtains and drapes – Classification scheme
  • ISO 6940: Textile fabrics – Burning behavior – Determination of ease of ignition of vertically oriented specimens
  • ISO 6941: Textile fabrics – Burning behavior – Measurement of flame spread properties of vertically oriented specimens

UPHOLSTERED FURNITURE มาตรฐานการทดสอบผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

  • BS 5852: Methods of Test for Assessment of the Ignitability of Upholstered Seating by Smouldering and Flaming Ignition Sources
    • Test method: A test rig is constructed in order to simulate a chair with the fabric to be tested. This rig is subjected to different ignition sources. There are 8 types of ignition sources, each with different heat intensity. They are classified from 1 to 8, the intensity doubling compared to the preceding source. The most frequently used are ignition source 0, 1 and 5.
    • Source 0: smoldering cigarette A cigarette is put along the crevice of the test rig and allowed to burn over its entire length. If no flaming or progressive smoldering is observed on both cover and interior material, the test is recorded as no ignition and the material passes the test.
    • Source 1: simulated match A burner is lit, held along the crevice of the test rig for 20 seconds and then removed. If no flaming or progressive smoldering is observed on both cover and interior material, the test is recorded as no ignition and the material passes the test.
    • Source 5: wooden crib 5 A crib is composed of wooden planks, glued together. Lint is attached to the bottom. After adding propane-diol the crib is placed on the test rig and ignited with a match. If no flaming or progressive smoldering is observed on both cover and interior material, the test is recorded as no ignition and the material passes the test.
  • BS 7176: Specification for resistance to ignition of upholstered furniture for non-domestic seating by testing composites
  • BS 7177: Specification for resistance to ignition of mattresses, mattress pads, divans, and bed bases
  • CA TB 117: (California Technical Bulletin 117) Requirements, Test Procedure, and Apparatus for Testing the Smolder Resistance of Materials Used in Upholstered Furniture
  • EN 1021 Furniture – Assessment of the ignitability of upholstered furniture
    • Part 1 (EN 1021-1) Ignition source smoldering cigarette
    • Part 2 (EN 1021-2) Ignition source match flame equivalent
  • NFPA 260: Standard Methods of Tests and Classification System for Cigarette Ignition Resistance of Components of Upholstered Furniture
  • ISO 8191: Furniture – Assessment of the Ignitability of Upholstered Furniture
    • Part 1 (ISO 8191-1) Ignition Source: Smouldering Cigarette
    • Part 2 (ISO 8191-2) Ignition Source: Match-Flame Equivalent First Edition; (Cen En 1021-2: 1993)

BUILDING MATERIALS AND PRODUCTS มาตรฐานการทดสอบวัสดุก่อสร้างและผลิตภัณฑ์

  • GB 8624  Classification for Burning Behavior of Building Materials and Products

Cigarette Ignition Resistance

Cigarette Ignition Resistance หรือ การทนทานการติดไฟของบุหรี่ หมายถึงความสามารถของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ในการต้านทานการจุดไฟ หรือการเผาไหม้เมื่อสัมผัสกับบุหรี่ที่จุดไฟ

แนวคิดเรื่องการต้านทานการติดไฟของบุหรี่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย เนื่องจากเปลวไฟที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ อาจเป็นสาเหตุสำคัญของไฟไหม้บ้านและอาคาร โดยทั่วไปแล้วการทดสอบการต้านทานการติดไฟของบุหรี่จะใช้วิธีมาตรฐานที่จำลองสภาพของบุหรี่ที่สัมผัสกับวัสดุหรือผลิตภัณฑ์โดยไม่ตั้งใจ

มีมาตรฐานและข้อบังคับมากมายเกี่ยวกับการต้านทานการติดไฟของบุหรี่สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์บุนวม ที่นอน และเครื่องนอน ในระดับสากลหลายองค์กร ได้กำหนดมาตรฐานการติดไฟสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดไฟไหม้ที่เกิดจากวัสดุที่มีควัน

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่า การทนทานการติดไฟของบุหรี่ ไม่ได้หมายความว่าวัสดุหรือผลิตภัณฑ์จะกันไฟได้ไม่ติดไฟเลยในทุกสถานการณ์ แต่เป็นการวัดความสามารถของวัสดุในการต้านทานการติดไฟเมื่อสัมผัสกับวัสดุที่สูบบุหรี่ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบมาตรฐาน

ผ้านิทัสที่ผ่านมาตรฐานการเผาไหม้ระดับบุหรี่

ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ Upholstery

ผ้าม่านก็ได้ ผ้าบุก็ดี Dual Purpose

ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เกรดเอาท์ดอร์ Outdoor Upholstery


Flame Retardant

Flame Retardant หรือ การหน่วงการติดไฟ คือสารเคมีที่เติมลงในวัสดุต่างๆ เช่น สิ่งทอ พลาสติก และผลิตภัณฑ์โฟมเพื่อให้ทนทานต่อไฟมากขึ้น โดยจะทำงานการขัดจังหวะปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเมื่อวัสดุเผาไหม้ หรือสร้างเกราะป้องกันที่ป้องกันไม่ให้เปลวไฟลุกลาม สารหน่วงการติดไฟมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์เฉพาะของตัวเอง 

ผ้าม่านที่มีการทำกันไฟลาม หรือหน่วงการติดไฟมีความสำคัญเนื่องจากสามารถช่วยป้องกันหรือชะลอการลุกลามของไฟ ซึ่งสามารถช่วยชีวิตและลดความเสียหายต่อทรัพย์สินได้

ผ้านิทัสที่ผ่านมาตรฐานกันไฟลาม

หนังเทียม Synthetic Leather

ผ้าม่านกันแสง Dim-out

ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง Wide Width Dim-out

ผ้าทึบแสงซับหลัง Blackout Lining

ผ้าม่านโปร่ง Sheer

ดูเล่มตัวอย่างผ้ากันไฟลามที่นี้ คลิก!!!


เลือกผ้าม่านอย่างไร ให้เหมาะสมกับทิศของห้อง?

ทิศทางการขึ้นของดวงอาทิตย์ของประเทศไทย และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มขึ้นจากทิศตะวันออก จากนั้นอ้อมโค้งไปทางทิศใต้ และตกทางทิศตะวันตก เป็นเวลาประมาณ 8 เดือน คือกันยายนจนถึงเมษายน ดังนั้นทิศใต้และทิศตะวันตกจะเป็นทิศที่ได้รับความร้อนมากที่สุด ประมาณ 8-9 เดือนต่อปี การวางตำแหน่งห้องในทิศนี้จึงควรเป็นห้องที่ต้องการความร้อน ควรหลีกเลี่ยงห้องที่ต้องทำกิจกรรมตอนเย็นถึงค่ำ 

