fbpx

ผ้ากัน UV ได้จริงเหรอ

ปัจจัยที่ทำให้ผ้ามีความสามารถกัน UV ได้มีอยู่ 3 อย่าหลัก

  1. ความหนา (Thickness) แน่นอนว่าผ้ายิ่งหนา ยิ่งมีความสามารถในการกัน UV ได้ดี ความหนาของผ้าที่จะสามารถกันแสงได้ 100% คือประมาณ 8-10 มม ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่า ผ้าม่านโดยทั่วไปมีความหนาไม่ถึง 1 มม. ด้วยซ้ำ
  2. เส้นใย (Fibers)ที่นำมาผลิต ซึ่งที่รู้ๆ กันว่าผ้าม่านโดยส่วนใหญ่มีตัวเลือกไม่มากนัก
  3. สีของผ้า (Color) สีผ้ามีผลต่อการกัน UV ได้ เป็นปัจจัย ที่เราสามารถจัดการ และเลือกได้ง่ายที่สุด

เส้นใยผ้ากับความสามารถในการป้องการ UV

ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ กับ เส้นใยธรรมชาติ ผ้าใดกันรังสี UV ได้ดีกว่ากัน เปรียบเทียบผ้าทุกชนิด เป็นตาราง
โดย 5 คือดีที่สุด และ 1 คือ แย่ที่สุด

  • ใยสังเคราะห์: ส่วนใหญ่กกิดจากกระบวนการผลิตจาก โพลิเมอร์ ซึ่งเป็นผลผลิตการผลิตน้ำมัน หรือพูดง่ายๆ คือเป็นเส้นใยจากพลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งในกระบวนการผลิตมักจะใส่สารเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกัน UV ตั้งแต่ต้นบ้างแล้ว จึงทำให้มีผลในการกัน UV
  • ใยธรรมชาติ: ผ้าฝ้ายและผ้าลินินซึ่งเป็นเส้นใยจากเซลลูโลสมีความสามารถในการป้องกัน UV น้อยกว่าผ้าใยสังเคราะห์ แต่

สีผ้ากับความสามารถในการป้องการ UV

มีคำถามขึ้นในใจ แล้วสีอะไร “กัน UV” ได้มากที่สุด มาถึงจุดนี้ ความสามารถในการกันรังสี UV ไม่ให้มาถึงเรานั้น จริงแล้วมีอยู่สองปัจจัยด้วยกันคือ UV Reflection และ UV Absorption

UV Reflection (การสะท้อน UV) – หมายถึงการสะท้อนรังสี UV ออกไปจากพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งช่วยลดการดูดซึมของรังสี UV เข้าสู่ร่างกายหรือวัตถุอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้าที่มีสีขาวหรือสีอ่อนมักจะสะท้อนแสง UV ได้ดีกว่าสีเข้ม

UV Absorption (การดูดซึม UV) – หมายถึงการดูดซึมรังสี UV โดยวัสดุหรือพื้นผิว ซึ่งหมายความว่ารังสี UV ถูกดูดซึมเข้าไปและไม่สามารถทะลุผ่านได้ ตัวอย่างเช่น สารเคมีในครีมกันแดดที่ดูดซึมรังสี UV เพื่อป้องกันไม่ให้แสงเหล่านี้เข้าสู่ผิว

ตัวอย่างสีของผ้าม่านทั้งหมด 22 สี เรามาดูกันว่า สีไหน สะท้อน และดูดซับ UV ได้ดีกว่ากัน

จากภาพ 22 สีด้านบนเมื่อเราปรับค่าให้เหลือแค่ความสว่างของสี (Color value) จะเห็นว่าในแต่ละสีมีความสว่าง และความมืดของสีไม่เท่ากัน

นำสีทั้งหมดมาเรียงใหม่ โดยจะเห็นว่า ค่าการสะท้อนแสง กันค่าดูดซับแสงมีค่าแปลผกผันกันคือ ผ้าสีอ่อนมีค่าการสะท้อนแสงสูง และสะท้อน UV สูงด้วย แต่จะมีค่าการดูดซับ UV ต่ำ กลับกัน ผ้าที่สีสีเข้ม ค่ากันสะท้อนแสงจะต่ำ แต่ค่าการดูดซับ UV สูง

เรียงใหม่โดยเรียงจากสีที่มีค่าการส้อน UV จากมากไปน้อย

จากรูปที่แสดงด้านบน จะแบ่งผ้าออกเป็นผ้าที่อ่อน สีกลาง สีเข้ม โดยจะเป็นคุณลักษณะดังนี้

ผ้าม่านสีอ่อนผ้าม่านสีกลางผ้าม่านสีเข้ม
การสะท้อนแสงและ UV
UV Reflection
มากปานกลางน้อย
การสะสมอุณภูมิบนผิวผ้า
Thermal Absorption
ร้อนน้อยปานกลางร้อนมาก
การดูดซับ UV
UV Absorption
น้อยปานกลางมาก

