fbpx

คุณรู้จัก ‘ผ้าเอาท์ดอร์ (Outdoor Fabrics) หรือไม่ ?

Outdoor Fabrics จากชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ‘ผ้าเอาท์ดอร์’ คือผ้าที่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง เช่น ร่มชายหาด, เตียงผ้าใบริมสระว่ายน้ำ หรือเบาะที่นั่งนอกอาคารที่โดนแดด

คุณสมบัติหลักของผ้าเอาท์ดอร์ส่วนใหญ่ คือกผ้าสามารถใช้งานในที่กลางแจ้งได้ มีความคงทนต่อการซีดจางของสี (Color Light Fastness) ที่มักนิยมเรียกกันว่า สีจาง หรือแดดเลีย ส่วนใหญ่ผ้าที่เราเห็นกันในท้องตลาดจะเป็นผ้าจากเส้นใยอะคริลิค (Acrylic) และโอเลฟิน (Olefins) ซึ่งเส้นใยทั้งสองชนิด มักจะเป็นการใส่สีลงไปตั้งแต่ขั้นตอนการฉีดเส้นใย ก่อนการตีเกียวเป็นเส้นด้าย ไม่ได้ผ่านการย้อมสีผ้าแบบปกติที่เราคุ้นเคย ด้วยกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้ผ้าทั้งสองชนิดมีความคงทนของสีต่อแสงมาก ไม่ซีดจางเร็ว ซึ่งผ้าทั้งสองตัวนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ผ้าที่มาจากโอเลฟิน เป็นโพลิเมอร์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ฉะนั้นจึงไม่สามารถรีดในอุณหภมิสูงได้ แต่มีข้อดีคือน้ำหนักที่เบากว่า และราคาที่ถูกกว่า นอกจากนั้นยังมีเส้นใยจากโพลีเอสเตอร์อีกชนิดหนึ่ง แต่คุณสมบัติด้านการคงทนต่อการซีดจางต่อแสงจะน้อยกว่าเส้นใยทั้งสองที่กล่าวมา เพราะใช้การย้อมสี และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) ในขั้นตอนสุดท้ายใส่สารเพื่อเพิ่มความคงทนต่อแสงเข้าไปในขั้นตอนการผลิต ก็จะได้คุณสมบัตินั้นเช่นกัน แต่จะมีประสิทธิลดลงหลังจากการซัก

ส่วนคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติม เช่น การกันน้ำ หรือความจริงต้องเรียกว่า การสะท้อนน้ำ (Water Repellent), ความคงทนของสีจากคลอรีน, การป้องกันเชื้อรา (Anti-fungal), การเช็ดล้างได้ง่าย (Easy Clean) เป็นคุณสมบัติเพิ่มเติมเข้าไปจากคุณสมบัติหลักของผ้าเอาท์ดอร์

วิธีการดูแลรักษาผ้าคือ แม้จะเรียกว่าผ้าเอาท์ดอร์ แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ขณะฝนตก เนื่องจากผ้าจะมีการตกแต่งพิเศษแบบกันเชื้อราก็ตามแต่วัสดุที่เป็นชั้นใน ไม่ได้มีคุณสมบัติพิเศษใดๆ ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราสะสมภายใน ลามออกมาถึงผ้าได้ด้วย และเป็นต้นเหตุของกลิ่นอันไม่พึ่งประสงค์นั้นเอง


คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ จากการสังเกตุสัญลักษณ์ดังรูปด้านล่างนี้

ดูผ้าเนื้อ OUTDOOOR ทั้งหมดได้ที่นี้ คลิก!!!

ดูเล่มตัวอย่างผ้า OUTDOOR ได้ที่นี้ คลิก!!!

ดูแผ่นพับตัวอย่างผ้า OUTDOOR ได้ที่นี้ คลิก!!!


ทิศทางของลายผ้า ทำไมต้องรู้ ?

ในการตัดเย็บผ้าม่าน สิ่งที่สำคัญมากคือการวางทิศทางของลายผ้าให้ถูกต้อง เพื่อการตัดเย็บที่สวยงาม และลายผ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังสะดวกต่อผู้ใช้งานในการตัดสินใจซื้อ  และสะดวกในการทำงานของช่างในการตัดเย็บผ้าม่าน

ผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์จะมีทิศทางการใช้ผ้าที่แตกต่างกัน เช่น ผ้าหน้า 140 ซม. เวลาต่อผ้าจะต่อในแนวริมผ้า ถ้าทิศทางของผ้าเป็นลายตั้ง (ริมผ้าอยู่ทางซ้าย-ขวา) ม่านจะได้ลายเป็นลายแนวตั้งเช่นกัน หากผ้าเป็นผ้าหน้ากว้าง 280-300 ซม. ลายเป็นแนวตั้ง (ริมผ้าอยู่ทางซ้าย-ขวา) ซึ่งผ้าหน้ากว้างเวลาใช้งานนิยมกลับผ้าใช้โดยไม่ต่อผ้า ให้ริมผ้าอยู่ด้านบนและขอบหน้าต่าง ฉะนั้นลายผ้าที่ได้ออกมาจะเป็นแนวนอน เมื่อม่านติดตั้งสำเร็จ

ในกรณีผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ มักจะมีแต่ผ้าหน้าปกติ โดยปกติแล้วในการบุเฟอร์นิเจอร์มักจะกลับผ้าโดยริมผ้าจะอยู่แนวบนล่าง เพราะเฟอร์นิเจอร์จำพวกโซฟามักมีความยาวเกินกว่าหน้าผ้าที่จะห่อหุ้มได้ ฉะนั้นจึงนิยมกลับผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตลอดตัวโซฟา หรือจะต่อผ้าเป็นตะเข็บตรงกลางเหมือนสไตล์โซฟาหนัง โดยมีการจำกัดของความกว้างวัสดุก็ทำได้เช่นกัน

ฉะนั้นหากจะเลือกซื้อผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ควรดูว่าเป็นผ้าหน้ากว้าง หรือหน้าปกติ และดูทิศทางของลายผ้า เพื่อการตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด โดยในแคตตาล็อกของเรามีสัญลักษณ์กำกับ โดยดูจากรูปไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