ส่วนทิศตะวันออกจะได้รับแสงในตอนเช้าถึงเที่ยงซึ่งเป็นแดดที่ไม่แรง และทิศเหนือเป็นทิศที่รับแสงแดดน้อยที่สุด ดังนั้นสองทิศนี้จึงควรวางตำแหน่งของห้องที่ไม่ต้องการความร้อน ควรเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมระหว่างวัน และพักผ่อน เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น นอกจากนั้นควรจัดวางด้านแคบของตัวบ้านหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกซึ่งเป็นทิศที่รับแสงแดด เพื่อให้มีพื้นที่ผนังที่รับแสงแดดน้อยที่สุด เนื่องจากผนังอาคารจะดูดซับความร้อนไว้ในเวลากลางวันและคายความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ดังนั้นเมื่อมีพื้นที่ผนังที่โดนแสงแดดน้อยจึงดูดกลืนความร้อนในปริมาณน้อยและคายความร้อนออกมาน้อย ทำให้ภายในบ้านไม่ร้อนจนเกิดไปในเวลากลางคืน

แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ห้องนั้นอยู่สบาย หลายคนคงประสบปัญหาห้องโดนแดดมากไปจนทำให้ร้อน หรือห้องโดนแดดไม่เพียงพอทำให้อับชื้น วันนี้เราจึงพาทุกคนไปเลือกผ้าม่านให้เหมาะสมกับทิศทางของห้อง เพราะผ้าม่านนอกจากจะใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสามารถกรองแสง หรือกันแสงให้กับห้องได้อีกด้วย งั้นเราไปดูกันเลยว่าผ้าม่านแบบไหน เหมาะกับห้องทิศใด

ห้องทิศตะวันออก ‘แสงแดดยามเช้าจะให้ความอบอุ่น หากมันไม่ได้ส่องห้องของคุณมากเกินไป’ ทิศตะวันออกเป็นทิศขึ้นของพระอาทิตย์ ดังนั้นห้องทิศตะวันออก จึงได้รับแดดอ่อนๆ ในยามเช้าตลอดทั้งปี ซึ่งลักษณะแดดยามเช้าจะให้ความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ช่วยปลุกร่างกายที่กำลังตื่นนอนได้เป็นอย่างดี และแสงแดดจะค่อยๆ หายไปในยามบ่าย แม้จะเป็นแสงแดด แต่ทางด้านทิศตะวันออกจะไม่ค่อยมีลมทำให้รู้สึกอบอ้าว

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศตะวันออก

  • ผ้าม่าน (Curtain) หากคุณเป็นคนที่ชอบรับแสงในยามเช้าของทุกวัน สามารถใช้ผ้าม่านปกติในการตกแต่งห้องทิศตะวันออกได้ โดยผ้าม่านปกติ สามารถกรองแสงได้ประมาณ 50%
  • ผ้าม่านกันแสง (Dim-out Curtain) หากไม่ชอบให้ห้องดูมืดสนิทมากเกินไป ผ้าม่านกันแสงสามารถทำให้ห้องของคุณมีความสว่างเล็กน้อย ไม่ดูอึดอัดมากไป เนื่องจากผ้าม่านกันแสง สามารถกันแสงได้ถึง 80%
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

ห้องทิศตะวันตก ห้องทิศตะวันตกเป็นห้องที่ได้รับแสงแดดตั้งแต่ช่วงบ่ายตลอดทั้งปี ซึ่งแดดยามบ่ายจะมีอุณหภูมิสูงมาก เพราะฉะนั้นห้องทิศตะวันตกจะร้อนมาก และสะสมความร้อนจนถึงช่วงพลบค่ำ แม้ว่าแดดจะแรงแต่ควรให้ห้องได้รับแสงแดดบ้าง เพื่อช่วยลดกลิ่นอับ และช่วยฆ่าเชื้อโรค

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศตะวันตก

  • ผ้าม่านทึบแสง 100% (Black Out Curtain) หากในชีวิตประจำวันคุณจำเป็นต้องใช้ห้องทิศตะวันตก ผ้าม่านกันแสง 100% จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับห้องทิศนี้ ทำให้แสงแดดไม่สามารถลอดผ่านเข้ามาในห้องได้ ช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นลง และสามารถช่วยประหยัดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศอีกด้วย
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

ห้องทิศใต้ ห้องทิศใต้จะได้รับแดดตั้งแต่ช่วงสาย ถึงบ่าย และในเดือนกันยายน จนถึงมีนาคมห้องทิศใต้จะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ทำให้ห้องทิศใต้มีอากาศร้อนมากในช่วงสาย จนถึงบ่าย และทางทิศใต้จะได้รับลมในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ดังนั้น ห้องทางทิศใต้ควรจะสามารถรับลมได้ดี เพื่อให้ห้องเย็นขึ้น แต่ต้องบังแดดที่เข้ามาทางทิศนี้ด้วย

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศใต้

  • ผ้าม่านทึบแสง 100% (Black Out Curtain) ทิศใต้ได้รับแดดพอๆ กับทิศตะวันออกและเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ห้องทิศใต้จึงจำเป็นต้องใช้ผ้าม่านกันแสง 100% ในการบังแดดร้อนในช่วงสาย ถึงบ่าย
  • ผ้าม่านกันแสง (Dim-out Curtain) หากไม่ชอบให้ห้องดูมืดสนิทมากเกินไป ผ้าม่านกันแสงสามารถทำให้ห้องของคุณมีความสว่างเล็กน้อย ไม่ดูอึดอัดมากไป เนื่องจากผ้าม่านกันแสง สามารถกันแสงได้ถึง 80%
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

ห้องทิศเหนือ ห้องทิศเหนือ เป็นห้องที่ได้รับแสงแดดน้อยมาก เนื่องจากพรอาอาทิตย์จะโคจรอ้อมไปทิศใต้ โดยทั้งปีห้องทิศเหนือจะได้รับแสงเพียงแค่ฤดูหนาว ทำให้ทิศเหนือได้รับร่มเงาจากอาคารตลอดช่วงบ่าย ดังนั้น อากาศของทิศเหนือจึงสบายกว่าห้องทางทิศอื่นๆ

ผ้าม่านที่เหมาะกับห้องทิศเหนือ

  • ผ้าม่าน (Curtain) ห้องทิศเหนือเป็นห้องที่ไม่โดนแสงแดดโดยตรงทั้งวัน การใช้ผ้าม่านธรรมดา จึงใช้เพื่อการตกแต่งให้ห้องสวยงาม น่าอยู่มากขึ้น และไม่ทำให้ห้องดูทึบเกินไป
  • ผ้าม่านม่านโปร่ง (Sheer) ใช้เป็นตัวเสริมอีกชั้นจากผ้าม่านหลัก ช่วยกรองแสงให้นุ่มนวลขึ้น พลางสายตาบางส่วนจากคนภายนอก และส่งเสริมบรรยากาศของห้องให้ดูสวยขึ้นอีกด้วย

“ผ้าหน้ากว้าง Wide Width Fabric” ดีอย่างไร ?

“ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืน” ไม่ใช่สโลแกนของยี่ห้อที่นอนแต่อย่างใด แต่เป็นคุณสมบัติของผ้าหน้ากว้าง หรือ Wide Width Fabric ผ้าหน้ากว้างคืออะไร? แล้วมีดีอย่างไร? บทความที้จะพาทุกคนไปรู้จักกับผ้าหน้ากว้างกัน พร้อมแล้ว ไปกันเลย ..