อีกเรื่องที่สีของผ้ามีผล นอกจากการสะท้อนแสง การดูดซับแสงแล้ว สีของผ้าส่งผลต่อการสะสมอุณหภูมิบนพื้นผิว ซึ่งเรียกกันว่า “Thermal absorption” ซึ่งหมายถึงการดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนในปัจจุบันบ้านเราที่มีแดดร้อนมาก ที่รถสีดำดูดซับความร้อนมากกว่าสีขาว เพราะว่าสีดำมีการดูดซับแสง (และพลังงานความร้อน) มากกว่า ในขณะที่สีขาวสะท้อนแสงมากกว่าทำให้อุณหภูมิที่สะสมบนผิวน้อยกว่า นั่นเอง

  • ผ้าสีขาว: สะท้อนแสง UV ได้มากที่สุดและดูดซับ UV ได้น้อยที่สุด และมีอุณภูมิสะสมบนผิวผ้าต่ำ
  • ผ้าสีเทา: มีการสะท้อนและการดูดซับ UV ในระดับปานกลาง และมีอุณภูมิสะสมบนผิวผ้าปานกลาง
  • ผ้าสีดำ: ดูดซับแสง UV ได้มากที่สุดและสะท้อน UV ได้น้อยที่สุด และมีอุณภูมิสะสมบนผิวผ้าสูง

รูปตัวอย่างการทดลอง การสะสมอุณหภูมิบนพื้นผิว (Thermal absorption) โดยคนญี่ปุ่น โดยการนำเสื้อหลากสีไปทิ้งไว้กลางแดดในระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจึงใช้ กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ Thermal Camera หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Infrared Camera ทำงานโดยตรวจจับรังสีอินฟราเรดที่ปล่อยออกมาจากวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ และแปลงรังสีนั้นเป็นภาพที่แสดงระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยปกติจะมีการใช้สีเพื่อแสดงความแตกต่างของอุณหภูมิ

  • สีแดงหรือสีส้มมักแสดงถึงอุณหภูมิที่สูงกว่า
  • สีน้ำเงินหรือสีม่วงมักแสดงถึงอุณหภูมิที่ต่ำกว่า

จากรูปตัวอย่างการทดลอง ก็จะเห็นว่า ค่าการสะท้อนแสง ผ้าสีขาวหรือสีอ่อนมีการสะท้อนแสงสูง และ สะสมอุหภูมิบนผิวผ้าต่ำ ฉนั้นเราก็ควรเลือกใช้ผ้าม่านสีอ่อน เพื่อการสะท้อน UV ได้ดี และผ้าสะสมความร้อนได้น้อย ส่งผลให้เครื่องรับอากาศทำงานน้อยลง ส่งผลให้ประหยัดค่าไฟไปด้วยเช่นกัน

แต่อย่างที่รู้กันเมืองไทยเป็นเมืองร้อน แสงแดดมีความสว่างสูงมาก ผ้าม่านสีอ่อนมีค่าการสะท้อนแสงสูงก็จริง แต่ผ้านั้นก็ไม่ได้มีความหนาพอจะสะท้อนแสงได้ทั้งหมด แสงแดดก็จะรอดผ่านทำให้ห้องไม่มืดเพียงพอสำหรับคนที่ต้องการความมืดในการนอนหลับ ยิ่งในบางอาชีพ ที่นอนไม่ตรงกับเวลาปกติ เช่น ศิลปิน ลูกเรือที่บริการในธุรกิจสายการบิน คนที่ทำงานเป็นกะ เป็นต้น

ปัญหาห้องที่มืดไม่มากพอ ถูกแก้ไขด้วยนวัตกรรมผ้าม่าชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าผ้าม่านกันแสง หรือผ้าม่าน UV หรือในภาษาอังกฤษเรียก Dim-out curtain เป็นผ้าม่านที่มีคุณสมบัติที่ออกแบบมาเพื่อการกันแสงโดยเฉพาะ และมันทำได้อย่างไรนั้น ไปดูต่อกันเลย

ปจากรูปจะเห็นว่าด้านหน้าผ้า คือผ้าเป็นสีอ่อน หลังผ้าที่เห็นเป็นสีน้ำตาล จะเห็นว่าทั้งสองด้านของผ้าไม่มีส่วนใดเลยเป็นสีดำ แต่ภาพที่เราตั้งใจโชว์ให้เห็นเส้นด้ายสีดำ (Dope Dyed) ที่ทอแทรกลงไปในระหว่างชั้นผ้า เส้นด้ายสีดำที่ทอแทรกระหว่างชั้นนี้เอง จึงทำให้ม่านมีคุณสมบัติสามารถกันแสงได้ถึง 80-100% ขึ้นอยู่กับความหนาผ้า, ความหนาแน่นของเส้นด้ายสีดำที่ทอแทรกลงไป และสุดท้ายคือสีของตัวผ้าเอง

ดังนั้นจากทั้งหมดที่กล่าวมา ควรเลือกผ้าม่านกันแสง หรือ Dim-out ที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ที่มีสีอ่อนเพื่อการสะท้อน UV ได้ดี และเป็นผ้าที่มีความหนามากกว่าผ้าปกติ ทั้งยังมีเส้นด้ายสีดำที่ทอแทรกอยู่ระว่างชั้นผ้าช่วยดูดซับ UV ได้อีกชั้นนึง