ผ้าหน้ากว้าง (Wide Width Fabric) คือผ้าที่มีความกว้างของหน้าผ้ากว้างกว่าปกติคือ โดยความกว้างจะอยู่ที่ 2.80 เมตร ไปจนถึง 3.20 เมตร ด้วยความกว้างของหน้าผ้าขนาดดังกล่าว จึงนิยมใช้ด้านกว้างของหน้าผ้าเป็นความสูง ไม่ต้องต่อผ้าในแนวตั้ง ทำให้ไม่เกิดรอยต่อ จึงสวยงามมากกว่า

นอกจากนั้นผ้าหน้ากว้างยังทำให้งบประมาณโดยรวมถูกกว่า แม้ว่าราคาต่อหลาจะแพงกว่า แต่ผ้าหน้ากว้างจะใช้จำนวนชิ้นผ้าที่น้อยกว่า และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตัดเย็บ

ผ้าหน้ากว้างเหมาะสำหรับท่านที่ไม่ต้องการให้ผ้าม่านเกิดรอยต่อ และต้องการคุมงบประมาณของการตกแต่งบ้าน

คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ จากการสังเกตุสัญลักษณ์ ดังรูปด้านล่างนี้

ดูเนื้อผ้าหน้ากว้ทั้งหมดที่นี้ คลิก!!!

ดูเล่มตัวอย่างและแผ่นพับ ผ้าหน้ากว้างได้ที่นี้ คลิก!!!


ลายผ้า (Pattern) ที่นิยมใช้แต่งห้องที่คนรักบ้านต้องชอบ

“ลายแบบเรียบๆ ก็สวย ลายดอกไม้ก็ดี ลายไหนก็ถูกใจไปหมด ..’ ตอนเลือกซื้อผ้าม่านหรือผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ หลายคนมักจะเกิดอาการลังเลว่าจะเลือกลวดลายบนผ้าอย่างไรดีให้เหมาะกับห้อง วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักลวดลายต่างๆ บนผ้ากัน ว่าแต่ละลวดลายลักษณะเด่นอย่างไร และเหมาะกับห้องแบบไหน เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการซื้อผ้าม่านหรือผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ของคุณ ไปกันเลย ..

 1. ลวดลายเรียบ (Plain Pattern)

คือผ้าที่ไม่มีลวดลายใดเลย มีเพียงสีพื้นเท่านั้น
เหมาะสำหรับห้อง : สามารถใช้แต่งห้องได้ทุกสไตล์ ทำให้ห้องดูเรียบง่าย


2. ลวดลายพื้นผิว (Texture Pattern)

เป็นลายพื้นผิวที่เกิดจากการถักหรือการทอผ้า
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องทุกสไตล์เช่นกัน แต่ทำให้ห้องมีมิติเพิ่มขึ้นมากกว่า


3. ลวดลายธรรมชาติ (Natural Pattern)

3.1 ลวดลายดอกไม้ (Floral Pattern) เป็นลวดลายที่นำรูปร่าง หรือรูปทรงของดอกไมเในธรรมชาติ มาถัก ทอ หรือพิมพ์ลายบนผืนผ้าให้เกิดเป็นลวดลาย
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการเข้าใกล้ความเป็นธรรมชาติ มีความ Feminine สูง สร้างบรรยาการศที่สดชื่นให้กับห้อง และเป็นลายหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของสาวๆ

3.2 ลวดลายใบไม้ (Leaves Pattern) เป็นลวดลายที่นำรูปร่าง ใบไม้รูปทรงต่างๆ มีออกแบบเป็นแพทเทิร์น
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการเข้าใกล้ความเป็นธรรมชาติ สร้างบรรยาการศที่รื่นรมย์ให้กับห้อง


 4. กลุ่มลวดลายคลาสสิค (Classic Pattern)

เป็นการเรียกโดยรวมของลายในยุคสมัยในอดีตที่ยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ลายคลาสสิคเหมาะกับห้องที่แต่งเพื่อความหรูหรา ความคลาสสิค ความวินเทจ แสดงถึงรสนิยมของเจ้าของ ตัวอย่างของลายคลาสสิค อาทิเช่น

4.1 ลวดลายหลุยส์ (Louis Pattern) คือลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวตะวันตก ที่มีความงดงามหรูหรา ชดช้อย เป็นลวดลายที่ประดิษฐ์จากธรรมชาติ พืชพรรณ ใบไม้ ดอกไม้ ทางตะวันตก สร้างสรรค์เป็นลวดลายขึ้นมา โดยลวดลายเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคของยุโรป โดยลายแนวนี้จะมีความชัดเจนที่คนไทยส่วนใหญ่เห็นจะเป็นลวดลายถ่ายทอดออกมาทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของฝรั่งเศส ที่โดดเด่นสุดคือ พระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จึงเรียกลวดลายเหล่านี้รวมๆ ว่า ‘ลายหลุยส์’ ตามชื่อกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักฝรั่งเศสในสมัยนั้น แต่ที่จริงแล้วถ้าเราจะสื่อสารกับชาวต่างชาติแบบสากลจะเรียกลวดลายเหล่านี้ว่า ลายคลาสสิค หรือเรียกว่า Design of intertwined sprays ในภาษาอังกฤษ  เพราะหากเราเรียกว่าลายหลุยส์ เขาจะนึกถึงลาย โมโนแกรมของแบรนด์กระเป๋าชื่อดังแทน
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการความโดดเด่น แสดงถึงความหรูหรา และอลังการ โดยส่วนมากจะใช้สีทองในการตกแต่ง

4.2 ลวดลายดามาส (Damask Pattern) มาจากชื่อของเมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย เมืองท่าสำคัญบนเส้นทางสายไหม ลายดามาสโดดเด่นด้วยลวดลายที่มีลักษณะเป็นประดิษฐ์ดัดแปลงของพืชพรรณ ธรรมชาติให้สวยงาม เช่น ใบอะแคนทัส (Acanthus) หรือจริงก็คือใบผักชี และใบต้นฝิ่น ลักษณะสังเกตุของลายดามาสคือจะมีลักษณะ เป็นกลุ่มลวดลายเป็นดวง ส่วนใหญ่จะอยู่ในทรงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (Marquise Shape) กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งผืนผ้า มีจังหวะการเรียงตัวที่เท่าๆ กัน อย่างงดงาม
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการความโดดเด่น แสดงถึงความหรูหรา และอลังการ

4.3 ลวดลายสโคล์ (Scroll Pattern) หรือลายขด หรือ ลายเคลือเถา (Bunch of vine) หรือมีลักษณะคล้ายกับแผ่นกระดาษที่ถูกม้วน โดดเด่นด้วยลวดลายของพืชพรรณ ก้านใบ ดอกไม้ที่เสมือนไม้เลื้อย เถาองุ่นที่แตกยอด เกาะเกี่ยว เลี้ยวพันกัน วนกันเป็นเถาวัลย์ หรือขดคล้ายก้นหอย ลายที่ดัดแปลงธรรมชาติที่มีรสนิยมที่หรูหร่า ในรูปแบบที่น้อย
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการความโดดเด่น เคลื่อนไหว อ่อนโยนแต่ ให้ความหรูหรา  และดู Feminine มากขึ้น

4.4 ลวดลายเพสลีย์ (Paisley Pattern) หรือลายลูกผักชี หรือคนไทยบางคนก็เรียกลายลูกน้ำ คนอินเดียก็ว่าเป็นลายมาจากมะม่วง คนฝรั่งเศสเรียกว่าเป็นลายจากลูกอ๊อด บ้างก็เรียกว่าลายจากแตงกวาดองเปอร์เซีย (Persian Pickle)

โดยแท้จริงแล้วลายนี้มีต้นกำเนิดมาจากแถบเปอร์เซีย ในชื่อ Buta หรือ Boteh ที่แปลว่าดอกไม้ รวมกับต้นสนไซเปรสที่โน้มกิ่งตามลม ซึ่งได้เข้ามาถึงในอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม และเป็นที่ต้องการมาในสมัยนั้น จนกระทั่งชาวเมืองเพสลีย์ ประเทศสก็อตแลนด์เริ่มทอลายผ้าแบบนี้บ้างเพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงในสมัยนั้น และด้วยเทคโนโลยีการทอที่ล้ำหน้า สามารถทอแบบแจ็คการ์ด (Jacquard) ที่สามารถทอสลับสีเส้นด้าย ได้ถึง 15 สี ทำให้ผ้าลายเพสลีย์สวยงาม และมีลูกเล่นของการให้สีสวยงามขึ้นไปอีก เป็นที่นิยมเรื่อยมา ทำให้ผ้าลาย Boteh ภาษาถิ่นเกิดก็ได้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า ลายเพสลีย์ ตามชื่อเมืองนั้นเอง ลายที่โดดเด่นคล้ายหยดน้ำมีปลายโค้งมนที่เรียงร้อยกัน เป็นแพทเทิร์นที่ไม่มีรูปแบบตายตัว
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะเป็นผ้าชิ้นไม่ใหญ่มาก เช่น หมอน หรือนำไปบุอาร์มแชร์ตัวเก่ง เพิ่มบุคคลิคให้ห้อง ไม่นิยมใช้เป็นชิ้นใหญ่ในบ้าน อย่างผ้าม่านเพราะมีลวดลายเยอะ เลอะไปจนทำให้ดูสับสบ ดหมะกับห้องสไตล์วินเทจแบบผู้ดีอังกฤษ ที่ต้องการความความโดดเด่นของลวดลาย สร้างบรรยากาศโดยร่วมของห้องมีกลิ่นอายความเป็นอังกฤษที่ปนด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมพื้นถิ่นจากตะวันออกกลาง

4.5 ลวดลายเทรลลิสส์ (Trellis Pattern) หรือลายโครงเถาไม้เลื้อย ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลายโครงไม้ โครงเหล็ก หรือตาข่าย สำหรับเพาะปลูกไม้เลื้อย โดดเด่นด้วยลวดลายที่ประกอบกันอย่างประณีตจากเส้นต่างๆ ลักษณะการสังเกตุจะเป็นลายที่มาจากการสานกันแนวทะแยง ตัดกันเป็นทรงสีเหลี่ยมข้ามหลามตัด ทั้งเส้นตรง และเส้นโค้ง ดูอ่อนช้อยงดงาม
เหมาะสำหรับห้อง : สามารถตกแต่งห้องได้ทุกสไตล์ เพื่อความสวยงามแบบคลาสสิคให้กับห้อง นิยมใช้ตกแต่งห้องแนวหรูหราแบบร่วมสมัย (Contemporary Luxury)

4.6 ลวดลายดอกลิลลี่   (Fleur De Lis Pattern) อ่านออกเสียง เฟลอร์ เดอ ลีส เป็นภาษาฝรั่งเศส เป็นสัญลักษณ์ที่แปลงมาจากดอกลิลลี่หรือดอกไอริสที่ใช้ในการตกแต่ง และอาจจะเป็นได้ทั้งสัญลักษณ์ทางการเมือง ทางการสืบเชื้อสาย ทางศิลปะ ทางการเป็นตรา และโดยเฉพาะในการใช้เป็นตราประจำตระกูล ปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นลวดลายสำหรับผ้ามากมาย โดดเด่นด้วย
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่สไตล์คลาสสิค ที่ต้องการให้ดูเป็นห้องชนชั้นสูง และแสดงถึงอำนาจชนชั้นการปกครอง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะว่าเป็นหนึ่งในลายที่ในยุคล่าอณานิคมของฝรั่งเศสได้ใช้ลายนี้ตีตราลงไปที่ตัวทาสชาวแอฟริกาในสมัยนั้น ฉะนั้นจึงเป็นลายที่ละเอียดอ่อนในความรู้สึกในบางสังคมนั้นเอง

4.7 ลวดลาย ตวล เดอ ฌุย (Toile de Jouy Pattern) หรือที่เรียกว่า ‘Jouy Print’ เป็นภาพสะท้อนเรื่องราวให้เห็นวิถีชีวิตของฝรั่งเศส ในช่วงศตวรรษที่ 18 ออกแบบด้วยการพิมพ์ลวดลายของสถาปัตยกรรม หรือบุคคลในช่วงศตวรรษที่ 18 ลงบนผ้าลินิน หรือผ้าฝ้าย
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ตกแต่งสไตล์วินเทจ ช่วยให้ห้องดูมีเรื่องราว มีชีวิตชีวามากขึ้น


5. ลวดลายแอ็บสแตร็กส์ (Abstract Pattern)

มีที่มาจากศิลปะนามธรรม (Abstract Art) โดดเด่นด้วยลวดลายที่มีความเป็นอิสระทั้งรูปร่าง เส้น และเป็นอิสระจากรูปร่างตามธรรมชาติ ไม่มีรูปร่างตายตัว
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการสื่อถึงรสนิยมทางศิลปะชั้นสูง เข้าถึงยาก น่าค้นหา ให้ความเป็นตัวตนของเจ้าของห้อง ไม่ซ้ำใคร


 6. กลุ่มลวดลายเรขาคณิต (Geometric Pattern)

6.1 ลวดลายเรขาคณิต (Geometric Pattern) เป็นลวดลายแรกๆ ที่มนุษย์ใช้ตกแต่งผ้า โดดเด่นด้วยลวดลายที่เกิดจากประกอบกันของเส้น หรือรูปร่างจนเกิดเป็นลวดลายเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม หลายเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องสไตล์โมเดิร์นที่ต้องการให้ห้องดูสดใสมีชีวิตชีวา ลดทอนความเรียบเกินไปของสไตล์โมเดิร์น

6.2. ลวดลายทาง (Stripe Pattern) เป็นลายที่มีความโดดเด่นด้วยการสลับแถบสีที่ต่างสี หรือต่างโทนกัน โดยแถบสีอาจจะเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องที่ต้องการพรางเตี๊ยของเพดานห้อง ทำให้ห้องดูสูงโปร่งขึ้น สื่อถึงความตรงไปตรงมา เป็นทางการ เป็นระเบียบ และยังทำให้ห้องดูภูมิฐานน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย

6.3 ลวดลายเชฟรอน (Chevron Pattern) หรือที่เรียกติดปากว่า ลายซิกแซก  จะเรียงลวดลายเหมือนกับลายเฮอร์ริ่งโบน แตกต่างกันบริเวณรอยต่อที่ลายเชฟรอนจะประกบกันพอดี
เหมาะสำหรับห้อง :
ความเหมาะสมของลายเชฟรอนจะเหมือนกับลายเฮอร์ริ่งโบน คือเหมาะกับห้องสมัยใหม่ที่ต้องการกลิ่นอายของความคลาสสิค ไม่เหมือนใคร นอกจากนั้นยังช่วยลวงตาให้ห้องดูกว้างขึ้นอีกด้วย แต่ไม่เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่ใหญ่ๆ เพราะจะทำให้ลายตาได้

6.4 ลวดลายเฮอร์ริ่งโบน (Herringbone Pattern) หรือลายก้างปลา โดดเด่นด้วยการจัดเรียงลวดลายอันประณีตสลับทิศทางกันเหมือนก้างปลา มีให้เลือกหลากหลายแบบ อาทิ ลายก้างปลาแบบเดี่ยว (Single Herringbone) ลายก้างปลาแบบเส้นคู่ (Double Herringbone) มีความคล้ายคลึงกับลายเชฟรอน
เหมาะสำหรับห้อง : ห้องสมัยใหม่ที่ต้องการกลิ่นอายของความคลาสสิค ไม่เหมือนใคร นอกจากนั้นยังช่วยลวงตาให้ห้องดูกว้างขึ้นอีกด้วย แต่ไม่เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่ใหญ่ๆ เพราะจะทำให้ลายตาได้

6.5 ลวดลายโพลก้าดอท (Polka Dot Pattern) ผู้ให้กำเนิดลายโพลก้าดอทคือ ศิลปินชาวญี่ปุ่น ชื่อยาโยอิ คุซามะ  (Yayoi Kusama)  โดยเธอคิดลายนี้ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ โดดเด่นด้วยลวดลายวงกลมทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ที่เท่ากัน หรือไม่เท่ากัน ซ้ำๆ กันทั้งผืนผ้า
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องทุกสไตล์ ที่ต้องการความสดใส และสนุกสนานให้กับห้อง


7. กลุ่มลวดลายสก็อต (Scottish pattern)

ลายที่คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวอย่างผ้าขาวม้า แต่ความจริงแล้วที่คนไทยส่วนใหญ่ชอบเรียกรวมว่าลายสก็อต มีลายอะไรบ้างมาดูกันเลย
7. 1 ลวดลายตาราง (Check Pattern) เป็นลายที่โดดเด่นด้วยการเรียงช่องสี่เหลี่ยมที่มีสีต่างกัน หรือโทนที่ต่างกัน โดยทุกช่องจะเท่ากัน
เหมาะสำหรับห้อง : เป็นลายที่เหมาะกับห้องสไตล์ คลาสิกโมเดิร์น สร้างบรรยากาศแบบยุคกลาง เข็มแข็ง น่าเชื่อถือ แต่แฝงไปด้วยความหรูหรา

7.2 ลวดลายกิงแฮม (Gingham Pattern) เป็นลวดลายที่เป็นที่นิยมมากในอังกฤษ ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 คนส่วนมากจะสับสนระหว่างลายตาราง (Check Pattern) และลายกิงแฮม โดยความแตกต่างของทั้งสองลายนี้ ที่เห็นได้ชัดคือลายกิงแฮมจะมีบางช่องที่เกิดการผสมกันระหว่างสีของด้ายทั้งสองจากกระบวนการทอ
เหมาะสำหรับห้อง : เป็นลายที่เหมาะกับห้องทุกสไตล์การตกแต่ง ทำให้ห้องมีกลิ่นอายของอังกฤษ สก็อตแลนด์

7.3 ลวดลายทาร์ทัน (Tartan Pattern) หรือที่คนไทยก็เรียกว่าลายสก็อตต์ (Scott Pattern) ชาวอเมริกันเรียกว่า ลายแพลด (Plaid) เป็นลายผ้าที่โด่งดังมาก จนไม่มีใครไม่รู้จัก เกิดขึ้นตั้งแต่สองพันปีก่อน โดยชนเผ่าทาร์ทัน โดดเด่นด้วยเส้นด้ายสีสันต่างๆ สานไขว้ไปมา ลวดลายคล้ายกับตารางหมากรุก
เหมาะสำหรับห้อง : เป็นลายที่เหมาะกับห้องทุกสไตล์การตกแต่ง ทำให้ห้องมีกลิ่นอายของอังกฤษ สก็อตแลนด์

7.4 ลวดลายสาน (Basketweave Pattern) เป็นลวดลายที่คุ้นเคยกันดี ในงานหัตถกรรมจักสาน โดดเด่นด้วยลวดลายแถบสองสี หรือสองโทน สานสลับไขว้กันทำให้เกิดลวดลายสานที่หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับกระบวนการในการสาน เช่น  ลายขัด ลายทแยง ลายขด หรือลายอิสระ เป็นต้น
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องทุกสไตล์ ที่ต้องการกลิ่นอายความเป็นพื้นถิ่น (Traditional)

7.5 ลวดลายมาดาส (Madras Pattern) หรือที่คนไทยรู้จักว่า ‘ลายผ้าขาวม้า’ มีต้นกำเนิดที่เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย โดยชื่อดั้งเดิมมีชื่อว่าลายเจนไน ตามชื่อเมืองกำเนิด เป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากโดดเด่นด้วยสีสันสดใส ส่วนมากจะปรากฏสีโทนสว่าง เช่น สีส้ม สีชม หรือสีเหลือง ทำให้นึกถึงฤดูร้อน
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการเข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น

7.6 ลวดลายเกลน (Glen) หรือลายตารางของเจ้าชายเวลส์ (Prince of Wales Check) ที่มาของลวดลายนี้เกิดมาจากความนิยมของเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งเวลส์ โดดเด่นด้วยการใช้ลวดลายที่ต่างๆ เช่นลายฮาวด์ทูธ ใส่ไว้ในช่องสี่เหลี่ยมของลายตารางหมากรุก (Check Pattern) จึงเรียกว่า ลายตารางของเจ้าชายเวลส์
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความสบาย และผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มีกลิ่มอายของความเป็นอังกฤษ

7.7 ลวดลายวินโดวเพลน (Windowpane) เป็นลวดลายที่โดดเด่นด้วยการคาดเส้นทำให้เกิดช่องสีเหลี่ยมเหมือนช่องหน้าต่าง
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความสบาย และผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย

7.8 ลวดลายแท็ทเทอร์ซอล  (Tattersall Pattern) มีต้นกำเนิดมาจากลอนดอน ลายนี้คือการนำลายวินโดว์เพลนสองลายมาประกบกัน ทำให้เกิดเส้นสองสีที่ซ้อนกันอยู่
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความสบาย และผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย

7.9 ลวดลายฮาวส์ทูธ (Houndstooth Pattern) เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูงเกิดจากการคิดค้นการให้ลายอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อในรูปแบบสก็อตแบบตั้งเดิมจึงเกิดการพัฒนาขึ้น ต้นกำเนิดมาจากชาวพื้นเมืองของสก็อตแลนด์ โดดเด่นด้วยลักษณะเป็นแฉกสี่เหลี่ยมคล้ายกับดาวกระจายสลับกัน 2 สี คล้ายฟันของสุนัข สีที่เป็นสีที่นิยมนำมาทำแพทเทิร์นได้หลากหลายคือ สีขาวสลับดำ และเป็นลายหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ แต่ยังคงความร่วมสมัย ซึ่งในวงการแฟชั่นลายยฮาวส์ทูธนี้ ก็เป็นลายที่ได้รับนิยมสูงสุดลายหนึ่งเช่นกัน
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะกับห้องโมเดิร์น คลาสสิค เปรี๊ยว ใช้เป็นผ้าบุอาร?มแชร์ตัวโปรด หรือหมอนตกแต่ง เพื่อต้องการเรียกร้องความน่าสนใจให้กับห้องได้ดีมากลายหนึ่ง ทำให้มีกลิ่นอายของนำสมัยป่นด้วยความคลาสิค แสดงรสนิยมอันมีระดับของผู้อยู่อาศัยได้ดีเลยที่เดียว

7.10  ลวดลายอาร์ไจล์ (Argyle Pattern) มีต้นกำเนิดจากเมืองอาไจล์ ทางตะวันตกของประเทศสก็อตแลนด์ ในช่วงศตวรรษที่ 17 โดดเด่นด้วยลวดลายที่มีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียงซ้อนกันในแนวเฉียงเพื่อให้เกิดมิติของการเคลื่อนไหว โดยอาจจะเป็นแถวยาว หรือตลอดทั้งผืนผ้าก็ได้ ลายนี้กำเนิดมาจากลายจากการถัก (Knitting) ไม่ใช่การทอ (Weaving) เพราะการทอจะมีชุดได้เพียงได้พุ่ง แนวตั้ง และได้ยื่นแนวนอน เท่านั้น การจะทอเป็นลายสี่เหลี่ยมทะแยง หรือสี่เหลี่ยมข้ามหลามตัดแบบนี้ค่อยข้างยากมากในตอนนั้น และลายนี้ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นเคยคือลายที่อยู่ในเสื้อเสื้อ Sweater และเสื้อกัก ที่ส่วมทับเสื้อเชิ๊ตตามหนังฝรั่งนั้นเอง
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะสำหรับห้องทุกคลาสสิก ส่วนใหญ่นิยมนำมาเป็นลายตกแต่ง เช่น หมอนต่างๆ เพื่อเพิ่มความคลาสิก การตกแต่งที่ให้อารมณ์บ้านอยู่ในเขตประเทศอบอุ่น ให้กลิ่นอายความเป็นผู้ดีอังกฤษแบบวินเทจให้กับห้องนั้นๆ


8. ลวดลายพราง (Camouflage Pattern)

 มีต้นกำเนิดมาจากลายบนเครื่องแบบของทหาร ที่ใช้เพื่ออำพรางสายตาเมื่ออยู่ในที่มืด หรืออยู่ในป่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดดเด่นด้วยลวดลายอิสระลักษณะคล้ายใบไม้ที่ทับถมกัน โดยมากจะใช้สีในธรรมชาติ อย่างสีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ
เหมาะสำหรับห้อง : เป็นลายที่เหมาะกับห้องต้องการแนว Adventure ทำให้ห้องเหมือนอยู่ในป่า ออกแคมป์ เสริมความเป็นธรรมชาติ และความดูเป็น Masculine ดูเข้มแข็ง


9. ลวดลายมัดหมี่ (Ikat Pattern)

ลายมัดหมี่เป็นลวดลายที่ไม่มีรูปแบบตายตัว โดยลวดลายจะเป็นลายเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น ความโดดเด่นของลายมัดหมี่คือการขึ้นลวดลายด้วยการมันและย้อมสีลงไปที่เส้นด้ายก่อนการนำไปทอเมื่อมีการสืบด้ายยืนอีกครั้ง ลวยลายที่สร้างขึ้นแต่แรกนั้นก็จะมีความเคลื่อนไม่เท่ากันเป็นเส้นๆ จึงเกิดลักษณะเฉพาะของผ้าชนิดนี้ขึ้นมา กล่าวคือใช้การมัดเป็นช่วงลายเพื่อกันสีที่ไม่ต้องการ ส่วนใหญ่จะย้อมสีอ่อนก่อน แล้วรอบถัดๆ ไปจึงยอมสีเข้มขึ้น ในปัจจุบันบางท้องถิ่นใช้วิธีการเต้มสีวาดลายลงไปเป็นลวดลายเลยโดยไม่ต้องผ่านการมัดและย้อมหลายๆ รอบเพื่อให้เกิดลวดลายขึ้นมา คนแถบอุษาคเนย์ นิยมใช้เทคนิคนี้ที่ ด้ายพุ่ง ส่วนชาวตะวันตกเรียกใช้เทคนิคนี้กับ ด้ายพุ่ง ทำให้เกิดลักษณะที่ต่างกันของลวดลาย และจึงนำไปทอตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเอง
เหมาะสำหรับห้อง : เป็นลายที่เหมาะกับห้องทุกสไตล์การตกแต่งที่ต้องการกลิ่นอายในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้น เช่น หากอยากได้ห้องสไตล์ไทยโมเดิร์น อาจจะใช้ผ้าลายมัดหมี่ของไทยเข้าไปเข้าผสมกับการตกแต่งสไตล์โมเดิร์น เป็นต้น


10. ลวดลายการ์ตูน และลายกราฟิก (Cartoon/Gaphic Pattern)

ลายการ์ตูนเป็นลายที่นำคาแรคเตอร์จากการ์ตูนที่โด่งดัง หรือการ์ตูนรูปคน สัตว์ สิ่งของ ลวยกราฟิกที่ตัดทอนจากสิ่งต่างๆรอบๆตัว ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นทั้งลายทอ และการพิมพ์ลงบนผ้าที่เป็นที่นิยมมากกว่าเพราะให้สีสันได้มากกว่า โดดเด่นด้วยคาแรคเตอร์ของตัวการ์ตูนต่างๆ ให้สนุกไปกับจินตนาการตามช่วงวัย
เหมาะสำหรับห้อง : เหมาะกับห้องเด็ก หรือห้องของผู้ใหญ่ที่ต้องการสร้างบรรยากาศความสนุกสนานก็ได้เช่นกัน


9 สไตล์ การจัดวางหมอนบนโซฟาให้ดูดี

        หลายท่านคงมีปัญหาในการจัดวางหมอนเพื่อการส่งเสริมบรรยากาศของห้อง บนโซฟาตัวโปรดของท่าน จะจัดวางอย่างไรให้ดูดี ดูสวยงาม และดูมีสไตล์ วันนี้เราขอแนะนำการจัดวางหมอนแบบง่ายๆ ในสไตล์ต่างๆ ให้ทุกท่านได้เลือกสรร เพื่อนำไปใช้ เช่น การจัดวางหมอนในห้องรับแขก โซฟาภายในบ้าน หรือล็อบบี้ต้อนรับของโรงแรมต่างๆ ท่านจะได้พบกับรูปแบบการจัดวางถึง 9 แบบ 9 สไตล์ ด้วยกัน งั้นเราไปดูวิธีการจัดกันเลยดีกว่า ..


แบบที่ 1 Slope Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 2-3 ที่นั่ง ใช้หมอน 2 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″ ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา สำหรับผู้ที่ไม่ชอบมีหมอนตกแต่งเยอะ การวางหมอนไม่สมดุลกันทั้งสองข้างให้ความรู้สึกที่เรียบง่าย เป็นกันเอง  ดูเป็นมิตร และผ่อนคลาย


แบบที่ 2  Triangle Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 2-3 ที่นั่ง ใช้หมอน 3 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″ ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา และหมอนเล็กใบยาวขนาด 18″x 12″ การวางหมอนไม่สมดุลแบบทรงสามเหลี่ยม ให้ความรู้สึกที่เรียบง่ายแต่ดูมีสไตล์ ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความทันสมัยยิ่งขึ้น


แบบที่ 3  Balance Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 3 ที่นั่ง ใช้หมอน 4 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมี 20″  ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา  การวางหมอนแบบสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา โดยให้หมอนมีขนาดเล็กอยู่ข้างหน้าหมอนที่มีขนาดใหญ่กว่า ให้ความรู้สึกเรียบง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ดูเป็นทางการ เหมาะสำหรับการวางในห้องนั่งเล่นที่เป็นห้องรับแขกในห้องเดียวกัน ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความทันสมัย และหรูหรา


แบบที่ 4  Mirror Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 3 ที่นั่ง ใช้หมอน 4 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″  ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา การวางหมอนแบบสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา โดยหมอนใบใหญ่จะจัดวางด้านหลัง และหมอนใบเล็กวางด้านหน้า ซึ่งคล้ายกับการวางแบบ Balance Style แต่จะมีการสลับของน้ำหนักสีของหมอน ให้ความรู้สึกเรียบง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ดูเป็นทางการและยังดูแปลกตาสร้างความรู้สึกที่แปลกใหม่ เหมาะสำหรับการวางในห้องนั่งเล่นที่ใช้เป็นห้องรับแขกในห้องเดียวกัน ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความทันสมัย แปลกตา และหรูหรา


แบบที่ 5  Dali Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 3 ที่นั่ง ใช้หมอน 4 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″ ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา และใบหมอนเล็กยาวขนาด 18″x 12″ ที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป การวางหมอนแบบสมดุลที่ไม่สมดุลกัน คือทั้งซ้ายและขวามีจำนวนหมอนที่เท่ากัน แต่ขนาดของหมอนนั้นไม่เท่ากัน โดยให้หมอนที่มีขนาดเล็กอยู่ข้างหน้าหมอนที่มีขนาดใหญ่กว่า ให้ความรู้สึกที่แตกต่าง ไม่ซ้ำซากจำเจ แสดงถึงบุคลิกการแต่งบ้านไม่ยึดติดกับแบบแผน เหมาะสำหรับการวางในห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความทันสมัย แตกต่างมีความเป็นตัวของตัวเองสูง


แบบที่ 6  Queen Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 3 ที่นั่งขึ้นไป ใช้หมอน 5 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″ ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา  และหมอนใบเล็กยาวขนาด 18″x 12″ ที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป การวางหมอนแบบสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา โดยให้หมอนที่มีขนาดเล็กอยู่ข้างหน้าหมอนที่มีขนาดใหญ่กว่า ให้ความรู้สึกเรียบง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ดูเป็นทางการ เหมาะสำหรับการวางในห้องรับแขก ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความเป็นทางการ และหรูหรา


แบบที่ 7  King Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 3 ที่นั่งขึ้นไป ใช้หมอน 5 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″  ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา  และหมอนใบใหญ่สุดจะมีขนาด 22″ ที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป การวางหมอนแบบสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา โดยให้หมอนที่มีขนาดเล็กอยู่ข้างหน้าหมอนที่มีขนาดใหญ่กว่า และหมอนใบใหญ่ที่สุดวางกึ่งกลางโซฟาด้านหลัง ให้ความรู้สึกสมดุล เหมาะสำหรับการวางในห้องรับแขก ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความเป็นทางการและหรูหรา


แบบที่ 8  Crown Style

เหมาะสำหรับห้องที่มีโซฟา 3 ที่นั่งขึ้นไป ใช้หมอน 6 ใบ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมากหมอนใบเล็กจะมีขนาด 18″ เป็นสีอ่อนกว่าตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่จะมีขนาด 20″ ที่มีสีสันใกล้เคียงกับตัวโซฟา และหมอนใบใหญ่สุดจะมีขนาด 22″ หมอนใบเล็กยาวขนาด 18″x 12″ ที่มีสีสันหรือมีลวดลายตัดกันกับตัวโซฟา เป็นแบบการวางหมอนที่นิยมกันมากที่สุดสำหรับบ้านขนาดใหญ่ โรงแรม 5 ดาว การวางหมอนแบบสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา โดยให้หมอนที่มีขนาดเล็กอยู่ข้างหน้าหมอนที่มีขนาดใหญ่กว่า และหมอนใบใหญ่ที่สุดวางกึ่งกลางโซฟาด้านหลัง พร้อมหมอนใบเล็กยาววางด้านหน้าสุดของชุดหมอน ให้ความรู้สึกสมดุล เหมาะสำหรับการวางในห้องรับแขก ล็อบบี้โรงแรม 5 ดาว ส่งเสริมบรรยากาศห้องให้ดูมีความปราณีต บรรจง หรูหรา มีรสนิยมแบบชนชั้นสูง


แบบที่ 9  Royal Style

คล้ายกับแบบ Crown Style เพียงสลับให้หมอนใบใหญ่สุดในชุด มี 2 ใบจัดอยู่ที่ซ้ายและขวาแบบสมดุลกันและใบถัดลงมาจัดอยู่ในตำแหน่งตรงกลางแทน ให้ความรู้สึกสมดุล  เหมาะสำหรับการวางในห้องรับแขก ล็อบบี้โรงแรม 5 ดาว ส่งเสริมบรรยายกาศห้องให้ดูมีความปราณีต บรรจง หรูหรา มีรสนิยมแบบชนชั้นสูง เช่นกัน

สัญลักษณ์ Made in green

สัญลักษณ์ Made in green

ฉลาก “Made in Green” ได้รับการจัดการโดย OEKO-TEX ซึ่งเป็นระบบการทดสอบและรับรองอิสระสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ OEKO-TEX มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และดำเนินงานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก องค์กรก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

ฉลากไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังให้ความโปร่งใสเกี่ยวกับกระบวนการผลิตอีกด้วย สิทธิ์การได้รับฉลาก “Made in Green” ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต้องผ่านเกณฑ์ที่เข้มงวดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น การใช้เทคนิคการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและเป็นธรรมสำหรับคนงาน และการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน ฉลากยังกำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของประเทศที่ผลิตผลิตภัณฑ์

โดยรวมแล้ว ฉลาก “Made in Green” เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับผู้บริโภคที่สนใจซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม

สัญลักษณ์ Teflon

Teflon Fabric Protector

DuPont Teflon Fabric Protector ผลิตภัณฑ์ จากบริษัท DuPont บริษัทอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นในปี 2345 ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของบริษัท ได้แก่ เส้นใย nylon, เส้นใย Kevlar, Tyvek, และ Teflon

Teflon Fabric Protector เป็นสเปรย์ฉีดที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องผ้าจากการหก คราบสกปรก และความเสียหายจากน้ำ การรักษาจะสร้างเกราะป้องกันรอบเส้นใยของผ้า ทำให้ทนต่อของเหลวและคราบน้ำมันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าฟลูออโรโพลิเมอร์ สามารถป้องกันผ้าของคุณจากสิ่งสกปรก และของเหลวต่างๆ เช่น นํ้า กาแฟ ไวน์ ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี เมื่อของเหลวนั้นถูกพื้นสัมผัสของผ้าที่เคลือบด้วยสาร Teflon ของเหลวนั้นจะจับตัวกันเป็นเม็ดกลมคล้ายนํ้าที่กลิ้งอยู่บนใบบัว ง่ายต่อการทำความสะอาด ได้ง่ายด้วยน้ำและสบู่อ่อนๆ และเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของผืนผ้าได้อีกด้วย

DuPont Teflon Fabric Protector มักใช้กับเสื้อผ้า เบาะ และอุปกรณ์กลางแจ้ง เช่น เต็นท์และเป้สะพายหลัง โปรดทราบว่าการบำบัดไม่ได้ทำให้ผ้ากันน้ำ แต่สามารถกันน้ำได้ ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าผ้าจะกันน้ำได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ในที่สุดผ้าก็จะดูดซับน้ำหากสัมผัสกับผ้าเป็นระยะเวลานาน

การวัดหน้าต่างหรือประตูที่ถูกต้องและสะดวก

มาวัดหน้าต่างหรือประตู เพื่อการคำนวนผ้าม่านง่ายๆ กันเถอะ

คงเป็นเรื่องง่ายขึ้น หากเราสามารถวัดขนาดหน้าต่างหรือประตูด้วยตัวเราเอง ก่อนที่จะไปร้านผ้าม่าน เพื่อช่วยในการลดระยะเวลาที่ช่างต้องมาวัดขนาดที่บ้านของเรา และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย โดยมีการวัด และการเลือก มีดังนี้

A : ขนาดความกว้างของหน้าต่าง หรือประตู รวบวงกบ
B :  ขนาดความสูงของหน้าต่าง หรือประตู รวบวงกบ
C : ขนาดความสูงของขอบบนวงกบหน้าต่าง หรือประตู ถึงพื้น
D : ขนาดความสูงจากพื้นถึงเพดาน

และเมื่อเราวัดขนาดเสร็จแล้ว ต่อไปคือการเลือกรายละเอียดต่างๆ ของม่าน เช่น

ประเภทของรางม่าน 1) รางโชว์ 2) รางไมโคร ผนัง, เพดาน 3) รางไมโครล๊อคลอนผนัง หรือเพดาน

รูปแบบการเย็บของผ้าม่าน เช่น  1) ม่านตาไก่ 2) ม่านคอกระเช้า 3) ม่านสามจีบ 4) ม่านลอน S หรือล๊อคลอน 5) ม่านโรมัน

รูปแบบการเปิดม่าน 1) ม่านเปิดด้านเดี่ยว ระบุซ้ายหรือขวา 2) ม่านคู่ แยกกลาง

ระดับความสูง 1) ม่านยาวลอยจากระดับวงกบล่าง 20 ซม 2)  ม่านยาวถึงระดับพื้นโดยปกติจะลอย จากพื้น 1-5 ซม


คุณรู้จัก ‘ผ้าเอาท์ดอร์ (Outdoor Fabrics) หรือไม่ ?

Outdoor Fabrics จากชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ‘ผ้าเอาท์ดอร์’ คือผ้าที่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง เช่น ร่มชายหาด, เตียงผ้าใบริมสระว่ายน้ำ หรือเบาะที่นั่งนอกอาคารที่โดนแดด

คุณสมบัติหลักของผ้าเอาท์ดอร์ส่วนใหญ่ คือกผ้าสามารถใช้งานในที่กลางแจ้งได้ มีความคงทนต่อการซีดจางของสี (Color Light Fastness) ที่มักนิยมเรียกกันว่า สีจาง หรือแดดเลีย ส่วนใหญ่ผ้าที่เราเห็นกันในท้องตลาดจะเป็นผ้าจากเส้นใยอะคริลิค (Acrylic) และโอเลฟิน (Olefins) ซึ่งเส้นใยทั้งสองชนิด มักจะเป็นการใส่สีลงไปตั้งแต่ขั้นตอนการฉีดเส้นใย ก่อนการตีเกียวเป็นเส้นด้าย ไม่ได้ผ่านการย้อมสีผ้าแบบปกติที่เราคุ้นเคย ด้วยกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้ผ้าทั้งสองชนิดมีความคงทนของสีต่อแสงมาก ไม่ซีดจางเร็ว ซึ่งผ้าทั้งสองตัวนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ผ้าที่มาจากโอเลฟิน เป็นโพลิเมอร์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ฉะนั้นจึงไม่สามารถรีดในอุณหภมิสูงได้ แต่มีข้อดีคือน้ำหนักที่เบากว่า และราคาที่ถูกกว่า นอกจากนั้นยังมีเส้นใยจากโพลีเอสเตอร์อีกชนิดหนึ่ง แต่คุณสมบัติด้านการคงทนต่อการซีดจางต่อแสงจะน้อยกว่าเส้นใยทั้งสองที่กล่าวมา เพราะใช้การย้อมสี และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) ในขั้นตอนสุดท้ายใส่สารเพื่อเพิ่มความคงทนต่อแสงเข้าไปในขั้นตอนการผลิต ก็จะได้คุณสมบัตินั้นเช่นกัน แต่จะมีประสิทธิลดลงหลังจากการซัก

ส่วนคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติม เช่น การกันน้ำ หรือความจริงต้องเรียกว่า การสะท้อนน้ำ (Water Repellent), ความคงทนของสีจากคลอรีน, การป้องกันเชื้อรา (Anti-fungal), การเช็ดล้างได้ง่าย (Easy Clean) เป็นคุณสมบัติเพิ่มเติมเข้าไปจากคุณสมบัติหลักของผ้าเอาท์ดอร์

วิธีการดูแลรักษาผ้าคือ แม้จะเรียกว่าผ้าเอาท์ดอร์ แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ขณะฝนตก เนื่องจากผ้าจะมีการตกแต่งพิเศษแบบกันเชื้อราก็ตามแต่วัสดุที่เป็นชั้นใน ไม่ได้มีคุณสมบัติพิเศษใดๆ ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราสะสมภายใน ลามออกมาถึงผ้าได้ด้วย และเป็นต้นเหตุของกลิ่นอันไม่พึ่งประสงค์นั้นเอง


คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ จากการสังเกตุสัญลักษณ์ดังรูปด้านล่างนี้

ดูผ้าเนื้อ OUTDOOOR ทั้งหมดได้ที่นี้ คลิก!!!

ดูเล่มตัวอย่างผ้า OUTDOOR ได้ที่นี้ คลิก!!!

ดูแผ่นพับตัวอย่างผ้า OUTDOOR ได้ที่นี้ คลิก!!!